มหัศจรรย์แห่งลุ่มน้ำโขงกับ 157 สัตว์สายพันธุ์ใหม่แห่งปี

มหัศจรรย์แห่งลุ่มน้ำโขงกับ 157 สัตว์สายพันธุ์ใหม่แห่งปี

ชะนีสกายวอล์คเกอร์ ค้างคาว แลนซ์ เบสส์ คางคกแห่งมิดเดิ้ลเอิร์ท พบมหัศจรรย์แห่งลุ่มน้ำโขงกับ 157 สัตว์สายพันธุ์ใหม่แห่งปี

กรุงเทพฯ  12 ธันวาคม 2561  --- ค้างคาวที่มีลักษณะคล้ายสมาชิกวงบอยแบนด์แห่งยุค 90 NSYNC  ชะนีที่ถูกขนานนามจากภาพยนตร์สตาวอร์ และคางคกมีลักษณะเหมือนหลุดมาจากนวนิยายมิดเดิ้ลเอิร์ท เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสายพันธุ์ใหม่กว่า 157 ชนิดที่มีการค้นพบล่าสุด ณ ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในปี พ.ศ. 2560  จาก “สิ่งมีชีวิตน้องใหม่” ( New Species on the Block) รายงานฉบับล่าสุดจากองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF)  ที่เผยให้เห็นถึงการค้นพบอันน่าทึ่งของทีมนักวิทยาศาสตร์ ที่ทำงานศึกษาวิจัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง

ทั้งนี้ สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบใหม่ แบ่งได้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 3 สายพันธุ์ ปลา 23 สายพันธุ์ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 14  ชนิดพันธุ์  สัตว์เลื้อยคลาน 26  ชนิดพันธุ์  และพืช  91 ชนิดพันธุ์ จาก 5 ประเทศภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ประเทศลาว ประเทศเมียนมาร์ ประเทศเวียดนาม และประเทศไทย จากหลายพื้นที่ตั้งแต่ป่าเขา แม่น้ำ จนถึงทุ่งหญ้า

                รายงานระบุว่า มีการค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ๆ ถึง 3 ชนิดต่อสัปดาห์ ซึ่ง 39 สายพันธุ์เหล่านี้ ค้นพบในประเทศเมียรมาร์ โดยเป็นสัญญาณเชิงบวก ให้กับการทำวิจัยและงานอนุรักษ์ในประเทศเมียร์มาร์หลังจากมีการเปิดประเทศ  และมีการคาดการณ์ว่า ในอนาคตอาจมีการค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ๆ เพิ่มเติมได้อีก  ขณะที่มีการค้นพบอื่นๆ ได้แก่ การค้นพบ 58  สายพันธุ์ใหม่ในประเทศเวียดนาม และ 35  สายพันธุ์ในประเทศไทย  24 สายพันธุ์ในประเทศลาว และ 8 สายพันธุ์ในประเทศกัมพูชา  

สัตว์และพืชสายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบ ได้แก่

  • ค้างคาว ที่มีขนคล้ายกับทรงผมของแลนซ์เบสส์ นักร้องวงบอยแบนด์ NSYNC  ค้นพบในป่าฮักกาบู แถบเทือกเขาหิมาลัย บริเวณประเทศเมียร์มาร์    
  • ปลาบึก มีลักษณะที่เหมือนแพนเค้ก อาศัยอยู่ในแหล่งกระแสน้ำเย็นที่ไหลเชี่ยว ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮอร์ปกาน ราสิ
  • ต้นไผ่ บริเวณภูเขาการ์ดามัม ในประเทศกัมพูชา มีลักษณะลำต้นคล้ายหลอดไฟ และเจริญเติบโตตลอดเส้นทางถนน ความเปราะบางของมันทำให้ถูกตัดถางได้ง่าย  
  • คากคกขนาดเล็ก และมีเขาเล็กๆปลายแหลม มันถูกขนานนามตามชื่อของเอลฟ์แห่งนวนิยายมิดเดิลเอิร์ธ เพราะถิ่นที่อยู่อาศัยของคางคกชนิดนี้ เป็นพื้นที่ปกคลุมด้วยหมอก และหญ้ามอสชิ้นๆ ซึ่งถูกเรียกว่า ป่าเอลฟ์ ในเวียดนาม ที่มีเขาแหลมคม ซึ่งชื่อของมันเปรียบเสมือนเอลฟ์ จากการค้นพบที่อยู่อาศัยที่บริเวณภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยหมอกและพืชมอสส์ ใน ป่าเอลฟ์ ของประเทศเวียดนาม คางคกชนิดนี้จึงถูกเรียกว่า คางคกมิดเดิลเอิร์ธ
  • ดอกทิสเมียร์ สมุนไพรที่เคยอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ จากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ดินไปสู่การทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ถูกค้นพบอีกครั้งในประเทศลาว
  • จิ้งจกดิน พบบริเวณเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย ซึ่งมี 2 สายพันธุ์ที่แตกต่างกันที่ลวดลาย ซึ่งจะเห็นได้ชัด ตั้งแต่ด้านหน้าของลำตัวจรดถึงหาง
  • งูสายรุ้ง ที่อาศัยบริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวินของประเทศเมียรมาร์ ซึ่งถูกคุกคามจากพัฒนาที่อยู่อาศัยของมนุษย์  และการขยายพื้นที่การเกษตร
  • ชะนีสกายวอล์คเกอร์ ปัจจุบัน เป็นสัตว์ที่ถูกจัดให้เป็นสิ่งมีชีวิต 25 ลำดับแรกของโลกที่ใกล้สูญพันธุ์

    สจ๊วต แชปแมน ผู้อำนวยการสายงานอนุรักษ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง WWF ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  กล่าวว่า

ยังมีสิ่งมีชีวิตอีกหลายสายพันธุ์ที่รอการค้นพบ แต่น่าเศร้าที่พวกมันอาจจะ สูญพันธุ์ไปก่อนที่จะมีใครได้พบเห็น 

                สถานการณ์อาจจะไม่เป็นเช่นนั้น หากมีแหล่งน้ำสำรองที่เหมาะสมกับสัตว์ป่า รวมถึงการฝึกอบรมผู้พิทักษ์ป่าให้เกิดความเชี่ยวชาญในงานอนุรักษ์ รวมทั้งต้องมีความพยายามในการขับเคลื่อนการปิดตลาดการค้าสัตว์ป่า ที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์สภาพความหลากหลายของสัตว์ป่าในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

                ทางด้าน ดร.อีวาน โควท จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซียระบุว่า ทีมงานนักวิทยาศาสตร์ของเขาที่ค้นพบงูสายรุ้งสายพันธุ์ใหม่ ลุ่มแม่น้ำสาละวิน ในประเทศเมียรมาร์ ชี้ชัดว่าที่นี่ เป็นพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพ  โดยเขามั่นใจว่าหากมีการสำรวจพื้นที่ทั้งหมด จะค้นพบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่นี้มากขึ้น

                รายงานแห่งสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ Living Planet Index  ล่าสุดจาก WWF  ระบุว่าจำนวนประชากรสัตว์ป่าทั่วโลกลดลงเฉลี่ยกว่า 60  เปอร์เซ็นต์ใน 40 ปีที่ผ่านมา ในขณะที่การลดลงของจำนวนประชากรในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกลับเลวร้ายยิ่งกว่า  จากการแหล่งที่อยู่อาศัยในเขตป่าที่ถูกทำลาย รวมถึงการล่าสัตว์ในปริมาณมหาศาลในหลายพื้นที่ของภูมิภาค อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่มีอยู่จำกัด ทำให้ไม่สามารถคาดคะเนจำนวนประชากรสัตว์ป่าที่ลดลงอย่างชัดเจนในระดับภูมิภาคได้ ในขณะที่การสร้างถนน ทางรถไฟ รวมถึงเขื่อนก็ให้ผู้ล่าสัตว์ป่าสามารถเข้าถึงการล่าได้ง่ายขึ้น

                ขณะที่ ตลาดบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทย ประเทศเมียรมาร์ ประเทศลาว และประเทศจีน ยังคงมีการซื้อขายสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์อย่างผิดกฎหมาย รวมถึงการลักลอบขนส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศจีนและประเวียดนาม ที่มีความต้องการของผู้ซื้อที่นิยมสินค้าจากสัตว์ป่าสูง

                อย่างไรก็ตาม ถือเป็นข่าวดี หลังจากที่มีการประกาศให้การค้าสัตว์ป่าในกรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียร์มาร์ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และการออกคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีของประเทศลาว ให้เพิ่มมาตราการอย่างเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายการซื้อขายสัตว์ป่า นำไปสู่การจับกุมสินค้าที่ทำมาจากสัตว์ป่าได้อย่างมหาศาล  นอกจากนี้การที่ประเทศจีนประกาศห้ามซื้อสินค้าที่ทำจากงาช้างทำให้มีแนวโน้มว่าจะเกิดการการเปลี่ยนแปลงในตลาด  รวมถึงยังมีกระแสกดดันนักท่องเที่ยวและนักลงทุนในการงดซื้อสินค้าที่ทำมาจากสัตว์ป่าในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำแม่โขงมากขึ้น

                การค้นพบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ๆแต่ละครั้ง แลกมาด้วยเลือด หยดเหงื่อ และน้ำตา  แต่มันก็คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป ที่จะทำให้สามารถประกาศชื่อสายพันธุ์ใหม่ๆ และทำทำให้เราได้ร่วมปกป้องธรรมชาติเอาไว้ก่อนที่จะสายเกินแก้  ผู้อำนวยการสายงานอนุรักษ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง WWF ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  กล่าว