ธปท.เปิดโมเดล ‘โกดังพักหนี้’ ทางรอด ช่วย ‘ลูกหนี้’พ้นวิกฤติ

ธปท.เปิดโมเดล ‘โกดังพักหนี้’ ทางรอด ช่วย ‘ลูกหนี้’พ้นวิกฤติ

ธปท.เปิดแนวทาง โกดังเก็บหนี้ หลังช่วยอุ้มภาคธุรกิจ ผ่านวิกฤติโควิด-19 ช่วยลดภาระหนี้ ลดเกิดหนี้เสียแบงก์

ปัจจุบันแม้สถานการณ์ไวรัสโคโรนา สายพันธ์ุใหม่ หรือโควิด-19 เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งจากข่าวดีจากวัคซีนป้องกันโควิด ที่อาจส่งผลให้ประเทศไทยกลับมาเปิดประตูรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ในเร็ววัน และเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีแนวโน้มลดลงในระยะข้างหน้า

แต่ต้องยอมรับว่ารอยแผลเป็นจาก โควิด-19 ที่ผ่านมา ก็อาจทำให้หลายธุรกิจอาจไม่สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้ในเร็ววัน หรืออาจต้องปิดกิจการไปตลอดกาล โดยเฉพาะธุรกิจ 'ท่องเที่ยว'โรงแรม ที่มีการประเมินกันกว่าจะเห็นสถานการณ์เข้าสู่ระดับปกติได้ต้องรอถึงครึ่งปีหลังปี 2565 แต่ระหว่างนี้มูลหนี้นับแสนล้านบาทของกลุ่มต้องได้รับการดูแล

ดังนั้นภาครัฐ เอกชน หลายฝ่าย รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้เร่งกันหาทางออกให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อลดปัญหา ลดผลกระทบที่อาจเจอในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับภาระ ‘หนี้

161598882395

หนึ่งในแนวทางในการแก้ไขปัญหา ที่มีการพูดถึงค่อนข้างมากในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาคือ โครงการ “Asset Warehousing” หรือ โกดังพักหนี้ พักทรัพย์ โกดังแช่แข็งหนี้ เพื่อลดภาระหนี้ให้กับธุรกิจท่องเที่ยวโรงแรม

ล่าสุดธปท.ได้เปิดหลักการของ “โกดังพักหนี้ พักทรัพย์” โดย ‘สุวรรณี เจษฎาศักดิ์’ ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท. อธิบายว่า โครงการนี้ คือกลไกในการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ที่ประสบปัญหา จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจชั่วคราว มาดูแลจัดการให้ผ่านช่วงวิกฤติ

โดยหากดูโมเดล หรือรูปแบบที่คล้ายๆกัน ที่ทำในต่างประเทศ คือ การทำผ่านการจัดตั้งกองทุนขึ้นมา โดยกองทุนเหล่านี้จะทำหน้าที่ไประดมทุนจากนักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนทั่วไป หรือบางประเทศ มีการจัดตั้งกองทุนขึ้นมา จากกองทุนทัวริสต ฟันด์ ที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด-19 ถือหุ้นโดยภาครัฐและเอกชนร่วมกัน

หลักการของกองทุนลักษณะนี้ คือทำหน้าที่ ไปซื้อสินทรัพย์จาก sector หรือธุรกิจที่มีปัญหา เช่นการเข้าไปถือหุ้นในกิจการที่มีปัญหา หรือซื้อสินทรัพย์จากลูกหนี้ที่มีหลักประกัน หรือซื้อลูกหนี้จากสถาบันการเงิน เพื่อให้กองทุนเข้าไปบริหารจัดการสินทรัพย์จากสถาบันการเงิน เมื่อได้ผลตอบแทนก็จะจ่ายคืนผลตอบแทนให้กับนักลงทุน

กรณีของประเทศไทย วิธีการจัดการ และบริหารจัดการหนี้เมื่อ “ลูกหนี้” มีปัญหาคือการเข้าไปเจรจาสถาบันการเงิน ที่มีสินเชื่อ เพื่อขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่นการยืดหนี้ระยะสั้นเป็นระยะยาว การลดดอกเบี้ย ลดค่างวด

หรือตีโอนทรัพย์บางส่วน ที่ไม่สามารถชำระได้บางส่วนมายังสถาบันการเงิน ซึ่งถือเป็นธุรกรรมปกติที่สถาบันการเงิน ทำมาต่อเนื่อง แต่เงื่อนไขคือ เมื่อมีการโอนทรัพย์เหล่านี้มาที่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้สามารถขายทรัพย์เหล่านี้ ให้บุคคลอื่นที่สนใจซื้อทรัพย์ ด้วยราคาตลาดในอนาคตได้

ทางกลับกันหากสถาบันการเงิน มีกลไกที่จะช่วยลูกหนี้เพิ่มเติม เจ้าหนี้อาจทำสัญญาขายทรัพย์คืนกับลูกหนี้คนเดิม แต่ก็จะเป็นราคาตลาดในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น หากตีทรัพย์วันนี้ที่ 100 บาท หากทำสัญญาขายคืน โอกาสที่ทรัพย์จะเพิ่มขึ้นเป็น 120 บาทได้ในอนาคต ซึ่งเหล่านี้จะเป็นต้นทุนสำหรับลูกหนี้ที่จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นในอนาคต

แต่โครงการ พักทรัพย์ พักหนี้ รูปแบบที่พูดถึงนี้ ธปท.ระบุว่า เราพยายามสร้างกลไกที่คิดว่าจะช่วยให้ลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ประกอบธุรกิจได้ในอนาคต ดังนั้นเงื่อนไขแรก คือต้องมีการสมัครใจ ระหว่างลูกหนี้เจ้าหนี้ และทรัพย์นั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่มีศักยภาพในการประกอบธุรกิจได้ในอนาคต

ทั้งนี้ต้องมีการทำสัญญาขายทรัพย์ให้กับลูกหนี้คนเดิม เงื่อนไข 2 ที่จะช่วยคือกำหนดทรัพย์นั้น เป็นราคาต้นทุนในวันนี้ เช่น หากราคาขายกำหนดไว้ที่ ราคา 100 บาท ดังนั้น 3-5ปีข้างหน้า หากลูกหนี้จะซื้อคืน สามารถซื้อคืนได้ในราคาเท่าเดิม คือ 100บาท

ซึ่ง อาจต้องมีค่าใช้จ่ายบางอย่าง สำหรับการดูแลทรัพย์นั้นๆ แต่จะมีที่มีอัตราต่ำมาก นอกจากนั้นหากลูกหนี้มีความต้องการดำเนินธุรกิจต่อ ลูกหนี้ยังมีสิทธิมาขอเช่าทรัพย์นั้นกลับไปดำเนินธุรกิจต่อได้ ก่อนที่จะมาซื้อคืนในอนาคต

ธปท. มองว่า โครงการนี้ จะมีประโยชน์สูงสุด ทั้งกับเจ้าหนี้ ลูกหนี้ ภาคธุรกิจ ให้สามารถลดภาระการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงที่ธุรกิจยังไม่กลับมาสู่ระดับปกติได้ อีกทั้งโครงการนี้จะช่วยให้พยุงการจ้างงาน และประคับประคองธุรกิจต่อไปได้ แม้จะตีโอนสินทรัพย์ไปแล้ว แต่สามารถเช่ากิจการ และดำเนินกิจการต่อได้ อีกทั้งโครงการนี้จะช่วยให้พยุงการจ้างงาน และประคับประคองธุรกิจต่อไปได้ แม้จะตีโอนสินทรัพย์ไปแล้ว แต่สามารถเช่ากิจการ และดำเนินกิจการต่อได้

และที่สำคัญยิ่ง คือ จะช่วย ลดแรงกดดันของราคาสินทรัพย์ให้ต่ำลง หรือ fire sale หรือไม่ถูกขายทอดตลาด จนทำให้ราคาสินทรัพย์ในตลาดโดยรวมลดลง เพราะปัจจุบันเริ่มมีกองทุนต่างประเทศ หรือนักลงทุนต่างประเทศ เริ่มเข้ามาที่จะซื้อสินทรัพย์ หรือกิจการบางอย่างในประเทศไทย ในราคาที่กดต่ำลงมาก เพราะปัจจุบันเริ่มมีกองทุนต่างประเทศ หรือนักลงทุนต่างประเทศ เริ่มเข้ามาที่จะซื้อสินทรัพย์ หรือกิจการบางอย่างในประเทศไทย ในราคาที่กดต่ำลงมาก

ในทางกลับกันโครงการนี้นอกจากเป็นประโยชน์กับลูกหนี้ และผู้ประกอบการแล้ว โครงการนี้ยังเป็นประโยชน์กับเจ้าหนี้ หรือสถาบันการเงินด้วย ที่จะช่วยป้องกัน และดูแลไม่ให้ลูกหนี้เป็นหนี้เสียหรือเอ็นพีแอลตามมาในอนาคต

ดังนั้นเชื่อว่า ท้ายที่สุดแล้ว โครงการนี้จะเป็นตัวช่วย ให้ทุกฝ่ายสามารถก้าวผ่านวิกฤติจากโควิด-19 นี้ไปในอนาคต