สทนช. ติดตามมวลน้ำเหนือ ก่อนไหลลงสู่เจ้าพระยา มุ่งเก็บน้ำบึงบอระเพ็ดเต็มกำลัง

สทนช. ติดตามมวลน้ำเหนือ ก่อนไหลลงสู่เจ้าพระยา มุ่งเก็บน้ำบึงบอระเพ็ดเต็มกำลัง

สทนช. ลงพื้นที่ติดตามมวลน้ำเหนือก่อนไหลลงสู่เจ้าพระยา มุ่งเป้ากักเก็บน้ำบึงบอระเพ็ดเต็มกำลัง พร้อมเร่งจัดจราจรน้ำเข้า 10 ทุ่งรับน้ำ

วันนี้ (15 ต.ค. 66) ดร. สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สทนช. ลงพื้นที่ จ.นครสวรรค์ จ.ชัยนาท และ จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อตรวจติดตามสถานการณ์มวลน้ำที่กำลังไหลหลากจากพื้นที่ตอนบนของประเทศโดยเฉพาะจากแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านลงสู่พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง วางแผนตัดก้อนน้ำเข้ากักเก็บในบึงบอระเพ็ดให้มากที่สุด และติดตามการบริหารจัดการน้ำเขื่อนเจ้าพระยาและการรับน้ำเข้าทุ่ง รวมถึงรับฟังความคิดเห็นและผลกระทบที่เกิดกับจากประชาชนในพื้นที่ด้วย

สทนช. ติดตามมวลน้ำเหนือ ก่อนไหลลงสู่เจ้าพระยา มุ่งเก็บน้ำบึงบอระเพ็ดเต็มกำลัง

โดยจุดแรก เลขาธิการ สทนช. และคณะได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำเข้าในบึงบอระเพ็ด โดยมี นายชุมพิชญ์  เดชะรัฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ นายสุเมธ  สายทอง รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ นายวัชระ  ไกรสัย ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 และนายไพฑูรย์  ศรีมุก รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 3 กรมชลประทาน นายจิระเดช บุญมาก หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมลงพื้นที่ด้วย โดยได้มีการลงตรวจ 3 จุด คือที่บริเวณปากคลองบอระเพ็ด ประตูดำ และฝายบางปอง เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและการผันน้ำเข้าบึงบอระเพ็ดเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยแล้งเอลนีโญ ปัจจุบันระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานีวัดน้ำ C2 เมืองนครสวรรค์(เจ้าพระยา) มีระดับน้ำ +23.01 ม.รทก.อัตราน้ำไหลผ่าน 1,990 ลบ.ม./วินาที บึงบอระเพ็ดมีปริมาตรน้ำ 129.61 ล้าน ลบ.ม. (58.22%) 

สทนช. ติดตามมวลน้ำเหนือ ก่อนไหลลงสู่เจ้าพระยา มุ่งเก็บน้ำบึงบอระเพ็ดเต็มกำลัง

ในการนี้ เลขาธิการ  สทนช. ได้เสนอแนวทางว่าหากสามารถดึงน้ำเข้ากักเก็บไว้ในบึงบอระเพ็ดให้ได้ปริมาตรน้ำถึง 220 ล้าน ลบ.ม. ก็จะมีน้ำต้นทุนสำหรับใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้เพียงพออย่างแน่นอน และเกษตรกรอาจสามารถทำนารอบ 2 ได้อีกด้วย ดังนั้น แผนงานในระยะสั้นนี้จะทำอย่างไรให้สามารถดึงน้ำเข้ากักเก็บในบึงได้เพิ่มขึ้น เช่น การขุดลอกคลองหรือเสริมคันกั้นน้ำเพื่อดันน้ำให้สูงขึ้นจนไหลเข้าบึงได้ หรือการใช้เรือบรรทุกทรายแปลงเป็นฝายกั้นน้ำให้มีระดับสูงขึ้นกว่าคันกั้นน้ำและไหลเข้าบึง เป็นต้น

สทนช. ติดตามมวลน้ำเหนือ ก่อนไหลลงสู่เจ้าพระยา มุ่งเก็บน้ำบึงบอระเพ็ดเต็มกำลัง

ซึ่งหน่วยงานในพื้นที่จะต้องไปศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ด้วย ทั้งนี้ จังหวัดนครสวรรค์ มีแผนงานโครงการพัฒนาบึงบอระเพ็ดแบ่งเป็น 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ 1. ด้านบริหารจัดการ/การเข้าใช้ประโยชน์ โครงการติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำท่า 2. ด้านการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและสร้างความมั่นคงของน้ำ จำนวน 21 โครงการ 3. ด้านคุณภาพตะกอนและรักษาระบบนิเวศน์ จำนวน 2 โครงการ และ 4. ด้านการจัดการน้ำท่วมบรรเทาอุทกภัย จำนวน 6 โครงการ สำหรับการเตรียมการรองรับภัยแล้ง ขณะนี้ได้จัดตั้งเครือข่ายผู้ใช้น้ำ 5 กลุ่ม จำนวนกว่า 3,000 ราย เพื่อร่วมบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ โดยรอบและน้ำในบึงบอระเพ็ดให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น มีการทำข้อตกลงจะไม่ดึงน้ำออกไปใช้จนกว่าจะถึงฤดูแล้ง เป็นต้น 

สทนช. ติดตามมวลน้ำเหนือ ก่อนไหลลงสู่เจ้าพระยา มุ่งเก็บน้ำบึงบอระเพ็ดเต็มกำลัง

 

จากนั้น เลขาธิการ สทนช. และคณะได้เดินทางไปสำนักงานชลประทานที่ 12 กรมชลประทาน ที่ตั้งเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพื่อติดตามสถานการณ์การระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา โดยมีนายวิชัย  ผันประเสริฐ หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำ รายงานสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนเจ้าพระยา พบว่า ขณะนี้การระบายน้ำอยู่ที่ 1,800 ลบ.ม./วินาที การเก็บเกี่ยวข้าวในบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำท้ายเขื่อนได้มีการเก็บเกี่ยวแล้ว 100% สำหรับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ โดยรวมอยู่ที่ 9,000 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณความต้องการขั้นต่ำลุ่มเจ้าพระยา 7,000 ล้าน ลบ.ม. ดังนั้น จึงเพียงพอต่อความต้องการน้ำสำหรับทุกกิจกรรมในพื้นที่ 

เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า การเกิดร่องมรสุมหลายครั้งในช่วงเวลาที่ผ่านมาส่งผลให้มีฝนตกหนักกระจายทั่วพื้นที่ประเทศไทย ทำให้มีน้ำเติมเต็มในแหล่งน้ำต่าง ๆ มากขึ้น ในขณะเดียวกันมวลน้ำที่ไหลลงมาจากตอนบนของประเทศลงสู่เขื่อนเจ้าพระยานั้น ได้กำชับกรมชลประทานว่าต้องคงความเร็วการระบายไว้ที่ 1,800 ลบ.ม./วินาที ไม่เกินไปกว่านี้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ประชาชนท้ายเขื่อน และได้เสนอให้วางแผนการระบายให้มีการหน่วงน้ำเหนือเขื่อนไว้นานขึ้น เพื่อเป็นตัวทดน้ำให้พื้นที่ด้านบนเขื่อนดึงน้ำเข้าบึงบอระเพ็ดได้มากที่สุดก็จะเกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย

สำหรับแผนการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยานอกจากจะระบายน้ำออกทางฝั่งตะวันออกและตะวันตกของเขื่อนเพื่อลดผลกระทบแล้ว การระบายน้ำลงท้ายเขื่อน จะต้องมีการทำประชาคมกับประชาชนในพื้นที่เพื่อขอความสมัครใจในการรับน้ำเข้าทุ่งในพื้นที่นาที่เก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ด้วย ซึ่งต่อมา เลขาธิการ สทนช. และคณะ ได้ลงพื้นที่ติดตามผลการรับน้ำเข้าทุ่งผักไห่ ทุ่งเจ้าเจ็ด รวมถึงรับฟังปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน โดยขอให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกันทั้งระบบและเร่งกำจัดวัชพืชในคลองต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ รวมถึงการปรับปรุงบานประตูระบายน้ำให้สามารถรับน้ำได้ 2 ทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำทั้ง 2 ทางด้วย 

สทนช. ติดตามมวลน้ำเหนือ ก่อนไหลลงสู่เจ้าพระยา มุ่งเก็บน้ำบึงบอระเพ็ดเต็มกำลัง

“แม้ว่าขณะนี้ปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนใหญ่ มีมากเพียงพอแล้ว แต่เราจะต้องไม่ประมาทต่อสถานการณ์เอลนีโญที่อาจเกิดขึ้น โดยจะต้องมีการวางแผนบริหารจัดการน้ำ 2 ปี เพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อทุกกิจกรรมในฤดูแล้ง สำหรับแนวทางการปลูกข้าวรอบ 2 หรือการทำนาปรัง ก็จะต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้โดยมีการคาดการณ์น้ำต้นทุนเปรียบเทียบกับความต้องการปริมาณน้ำที่ต้องการว่าเพียงพอจริงหรือไม่ ทั้งนี้ สทนช. อยู่ระหว่างจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับฤดูแล้ง เสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) เป็นประธาน โดยจะมีการประชุมในวันที่ 26 ตุลาคมนี้” เลขาธิการ สทนช. กล่าว

สทนช. ติดตามมวลน้ำเหนือ ก่อนไหลลงสู่เจ้าพระยา มุ่งเก็บน้ำบึงบอระเพ็ดเต็มกำลัง สทนช. ติดตามมวลน้ำเหนือ ก่อนไหลลงสู่เจ้าพระยา มุ่งเก็บน้ำบึงบอระเพ็ดเต็มกำลัง