กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำล่าสุด เตือนจังหวัดเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่า

กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำล่าสุด เตือนจังหวัดเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่า

กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี เตือนจังหวัดเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 17 สิงหาคม 2566 เวลา 07.00 น. ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก

 

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.เชียงราย (105) จ.เลย (100) จ.สุราษฎร์ธานี (73) จ.จันทบุรี (54) จ.กาญจนบุรี (53) และ จ.พระนครศรีอยุธยา (13)

 

ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,921 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,211 ล้าน ลบ.ม. (55%) คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี 

 

 

กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 14/2566 ในช่วงวันที่ 12 - 18 สิงหาคม 2566 ดังนี้ 

 

  • ภาคเหนือ : เชียงราย เชียงใหม่ ตาก และน่าน
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และสกลนคร
  • ภาคตะวันออก : ระยอง จันทบุรี และตราด
  • ภาคใต้ : ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล และตรัง

 

กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำล่าสุด เตือนจังหวัดเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่า

 

 

กอนช. เสนอ 3 มาตรการเพิ่มเติมรับมือวิกฤติอากาศแปรปรวน รองรับสถานการณ์เอลนีโญ

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ กอนช. เป็นประธานการประชุมกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2566 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบพิจารณา (ร่าง) มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 เพิ่มเติมตลอดช่วงฤดูฝนเพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ ซึ่งจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และให้หน่วยงานถือปฏิบัติต่อไป ประกอบด้วย 3 มาตรการ ได้แก่

 

มาตรการที่ 1 จัดสรรน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด โดยมอบหมายให้ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำแต่ละลุ่มน้ำกำหนด

 

มาตรการที่ 2 ควบคุมการเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง โดยมอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกร เพื่อควบคุมไม่ให้มีการเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง

 

มาตรการที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ได้แก่ (1) การใช้น้ำภาคการเกษตร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ (2) การประหยัดน้ำของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชน สทนช. และทุกหน่วยงานภาครัฐ วางแผนลดการใช้น้ำของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมประชาสัมพันธ์รณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัดในทุกภาคส่วน ส่งเสริมสนับสนุนให้อุตสาหกรรมใช้ระบบ 3R เพื่อลดการใช้น้ำจากแหล่งน้ำต่าง ๆ และ (3) ลดการสูญเสียน้ำในระบบประปาและระบบชลประทาน โดยการปรับรอบเวรการส่งน้ำให้สอดรับกับปริมาณความต้องการน้ำของพื้นที่ตลอดช่วงฤดูฝน ปี 2566

 

ทั้งนี้ได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานร่วมกัน วางแผน และเตรียมพร้อมอย่างต่อเนื่องทั้งในพื้นที่เสี่ยงประสบภัยน้ำท่วม หรือขาดแคลนน้ำจากปริมาณฝนน้อย เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด พร้อมทั้งได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ให้รับทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมซึ่งเป็นไปตามแผนการบริหารจัดการน้ำ 2 ปี