9เดือนลงทุน 'ระยอง-ฉะเชิงเทรา' วูบ

9เดือนลงทุน 'ระยอง-ฉะเชิงเทรา' วูบ

รัฐบาลผลักดันการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) เมื่อ 2 ปี ที่ผ่านมา โดยกำหนดให้มีสิทธิประโยชน์การลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

เพื่อจูงใจผู้ประกอบการ รวมทั้งเร่งผลักดันโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ คือรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิและอู่ตะเภา) ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ท่าเรือ มาบตาพุดเฟส 3 การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา

1_38

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เห็นชอบแผนชักจูงการลงทุนในอีอีซี 5 ปี รวมวงเงิน 5 แสนล้านบาท
แบ่งเป็น 50% จากการลงทุนใน 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายเดิม และอีก 50% เป็นการลงทุนจาก 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ โดยเป้าหมายใหม่ กำหนดเป้าหมายชักจูงการลงทุนอุตสาหกรรมชีวภาพและดิจิทัลสูงกว่าอุตสาหกรรมอื่น ทั้งอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ การบินและการแพทย์

หากดูการลงทุนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2561 พบว่าค่าขอรับส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซีจะอยู่ใน จ.ชลบุรี สูงที่สุดถึง 187,619
ล้านบาท จากขอรับส่งเสริมการลงทุนในอีอีซี ทั้งหมด 230,554 ล้านบาท รองลงมาเป็นจ.ระยอง 31,171 ล้านบาท และ จ.ฉะเชิงเทรา
11,764 ล้านบาท ส่วนจำนวนโครงการที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนใน จ.ชลบุรี มีจำนวนสูงที่สุดเช่นเดียวกับมูลค่าการลงทุน