5ปี ‘โครงสร้างพื้นฐาน’‘พระเอก’ ยกฐานะ PYLON

5ปี ‘โครงสร้างพื้นฐาน’‘พระเอก’ ยกฐานะ PYLON

'ไพลอน' ชูคอนเซ็ปต์แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐ 'โอกาสทอง' ธุรกิจเสาเข็มและฐานราก 'ชเนศวร์ แสงอารยะกุล' หุ้นใหญ่ ส่งซิกงาน 'โครงสร้างพื้นฐาน' ยังเป็น 'พระเอก' ต่อไปอีก 5 ปีข้างหน้า ด้านรายได้ปีนี้เติบโตตามเป้าหมาย 1,600 ล้านบาท !!

พัฒนาการที่ร้อนแรง...!! สะท้อนผ่านผลงานโดดเด่นไตรมาส 1 ปี 2562 'กำไรสุทธิ' 80.48 ล้านบาท ถือเป็นการทำลาย 'สถิตินิวไฮ' (New High) กำไรรายไตรมาสครั้งใหม่...!! ของ บมจ. ไพลอน หรือ PYLON ผู้ประกอบการธุรกิจเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างงานเสาเข็มและฐานราก กลายเป็นหุ้นที่เหล่านักวิเคราะห์แนะนำให้ 'ซื้อ' หลังมองว่าผลการดำเนินงานในช่วงปี 2562 ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง 

บ่งชี้ผ่านแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ กำลังเป็น 'แรงผลักดัน' การเติบโตในอนาคตของ PYLON หนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างงานเสาเข็มและฐานราก ที่รับ 'ปัจจัยบวก' ตามทิศทางอุตสาหกรรมรับเหมา-ก่อสร้างเติบโต ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน !! 

โดย PYLON แบ่งธุรกิจออกเป็น 3 สายงานหลัก ประกอบด้วย 1.งานเสาเข็มเจาะ (Bored Pile) เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มที่นิยมใช้กับการก่อสร้างฐานรากของโครงสร้างขนาดใหญ่ และโครงสร้างอาคาร ในบริเวณที่มี พื้นที่จำกัด นอกจากนี้เสาเข็มเจาะยังลดมลภาวะเรื่องเสียงและแรงสั่นสะเทือนเมื่อเทียบกับ การใช้เสาเข็มตอก การก่อสร้างเสาเข็ม เจาะนั้นสามารถปรับ เปลี่ยนขนาดได้ จากขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 50 เซนติเมตร จนถึงมากกว่า 1 เมตรขึ้นไป และทำได้ถึงความลึกมากกว่า 60 เมตร ขึ้นอยู่กับการออกแบบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มโดยวิศวกร และสภาพชั้นดินใน แต่ละพื้นที่ 

2.งานปรับปรุงคุณภาพ ดิน (Ground Improvement) มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มเสถียรภาพให้กับโครงสร้างของดินเดิม ทำให้ดินมีกำลังรับ น้ำหนักมากขึ้นและ ป้องกันการเคลื่อน ตัวของดิน โดยบริษัทมีการให้บริการงานประเภทนี้โดยวิธีการอัดฉีดซีเมนต์ด้วยแรงดันสูง (Jet Grouting) ที่ความดันประมาณ 200 ถึง 400 บาร์  

และ 3.งานก่อสร้างกำแพงกันดินชนิดไดอะแฟรม (Diaphragm Wall) กำแพงกันดินชนิดไดอะแฟรมเป็นการก่อสร้างกำแพงโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็น โครงสร้างรับ น้ำหนักและป้องกัน การเคลื่อนตัวของ ดินทางด้านข้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เพื่อเป็นโครงสร้างของชั้นจอดรถใต้ดิน กำแพงอาคารผู้ โดยสารสำหรับระบบ รถไฟฟ้าใต้ดิน และอุโมงค์ลอดทางแยก เป็นต้น

'ชเนศวร์ แสงอารยะกุล' กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ไพลอน หรือ PYLON เล่าสตอรี่การเติบโตของ PYLON ให้ฟังว่า ในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า (2562-2566) งาน 'โครงสร้างพื้นฐาน' (Infrastructure) ยังเป็น 'พระเอก' ต่อไป สะท้อนผ่านโครงการขนาดใหญ่ๆ และโครงการค้างท่อ จะออกมาอีกเพียบหลังมีรัฐบาลใหม่เข้ามาขับเคลื่อน ขณะที่ภาคเอกชนมองว่าการบริโภคคาดว่าจะฟื้นตัวหากความเชื่อมมั่นกลับมา  

สำหรับโครงการที่คาดว่าปีนี้จะออก 'ร่างขอบเขตของงาน' (TOR) และเปิดประมูล อาทิ โครงการทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง , รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงใต้ และโครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีส้มตะวันตก และบริษัทยังคงติดตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง รถไฟฟ้าสายสีส้ม และโครงการทางยกระดับทางด่วนพระราม 2 และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งบริษัทวางวงเงินไว้ราว 150 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติมในรองรับงานโครงการใหม่

'ยิ่งเฉพาะโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC และ โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดว่าหากโครงการดังกล่าวอนุมัติออกมาจะถือเป็นโครงการขนาดใหญ่มาก มูลค่างานที่ออกมาจะเทียบกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายเส้นทาง'

'เอ็มดี' บอกต่อว่า สำหรับภาพรวมทั้งปี 2562 ยังคงมั่นใจว่ารายได้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 1,600 ล้านบาท โดยปัจจุบันบริษัทมี 'มูลค่างานในมือรอรับรู้รายได้' (Backlog) ราว 900 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นค่าแรง 35% และค่าของ 65% ซึ่งจะรับรู้รายได้ทั้งหมดภายในช่วงไตรมาส 4 ปี 2562 ขณะเดียวกันบริษัทยังคงหางานใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่องทั้งภาครัฐและเอกชน

'งานโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่จะออกมาอีกเป็นจำนวนมากต่อเนื่องอีกหลายปี ซึ่งเราจะเห็นการลงทุน การก่อสร้าง ถือเป็นประเด็นบวกต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมการก่อสร้าง เพราะจะช่วยทำให้เกิดการลงทุนใหม่ ๆ ในประเทศ และสนับสนุนให้การรับงานประเภทฐานรากของบริษัทขยายตัว' 

แม้ว่าในปัจจุบันงานทุกอย่างจะอยู่ในภาวะ 'หยุดนิ่ง' เนื่องจากโครงการใหม่ๆ ยังต้องรอรัฐบาลใหม่อนุมัติโครงการต่างๆ ขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนก็รอดูเช่นกัน โดยคาดว่าปีนี้งานเอกชนน่าจะน้อยลงกว่าปีก่อน แต่ก็ยังมีงานออกมา แต่เชื่อว่าหากมีรัฐบาลใหม่โดยเร็วจะสร้างความมั่นใจให้กับเอกชนในการลงทุนมากขึ้น  

โดยคาดผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2562 จะต่ำกว่าไตรมาส 1 ปี 2562 เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ค่อนข้างเยอะ ทำให้การทำงานเกิดความล่าช้า ขณะเดียวกันบริษัทยังคงหางานใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่องทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้บริษัทยังคงสามารถใช้เครื่องจักรได้เกือบเต็มกำลังการผลิต โดยปัจจุบันใช้เครื่องจักรอยู่ที่ 80-90% จากเครื่องจักรทั้งหมด 25 เครื่อง

ทั้งนี้ บริษัทมีเป้าหมายระยะสั้น 3 ปีข้างหน้า โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะซึ่งเป็นรายได้หลักของบริษัท รวมถึงจะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากงานกำแพงกันดินชนิดไดอะแฟรม (Diaphragm Wall) ซึ่งจะเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทในอนาคต  

ขณะที่ เป้าหมายระยะยาวในอนาคตนั้น บริษัทมีนโยบายขยายฐานการให้บริการไปยัง 'ต่างประเทศ' โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง โดยเน้นการก่อสร้างฐานรากเป็นหลักเพื่อรองรับการเติบโตของ 'ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC'

เขา บอกต่อว่า กลุ่มลูกค้าของบริษัทที่ให้บริการได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 'ลูกค้าภาครัฐและลูกค้าภาคเอกชน' โดยงานจากภาครัฐส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับงานโครงสร้างและสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น งานทางรถไฟยกระดับ งานทางด่วน งานสะพานข้ามแยก งานเขื่อน งานโรงไฟฟ้า งานอาคารและสถานที่ราชการ เป็นต้น 

ขณะที่งานภาคเอกชนจะเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย โรงพยาบาล และอาคารสำนักงาน การรับงานของบริษัทในปัจจุบันมีการดำเนินการใน 2 รูปแบบ คือการเป็นผู้รับเหมาช่วงโดยรับงานจาก 'ผู้รับเหมาหลัก' (Main Contractor) และ 'การเป็นผู้รับเหมาโครงการ' โดยรับงานจากเจ้าของโครงการโดยตรง ซึ่งรูปแบบการรับงานในแต่ละโครงการนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงการและความต้องการของเจ้าของโครงการ 

ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่ผู้ว่าจ้างพิจารณาในการเลือกให้ บริษัทเป็นผู้รับงานได้แก่ ประสบการณ์ คุณภาพผลงานในอดีต ความสามารถในการส่งมอบได้ทันเวลา และราคาที่เหมาะสม   

สำหรับภาพรวมของอุตสาหกรรมก่อสร้างในปี 2562 น่าจะมีปริมาณงานใกล้เคียงกับปี 2561 โดยจะมีทิศทางที่ดีในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หลังจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเริ่มก่อสร้าง 

อย่างไรก็ตาม ยังคงมี 'ปัจจัยเสี่ยง' ในเรื่องของความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบถึงความต่อเนื่องของภาครัฐในงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รวมไปถึงการจัดทำงบประมาณปี 2563 ซึ่งอาจมีความล่าช้า และกระทบต่อการอนุมัติงบประมาณการลงทุนในโครงการต่างๆ ที่อาจทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ก่อสร้างไม่เป็นไปตามที่คาดได้ไว้ 

'ที่ผ่านมาบริษัทยังคงเน้นนโยบายการขยายฐานลูกค้ารวมถึงการรักษาฐานลูกค้าเดิมเพื่อลดความเสี่ยงด้าน'

อย่างไรก็ดี จากแนวโน้ม Transportation Action Plan 2562 ยังคงเป็นยุคทองของโครงการขนส่งมวลชนภาครัฐไปอีกอย่างน้อย 5 ปี ซึ่งธุรกิจเสาเข็มและฐานรากเป็นกลุ่มแรกๆ ที่จะได้ประโยชน์จากงานก่อสร้างทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกช

ท้ายสุด 'ชเนศวร์' ทิ้งท้ายไว้ว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมก่อสร้างในปี 2562 น่าจะมีปริมาณงานใกล้เคียงกับปี 2561 โดยจะมีทิศทางที่ดีในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หลังจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเริ่มก่อสร้าง 

4 กลยุทธ์เด่น 'ไพลอน'

'ชเนศวร์ แสงอารยะกุล' กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ไพลอน หรือ PYLON เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันมี 4 กลยุทธ์ทางการแข่งขันในการดำเนินการสำคัญของบริษัท ประกอบด้วย 1.คุณภาพของการบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและตามความต้องการของลูกค้า (Quality) โดยงานฐานรากเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของตัวโครงสร้างจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก 

ดังนั้นบริษัทจึงกำหนดมาตรฐานการทำงานอย่างเคร่งครัด โดยมีกระบวนการตรวจสอบเพื่อควบคุมคุณภาพงานตลอดกระบวนการ และมีวิศวกร ดูแลประจำสถานที่ก่อสร้างเพื่อแก้ปัญหาให้ทันเวลา ทำให้ผู้ใช้บริการเดิมหลายรายยังกลับมาใช้บริการของบริษัท รวมถึงมีการขยายฐานลูกค้ารายใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง 

2.อัตราค่าบริการที่เหมาะสม (Cost) บริษัทมีนโยบายไม่ตัดราคากับคู่แข่ง แต่จะใช้นโยบายในการบริหารต้นทุนการบริการอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิเช่น ผลิต อะไหล่ วัสดุสิ้นเปลือง หรือชิ้นส่วนเครื่องจักรหลายชนิดภายในบริษัทเอง ทำให้ลดการพึ่งพิงผู้ประกอบการรายอื่นและ ลดการนำเข้า ส่งผลให้บริษัทสามารถตั้งราคาที่เหมาะสมและแข่งขันได้ 

นอกจากนี้บริษัทยังให้ความสำคัญกับการพัฒนา ประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้บริษัทสามารถกำหนดอัตราค่าบริการที่สามารถตอบสนองความ ต้องการของลูกค้า และสร้างความสามารถในการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวได้  

3.การส่งมอบที่ตรงเวลา (Delivery) เนื่องจากงานฐานรากถือเป็นงานเริ่มต้นของงานก่อสร้าง หากขั้นตอนนี้ไม่ได้รับการส่งมอบที่ตรงเวลาอาจส่งผลกระทบต่อ ขั้นตอนงานถัดไปได้ โดยบริษัทให้ความสำคัญในด้านนี้และมีการประสานงานของฝ่ายต่างๆ เป็นอย่างดีตลอดจนมีการ วางแผนและติดตามการทำงานอย่างรัดกุมเพื่อให้สามารถส่งมอบงานได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้  

และ 4. ความหลากหลายของการบริการ (Variety of Services) เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น บริษัทมีนโยบายที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์ในด้านงานฐานราก และรูปแบบ การบริการที่เกี่ยวเนื่องให้มีความหลากหลายและครบวงจร