เตือน !! สีนามิลูกใหม่ ซัด 15 ช่องทีวีดิจิทัล

เตือน !! สีนามิลูกใหม่ ซัด 15 ช่องทีวีดิจิทัล

คสช.เสก ม.44 ผ่าตัด “ทีวีดิจิทัล” เปิดทางคืนใบอนุญาต 7 ช่อง ลาจอ หลัง ขาดทุน “โคม่า” รื้อกระดานวงการจอแก้ว ลุ้น 15 ช่อง ชุบชีวิต ฟื้นธุรกิจ บนความเสี่ยง "สึนามิ ดิจิทัล" ระลอกใหม่

11 เม.ย.2562 ที่ผ่านมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) มีคำสั่งเรื่อง “มาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม นับเป็นข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลอย่างมาก เพราะประกาศิตดังกล่าว เปิดทางให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล สามารถยื่นขอ คืน ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล(ไลเซ่นส์)ได้ ภายใน 10 พ.ค.

วันแรกๆของการออกประกาศ ยังไม่มีการเอ่ยถึง เม็ดเงินชดเชย” รวมถึงยื่นแสดงความจำนงค์ขอคืนใบอนุญาตแล้วยังดึงกลับได้ภายใน 30 วัน หากพบสูตรเยียวยาไม่เป็นที่พอใจของ”กลุ่มทุน”

ช่วงนั้นผู้ประกอบการในแวดวงจอแก้ว ต่างวางแผนไว้คร่าวๆ “คงไม่คืน” เพราะจะเป็นการ “ทุบหม้อข้าว” ตัวเอง คืนแล้วจะทำมาหากินอะไรต่อไป ทว่า ก็มีเหตุ จูงใจ ให้การตัดสินใจทางธุรกิจต้องหมุนกลับ 360 องศา เมื่อ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)” คลอดสูตรเยียวยาละเอียดขึ้น ทั้งเว้นค่าใช้จ่ายใบอนุญาตงวดที่ 5 และ 6 ค่าใช้จ่ายโครงข่ายทีวีดิจิทัลภาคพื้นดิน(Mux) และมี เงินชดเชย” ให้ตุนกลับเข้ากระเป๋าผู้ประกอบการ ก้อนโต

ตลอดระยะเวลา 1 เดือน ที่ผู้ประกอบการ “เร่ง” ทำการบ้าน โดยเฉพาะดีดลูกคิดรางแก้ว เพื่อดู “Bottom Line” หรือบรรทัดสุดท้ายที่เรียกว่า “กำไร” ระหว่าง “หยุด” และ “ไปต่อ” แบบไหนคุ้มกว่ากัน

@“คืนช่องผ่าตัดดิจิทัล

ที่สุดแล้ว จึงเห็น “7 ช่อง ย่องไปยื่นขอคืนใบอนุญาตกับกสทช. เรียงตามลำดับ ช่องแรกคือ ไบรท์ทีวี 20 ตามด้วย วอยซ์ทีวี 21 เอ็มค็อตแฟมิลี่14 สปริงนิวส์ 19 สปริง 26 13 แฟมิลี่ ช่องสุดท้ายคือ 3เอสดี 28 ที่ยื่นในเวลา 14.50 น.ของวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา นี่เป็นข้อมูลที่ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. แจ้งให้สื่อมวลชนทราบ

ส่วนกระบวนการคืนใบอนุญาต และได้รับเงินชดเชยจะแล้วเสร็จ คาดว่าจะใช้เวลาช้าสุดคือ 31 ส.ค.นี้ ระหว่างช่วงเวลานี้ กสทช.ขอให้ช่องที่คืนใบอนุญาต ส่งเอกสารทางการเงิน แจกแจงบัญชีของแต่ละช่องให้ชัดเจนว่าขาดทุนหรือมีกำไรมากน้อยแค่ไหน วางแผนเยียวยาผู้ชมอย่างไรบ้าง ก่อนจะได้รับเงินก้อนโต ซึ่งใครจะได้ “มาก” หรือ “น้อย” ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานล้วนๆ หากขาดทุน เงินชดเชยจะได้มาก ส่วนค่ายที่ทำกำไร จะโดนหักกำไรออกก่อน

ทว่า ทั้งหมดทั้งมวลของมาตรการถือเป็น ผ่าตัด แก้อาการ โคม่า ล็อตแรกให้กับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่มีของแถมเป็นเงินไปรักษาบาดแผลทางธุรกิจด้วย

การอวสานทีวีดิจิทัล 7 ช่อง มีทั้งหมวดวาไรตี้ความคมชัดปกติ(เอสดี)ได้แก่ช่อง 3เอสดี 28 ของค่าย บีอีซี เวิลด์ ซึ่งดำเนินการผ่าน บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ที่ประมูลมาในราคา 2,275 ล้านบาท ช่องสปริง26 หรือเดิมคือ นาว26 ภายใต้ บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด ที่ประมูลใบอนุญาตในราคา 2,200 ล้านบาท ช่องข่าวและสาระ ได้แก่ วอยซ์ ทีวี 21 ที่ประมูลใบอนุญาตในราคา 1,330 ล้านบาท ไบรท์ทีวี ประมูลใบอนุญาตในราคา 1,298 ล้านบาท สปริงนิวส์ 19 ประมูลใบอนุญาตในราคา 1,318 ล้านบาท 

และช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว เมื่อช่อง 13 แฟมิลี่ของ บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ที่ชนะประมูลในราคา 666 ล้านบาท และช่องเอ็มคอต แฟมิลี่ 14 ประมูลใบอนุญาตในราคา 660 ล้านบาท เป็นการปิดฉากช่องเด็กโดยสมบูรณ์ เพราะก่อนหน้านี้ ช่องโลก้าของบริษัท ไทยทีวี จำกัด ที่ประมูลใบอนุญาตในราคา 648 ล้านบาท โบกมือลาไปเรียบร้อย

ช่องเด็กหายไป ดูจะผิดแผกจากเจตนารมย์ของกสทช.ที่เปิดประมูลทีวีดิจิทัลไม่น้อย ประเด็นนี้ “ฐากร” ให้เหตุผลว่า ทีวีดิจิทัลที่พอมีกำไรมีเพียง 2-3 ช่องเท่านั้น เท่าที่สัมผัสและเจอผู้ประกอบการหลายรายขาดทุนรวมกันเป็นหมื่นล้านแล้ว”  

@15 ช่องต้องเหนื่อยต่อ

เหลือทีวีดิจิทัลประเภทธุรกิจ 15 ช่อง ที่ยังสู้ต่อ แม้ คู่แข่ง” ลดลงบนสังเวียนจอแก้วภายใต้ระยะเวลาของใบอนุญาตประมาณ 10 ปี แต่อย่าเพิ่งดีใจไป เพราะ “ฐากร” ประเมินอนาคตคร่าวๆ

ธุรกิจก็ยังเหนื่อยอยู่ แต่อาจดีขึ้นหน่อย” เหตุที่เหนื่อยหนีไม่พ้น ดิจิทัลดิสรัป เพราะยุคนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว แค่การมาของ 3G 4G เล่นภาคธุรกิจซะอ่วมหลายเซ็กเตอร์

“ถ้ามี 5G ไม่รู้จะเกิดผลกระทบอะไรกับภาคธุรกิจอีก” ฐากรย้ำ

ค่ายที่ตัดสินใจสู้ต่อ ฐากร คาดหวังจะเห็น “เนื้อหารายการ” ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น เพราะต้นทุนค่าใบอนุญาต ค่ามัคที่หายไปจะทำให้ “ทุ่มทุน” ทำรายการคุณภาพตอบสนองผู้ชม

@บริหารต้นทุนดีมี กำไร

เป็นสูตรธุรกิจอยู่แล้ว สำหรับการบริหารต้นทุนให้ดี มีประสิทธิภาพ เพื่อรักษา “กำไร” ไว้และเติบโต และทีวีดิจิทัลที่ลุยต่อต้องหาทางทำให้ได้ นี่เป็นคำแนะนำของ ชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์ จำกัด(มหาชน)

เพราะปฏิเสธไม่ได้ หากพิจารณาผลการดำเนินงานของค่ายทีวีที่พึ่งพารายได้เม็ดเงิน โฆษณา ไม่เพียงหล่อเลี้ยงช่อง แต่เมื่อปรับโมเดลธุรกิจ บริหารจัดการเวลาให้สร้างประโยชน์สูงสุด(Utilize)ทั้งแปลงร่างเป็นทีวีชอปปิงหรือโฮมชอปปิง นำคอนเทนท์ไปอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งของตนเอง และพันธมิตรอินเตอร์เน็ตทั้งหลาย(OTT) เช่น ยูทูป ไลน์ทีวี วิว ทำให้มีรายได้จากหลากช่องทางเป็น Omni channel

ส่วน 7 ช่องที่คืนใบอนุญาตมีผลต่อวงการจอแก้วแค่ไหน ชลากรณ์ วิเคราะห์สถานการณ์ธุรกิจยังคงเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนนัก เว้นแต่ “ค่าใช้จ่ายลดลง” เพราะไม่ต้องจ่ายค่าใบอนุญาตงวด 5-6 ขณะที่เงินโฆษณาก้อนโต 6-7 หมื่นล้านบาท จะยังไหลไปแค่ “ช่องหลัก” เทียร์ 1-2 หรือที่มีเรตติ้งดี 4-5 อันดับแรก เช่น ช่อง 7เอชดี 3เอชดี โมโน29 เวิร์คพอยท์23 วัน31 (เรียงลำดับเรตติ้งประจำสัปดาห์ 6-13 พ.ค.62 : TV digital watch อ้างอิงนีลเส็น)

“สิ่งที่ดีขึ้นสำหรับทีวีดิจิทัลที่ทำต่อคือต้นทุนค่าไลเซ่นส์ไม่มีแล้ว ที่คืนไลเซ่นส์ ส่วนใหญ่ๆโละพนักงาน แล้วไปทำออนไลน์ต่อ” เขาบอก และย้ำว่า นาทีนี้ไม่มีต้นทุนค่าใบอนุญาต ผู้ประกอบการจะมีแต้มต่อมากกกว่าการทำแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างเดียว เพราะยุคนี้ต่อให้มีหรือไม่มีช่อง ทุกคนต้องพุ่งไปทำออนไลน์อยู่แล้ว

คนทำทีวีวันนี้ ไม่มีเหตุผลที่จะไม่ทำออนไลน์ แต่การมีทีวีโกยเรตติ้ง มีแต้มต่อกว่าทำออนไลน์อย่างเดียว หากนำเสนอแพ็คเกจโฆษณาให้ลูกค้า รายหนึ่งมีทีวี+สื่อออนไลน์ แต่อีกรายมีแค่ออนไลน์ ความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายและ “คุ้มค่า” ย่อมมีมากกว่า

อย่างไรก็ตาม โจทย์การทำทีวียังหิน! เพราะสึนามิลูกใหญ่ คือต่อกรกับเทคโนโลยีแห่งอนาคต ทางรอดอีก 10 ปี ชลากรณ์ เชื่อว่าผู้ประกอบการทุกราย “รู้” อยู่แล้วว่าต้องทำอย่างไร

เวิร์คพอยท์เราทำทุกอย่างที่ทำได้ โดยเฉพาะพัฒนา Single content Multi platform” ปัจจุบันเวิร์คพอยท์จัดหนักขยายการรับชมไปทุกแพลตฟอร์มตอบคนดู Anywhere, Anytime ทั้งเว็บไซต์เวิร์คพอยท์ ที่กำลังจะจัดระบบระเบียบใหม่ เตรียมจับมือกับ Line TV พื่อผลิตรายการฟอร์แมท ส่วนไตรมาส 3 จะจับมือกับ Facebook ผุดรายการทีวีโปรเจคใหม่ร่วมกัน เป็นต้น

ชลากรณ์ ยอมรับว่า รายได้ออนไลน์ยังไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่าย และยังไม่มากพอจะเทียบทีวี แต่อัตราทำเงิน “โต” ต่อเนื่อง

@ทีวีไม่ตายอยากโต ต้องแตกต่าง

คร่ำหวอดในวงการสื่อมานานจากสิ่งพิมพ์ สู่ทีวีดิจิทัล ทำให้ พีระวัฒน์ โชติธรรมโม นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และรองกรรมการผู้จัดการ- ช่องสปริง26 ฟันธง ธุรกิจทีวีดิจิทัลไม่ตาย” แต่ก้าวต่อไป ต้องปรับเพื่อสู้ศึกรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมคนดูเปลี่ยน ดิจิทัล ดิสรัป แพลตฟอร์มใหม่มีอิทธิพลชิงสายตาผู้ชม(Eyeball)

“เทคโนโลยี 4G ทำให้เห็นว่าการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์มาล้อม Main Screen หรือจอแก้วเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องมี”

ขณะที่ “คอนเทนท์” คือ Core Asset ต้องทุ่มทุนพัฒนาเนื้อหา รายการที่มีคุณภาพ ซึ่งที่ผ่านมา ต้นทุนคงที่จากค่าใบอนุญาต ค่ามัค แบกไว้กว่า 30% และลดต้นทุนส่วนนี้ไม่ได้ การลดงบลงทุนด้านคอนเทนท์เพื่อประคองรายได้จึงเกิดขึ้น

“เป็นไปไม่ได้ที่รายการคุณภาพดี จะมาจากต้นทุนที่ต่ำ” เขาให้มุมมอง และขยายความว่า การพัฒนาคอนเทนท์ดี ทำได้ภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม

นอกจากนี้ การพัฒนาคอนเทนท์ที่แตกต่าง ข้อมูลเชิงลึก หาอ่านยาก เรื่องราวในอดีต ยิงถึงคนดูเร็ว ข่าวจริงท่ามกลางข่าวลวงและการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ หรือการมี Nose for News จะช่วยทำให้ผู้ชมเฝ้าหน้าจอ “ต่อลมหายใจ” ให้ทีวีดิจิทัลได้ และยุคนี้ไม่เสิร์ฟแค่จอแก้ว แต่ทุกแพลฟอร์ม จึงต้องคำนึงความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็นทวิตเตอร์ อินสตาแกรม เฟสบุ๊ค ต้องการรับชมเนื้อหาแบบไหน เช่น จอแก้วเป็นจอหลักที่คนสูงวัยยังดู เนื้อหาจะต้องเหมาะคนกลุ่มนี้

พีระวัฒน์ ยกตัวอย่างพรรคอนาคตใหม่ ที่สร้างความต่างตั้งแต่วาง Positioning พรรคจับตลาดเฉพาะ(Niche Market)คนรุ่นใหม่ 10 ล้านคน ไม่สนตลาดกว้าง(Mass) 30 ล้านคน ทุ่มเทหาเสียงกับคนกลุ่มนี้จนชนะใจได้เก้าอี้ในสภา นี่คือผลลัพธ์การฉีกเกมหนีคู่แข่ง

แต่สถานการณ์จริงที่เกิดบนจอแก้ว ต้องยอมรับว่าการรายงานข้อมูลข่าวสาร กลับหยิบประเด็นร้อนบน “ออนไลน์” มาฉายซ้ำวนไป คนรุ่นใหม่ที่รับรู้แล้ว จึงเมิน และหาสิ่งใหม่ที่ตื่นตาตื่นใจจากแพลตฟอร์มระดับโลกแทน เช่น เน็ตฟลิกซ์ ยูทูป เป็นต้น ไม่เท่านั้น เนื้อหาของทุกช่องยัง “เหมือนกัน” เป็น Me too syndrome ช่องไหนทำรายการเพลงปัง อีกช่องต้องทำตาม ถ่ายทอดสดการชกมวยต้องมีทุกช่อง รายการทำอาหาร การซื้อรูปแบบรายการต่างประเทศ(ฟอร์แมท)มาทำแล้วดัง อีกช่องขอทำบ้าง สุดท้ายผู้บริโภคหน่าย หดรีโมทหนี

@เสนอคอนเทนท์บนความพอดี-ดีพอ

ปัจจุบัน โฮมชอปปิง” คือหนทางทำเงินของแต่ละช่อง จึงเห็นรายการขายสินค้ายึดหน้าจอพรึ่บ! ผู้บริโภคทวงหาคอนเทนท์คุณภาพดังแค่ไหน เสียงอาจไปไม่ถึงผู้กำหนดนโยบาย(Policy Makers) ซึ่งประเด็นนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าคือ หนึ่งในทางรอดของทีวีดิจิทัล เพราะ พีระวัฒน์ บอกว่า หากนำรายการไปขายโฆษณา กว่าจะชักแม่น้ำทั้ง 5 มาจูงใจให้ลูกค้ายอมควักงบซื้อโฆษณายากมาก

“ปฏิเสธไม่ได้ว่าโฮมชอปปิงจะมากขึ้น เพราะนั่นคือรายได้หลัก อย่างช่องสปริง26 รายได้ต่อเดือน ราว 40% มาจากโฮมชอปปิง เพราะกว่าจะขายสปอตโฆษณาได้ใช้เวลานาน แต่โฮมชอปปิงพร้อมจ่ายทันที”

เมือทีวีดิจิทัลต้องโตพ่วงพร้อมโฮมชอปปิง การบริหาร “ความพอดี” ของคอนเทนท์จึงสำคัญมาก เพราะนั่นคือการไม่หลงลืม “ผู้ชม” ที่เป็นฐานเรตติ้ง หากคนกดรีโมทหนี มีช่องอื่นเสนอรายการดี ดูจนติด อาจยากจะกอบกู้กลับคืนมา

ไม่ว่าจะอยู่บนแพลตฟอร์มไหน คอนเทนท์ดี มีคุณภาพสำคัญสุด

ตัวอย่างช่อง 8 กำลังเผชิญเรตติ้ง ดิ่ง จากเคยติด Top 6 หล่นมาที่ 9 เพราะการโฟกัสธุรกิจใหม่ MPC ขายสินค้าเป็นหลักมากกว่าโกยเงินโฆษณา และบริษัทยังพยายามทำรายการให้ถูกใจผู้ชม เพื่อให้คนดูและซื้อสินค้า แต่โจทย์เอาชนะใจผู้ชมยากขึ้นเรื่อยๆ

เพื่อตรึงคนดูไว้เป็น “ฐานทัพ” พีระวัฒน์ แนะนำให้สร้าง Community ของช่องผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ หากฐานใหญ่มีรายการเด็ดใด ส่งสัญญาณให้ผู้บริโภครู้ รอชมผ่านทีวีและจอรองได้ ไทยรัฐ” สร้างสาวกผ่านแฟนเฟจเฟสบุ๊คจาก 9 แสนราย ปัจจุบันทะลุ 10 ล้านรายไปแล้ว เมื่อหว่านคอนเทนท์ลงบนโซเชียลให้โลกรู้ เพียง 10% ที่กลับมาดูทีวี อาจสร้างเรตติ้ง โกยเงินโฆษณาได้มหาศาล

ฐานแฟนเท่าไหร่จะพึงพอใจ เขามองว่า หลักล้าน” เป็นตัวเลขแข็งแรงพอ

ชัดแล้วเหลือทีวีธุรกิจ 15 ช่อง ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา พีระวัฒน์ วิเคราะห์คลื่นสึนามึกระเทือนลูกแรกอาจน้อย เพราะ สึนามิ” ลูกใหม่ในอนาคต “ต้องมี” อีกระลอก เมื่อลดต้นทุนคงที่ไม่ได้ น่าห่วงว่าการ ลดคน” ควบ คอนเทนท์” จะโดนอีก โดยเฉพาะรายการข่าวสารและสาระ ส่วน 7 ช่องที่ลาสังเวียน คนตกงานจำนวนมาก ทำเอาคนน้ำตาตกในไม่น้อย

@“มาลีนนท์โจทย์หิน 3เอชดี

ชื่อ“อริยะ พนมยงค์”ถูกประทับตราความรู้ ความสามารถ ฝีไม้ลายมือเก่งฉกาจในสายตาของนักธุกิจ เอเยนซี แวดวงไอที และธุรกิจสื่อ เมื่อเขาตัดสินใจมารับงานที่ท้าทาย ด้วยการเป็น “แม่ทัพ” ของบีอีซี เวิลด์ งานแรกที่ต้องตัดสินใจคือ “คืนใบอนุญาต 2 ช่อง” งานต่อมาคือเร่งตอบคำถามและทำความเข้าใจกับพนักงานในองค์กรร่วมร้อยชีวิต แต่ยังไม่เคาะเรื่อง “เลิกจ้างพนักงาน” หากต้องโละคน เปรยว่าจะจ่ายชดเชยตามกฎหมายและมี “บวกบวก” แต่ไม่คอนเฟิร์มตัวเลข เพราะกระบวนการคืนช่องยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เงินชดเชยยังไม่ถึงมือ ต้องค่อยๆทำ และได้เงินมาหากต้องจ่ายพนักงานมากกว่ากฎหมายแรงงานกำหนด คงต้องอธิบายผู้ถือหุ้นยิบ

ในงานทาวน์ฮอลล์อริยะส่งสัญญาณการเขย่าโครงสร้างธุรกิจใหม่ ให้สอดคล้องกับ 1 ช่องที่เหลือ เพราะเพราะ 2 ช่องที่หายไป รายการที่ผลิตป้อนช่องเดิม คอนเทนท์ที่ซื้อจากต่างประเทศมาตุนไว้ จะต้องจัดสรรกันใหม่

บรรดาแหล่งข่าววงการสื่อ ประเมินงานหินของ “ผู้นำ” ใหม่ หนีไม่พ้นตระกูล“มาลีนนท์”หากวางแผนธุรกิจดี แต่ดีดลูกคิดรางวัล หารายได้ไม่เข้าเป้า แผนอาจไม่ผ่านนายใหญ่เจ้าของช่อง

ทิศทางคร่าวๆ ที่อริยะหมายมั่น คือการโฟกัสละคร คอนเทนท์ที่เป็น“จุดแข็ง”ของช่อง 3 ตามด้วยการฟื้น “รายการข่าว”ให้กลับมาผงาดอีกครั้ง เพราะในอดีตข่าวสามารถทำเงินในสัดส่วนมากกว่าปัจจุบัน

คำแนะนำจากผู้เล่นในสังเวียนเดียวกัน ชี้ทางรอดคือดึง“สรยุทธ สุทัศนะจินดา”นักเล่าข่าวคนดังกลับมานั่งจ้อหน้าจอแก้ว เพราะอดีตเป็นแม่เหล็กดึงเงินมหาศาล ส่วนกลับมาอาจเจอ“ดราม่า”จากคดีความต่างๆ “แล้วไง..ยิ่งดราม่า โดนด่า คนก็ยังดู” แหล่งข่าวกล่าว

อย่างไรก็ตาม อริยะ ทำการบ้านหนักหน่วง หาข้อมูล ความรู้ เบื้องต้นพบว่าธุรกิจทีวีที่เจอวิกฤต แต่ไม่มีใครที่ฟื้นกลับมาได้เลย“อยากทำให้ช่อง 3 ฟื้นกลับมาเป็นรายแรก”ซึ่งอาจทำให้วงการเห็นกรณีศึกษาดีๆด้วย

โจทย์หินของ อริยะ ไม่ใช่แค่พาธุรกิจทีวีดิจิทัล ฝ่าพฤติกรรมคนเมินทีวี ดูน้อยลง หรือพาช่อง 3 โกยรายได้จากแพลตฟอร์ม โมเดลธุรกิจใหม่ๆ รวมถึงขี่คลื่นดิจิทัลให้โตไปด้วยกัน โดยความท้าทายที่ใหญ่คงเป็นการขับเคลื่อนธุรกิจให้ได้ตามเป้าหมายของ “มาลีนนท์” ด้วย

@5ช่องลงตัวเงิน-ผู้ชม

 คืน 7 ช่อง สังเวียนทีวีดิจิทัลลงตัวหรือยัง หากตอบแบบไม่เกรงใจ จำนวน 15 ช่องยังเยอะเกินไป ความเห็นของ ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือเอ็มไอ และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด หนึ่งในเอเยนซี่โฆษณาชั้นนำของไทย

จำนวน 10 ช่อง ยังแย่งเม็ดเงินโฆษณาลำบาก เพราะที่ผ่านมา เม็ดเงิน 6-7 หมื่นล้านบาท ยังกระจุกตัวอยู่แค่ “เทียร์ 1” คือช่อง 7 และ 3 ส่วนช่องมีเรตติ้งต่ำกว่า แบ่งเงินลดหลั่นกันไป เงินลงไปเต็มที่ก็เทียร์ 2 ไม่เกิน 5 ช่อง หรืออาจไปถึงที่ 6

เพื่อให้ภาพชัด ย้อนอดีตวงการจอแก้ว ยังไม่เจอดิจิทัล “ดิสรัป” ก็มีเพียงช่อง 7 และ 3 ที่โกยเงินโฆษณาเป็นล่ำเป็นสัน แต่วันนี้ไม่ใช่ เพราะแพลตฟอร์มออนไลน์ ระดับโลก มากมายมีคอนเทนท์ชั้นยอด(Content is King)ชิง Eyeball และ “เวลา” ของผู้บริโภคไม่ลดละ อนาคตหากมีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา ยังสร้างแรงกระเพื่อมให้ทีวีดิจิทัลอีกแน่

ไม่ได้แช่งให้ใครหายไป ในฐานะเอเยนซี่ มองทางเทคนิคทีวีดิจิทัลที่เหมาะกับคนดูและเม็ดเงินโฆษณา ดิจิทัล ดิสรัป ใน 3-5 ปีข้างหน้าไม่ควรเกิน 5 ช่อง ซึ่งอนาคต 5 ช่องอาจเยอะไปด้วยซ้ำ” ดังนั้นการหวังพึ่งรายได้จากเม็ดเงินโฆษณาทางเดียวย่อมไม่รอด ต้องพัฒนาแพลตฟอร์ม และรายได้จากโมเดลธุรกิจอื่นเสริมทัพด้วย

  ทีวีดิจิทัลอยู่ในอาการโคม่า! ถามว่าอิทธิพลต่อคนดูเปลี่ยนไหม ภวัต การันตีว่าเป็นสื่อที่ช่วยให้ยิงโฆษณาถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างมากสุด ตรงเป้าหมาย แต่ความท้าทายคือคนดูทีวีลดลงเหลือ 2-3 ชั่วโมง(ชม.)ต่อวัน สวนทางแพลตฟอร์มออนไลน์ โซเชียลมีเดียที่คนเทเวลาให้กว่า 6 ชม.ต่อวัน และ เทรนด์ ที่บ่งชี้พฤติกรรมผู้บริโภคยุคนี้ “เปลี่ยนเร็ว” มาก เพียงครึ่งปี พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ เทียบอดีต เทรนด์จะค่อยๆก่อตัว ให้นักการตลาด ผู้ประกอบการจับมาวิเคราะห์เพื่อปรับแผนธุรกิจ ค้าขายสินค้าให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายได้

  “ต้องดูว่าผู้ประกอบการจะปรับคอนเทนท์ตามทันคนดูไหม เพราะวันนี้แค่ครึ่งปีเทรนด์ความต้องการก็เปลี่ยนแล้ว