ปลูกแล้ว 'กัญชา' ทำยาแห่งแรกในอาเซียน ที่แปลงองค์การเภสัช จ.ปทุมธานี

ปลูกแล้ว 'กัญชา' ทำยาแห่งแรกในอาเซียน ที่แปลงองค์การเภสัช จ.ปทุมธานี

"ปิยะสกล" รัฐมนตรีสาธารณสุข ลงพื้นที่ปลูกกัญชาที่ต้องตามกฎหมายแห่งแรกในอาเซียน ที่แปลงองค์การเภสัช ธัญบุรี จ.ปทุมธานี คาดกรกฎาคมนี้ได้ผลิตภัณฑ์ยาจากกัญชาล็อตแรก

ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิด "โครงการผลิตสารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์ขององค์การเภสัชกรรม ระยะที่ 1"โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารองค์การ เภสัชกรรม ร่วมในพิธีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข บอกว่า หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการยาเสพติดให้โทษ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ได้อนุญาตให้องค์การเภสัชกรรมทำการปลูกกัญชาทางการแพทย์ พร้อมทั้งได้ลงนามในหนังสืออนุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้องค์การฯได้ดำเนินการปลูกกัญชาทางแพทย์สำหรับเป็นวัตถุดิบนำมาสกัดเป็นสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาจากกัญชาชนิด น้ำมันหยดใต้ลิ้น สำหรับนำไปใช้ในการทดลองทางคลินิกในผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการที่มีผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งด้วยคีโม โรคลมชัก ปลายประสาทอักเสบ อัลไซเมอร์

โดยในวันนี้เป็นการปลูกกัญชาทางการแพทย์ที่ถูกต้องตามกฎหมายต้นแรกในอาเซียน ซึ่งเมล็ดพันธุ์กัญชาที่ใช้ปลูกครั้งนี้เป็นเมล็ดจากสายพันธุ์ลูกผสม ที่มีคุณภาพเมล็ดพันธุ์สูง ปลูกในอาคาร ด้วยเทคโนโลยีระบบรากลอย ซึ่งเป็นระบบหนึ่งในระบบการปลูกกัญชาเกรดมาตรฐานทางการแพทย์ หรือ Medical Grade บนพื้นที่ 100 ตารางเมตร ขององค์การเภสัชกรรม อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ซึ่งจะทำให้ได้สารสกัดต้นแบบกัญชา ที่มีคุณภาพสูง มีปริมาณและสัดส่วนของสารสำคัญที่ใช้ในการออกฤทธิ์ คือ THC และ CBD เป็นไปตามความต้องการใช้ของแพทย์ในแต่ละโรคที่จะทำการศึกษาวิจัย

ปลูกแล้ว \'กัญชา\' ทำยาแห่งแรกในอาเซียน ที่แปลงองค์การเภสัช จ.ปทุมธานี

ด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม บอกว่า ก่อนหน้านี้องค์การฯได้นำกัญชาของกลาง มาทำการสกัดเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาในเบื้องต้น แต่เมื่อตรวจคุณภาพกัญชาของกลางพบว่ามีปริมาณสารปนเปื้อนสูงกว่ามาตรฐาน ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบได้ องค์การฯ จึงมีความจำเป็นต้องเร่งปลูกกัญชาสายพันธุ์ลูกผสม บนพื้นที่แห่งนี้ การปลูกกัญชาทางการแพทย์ครั้งนี้เป็นการปลูกเพื่อนำไปใช้ในการศึกษาวิจัย พัฒนา ด้านต่างๆ ทั้งด้านการศึกษาวิจัยการปลูก พัฒนาสายพันธุ์ ด้านเทคโนยีการสกัดเป็นสารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์ ด้านการนำไปใช้ในการวิจัยทดลองทางคลินิกของคณะแพทย์ผู้วิจัยในสาขาโรคต่างๆ ซึ่งการปลูกในครั้งนี้องค์การฯ จะใช้ระยะเวลาในการปลูกประมาณ 3-4 เดือน โดยประมาณต้นเดือนกรฎาคม 2562 จะสามารถนำมาสกัดเป็นสารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์ และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาจากกัญชาชนิดน้ำมัน หยดใต้ลิ้น ได้ประมาณ 2,500 ขวด ขวดละ 5 มิลลิลิตร หรือประมาณ 10,000 ขวดต่อปี และในอนาคตหากผลวิจัยได้ประโยชน์ กระทรวงสาธารณสุขจะนำเข้าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อประโยชน์ของประชาชนนายแพทย์วิฑูรย์

ปลูกแล้ว \'กัญชา\' ทำยาแห่งแรกในอาเซียน ที่แปลงองค์การเภสัช จ.ปทุมธานี

ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม บอกว่า สำหรับการปลูกเพื่อให้ได้กัญชาในระดับเกรดสำหรับใช้ทางการแพทย์นั้นต้องมีการควบคุมการเพาะปลูกให้เป็นไปตามมาตรฐานทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ เทคโนโลยีการปลูกการเก็บเกี่ยวเป็นวัตถุดิบกัญชาแห้ง การรักษาความปลอดภัย ซึ่งการปลูกสามารถปลูกได้หลายวิธีแต่ต้องมีการความคุมทุกขั้นตอน ในเบื้องต้นนี้องค์การฯใช้การปลูกในอาคาร ด้วยเทคโนโลยีระบบรากลอย ซึ่งเป็นระบบหนึ่งในระบบการปลูกกัญชาเกรดมาตรฐานทางการแพทย์ การปลูกด้วยระบบนี้จะทำให้สามารถควบคุมสารอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐานและได้ปริมาณสารสำคัญตามสัดส่วนและปริมาณ THC และ CBD ที่เหมาะสมสำหรับมาใช้ทางการแพทย์ และที่สำคัญจะไม่มีการปนเปื้อน โลหะหนักและยาปราบศัตรูพืช ซึ่งหากปลูกกัญชาบนดินทั่วๆไปแล้วธรรมชาติของกัญชาจะมีคุณสมบัติพิเศษที่ดูดซึมสารพิษเหล่านั้นได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น จึงเชื่อมั่นได้ว่าการปลูกด้วยระบบนี้จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและเหมาะสมกับผู้บริโภค ตลอดจนมีมาตรการควบคุมความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้มีการนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย

ปลูกแล้ว \'กัญชา\' ทำยาแห่งแรกในอาเซียน ที่แปลงองค์การเภสัช จ.ปทุมธานี