เนคเทคส่ง เอไอ ช่วยงานการไฟฟ้า/การประปา

เนคเทคส่ง เอไอ ช่วยงานการไฟฟ้า/การประปา

งานประชุมวิชาการเนคเทคนำเสนอผลงานการพัฒนา AI เทคโนโลยีและการนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มประสิทธิภาพงานบริการสาธารณะของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ทั้ง กฟผ. กปน.และ Agri-Map กับการเกษตรเชิงรุก

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) โชว์เคสผลงานการพัฒนา AI หรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มประสิทธิภาพงานบริการสาธารณะของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในการประชุมวิชาการประจำปี 2561 ดังนี้ ผลงานที่ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในการพัฒนาระบบติดตามตรวจวัดข้อมูลระยะไกลด้านความปลอดภัยเขื่อน (Dam Safety Remote Monitoring System : DS-RMS)14 เขื่อนทั่วประเทศ โดยข้อมูลจากทุกเขื่อนจะถูกเชื่อมโยงมายังศูนย์ประมวลผลกลางด้านความปลอดภัยเขื่อนผ่านสายไฟเบอร์ออฟติค เพื่อติดตามข้อมูลพฤติกรรมของเขื่อน 


การประปานครหลวง (กปน.) ที่จ่ายน้ำในพื้นที่รับผิดชอบ 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี อัตราน้ำสูญเสียเป้าหมายให้เหลือ 19% ภายในปี 2564  ซึ่งจากสูญเสียเกิดจากปัจจัยหลัก คือ 1. ท่อแตกท่อรั่ว 2. จดเลขมิเตอร์ผิด หรือ ลักรอบใช้น้ำ 3. น้ำที่เกิดจากการบริการสาธารณ เช่น ล้างถนน ดับเพลิง ที่ผ่านมาคนที่ทำหน้าที่ในการเช็คปัญหาท่อรั่ว ต้องมีทักษะการฟังที่ดีเพื่อค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ ดังนั้น เพื่อความถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว จึงได้ใช้เทคโนโลยีเอไอเข้ามาช่วยในการพัฒนาเป็นอุปกรณ์ Leak Detector ออกมาใช้งาน ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้เพิ่มและเร็วจากเดิมใช้พนักงาน 1 วันสามารถแก้ปัญหาได้ 10 จุดแต่เมื่อนำ Leak Detector มาใช้ ทำงานได้เพิ่มเป็น 20 จุด เป็นต้น 


นอกจากนี้ยังมี Agri-Map กับการเกษตรเชิงรุกที่นำข้อมูลเอไอและบิ๊กดาต้าทางการเกษตรเข้ามาใช้ อาทิ ข้อมูลแผนที่ ข้อมูลการผลิต ผลผลิต สภาพพื้นดิน ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินในการเพาะปลูก ข้อมูลเชิงเศรษฐศาสตร์ด้านราคา แหล่งรับซื้อ และเครื่องมือสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อสร้างโมเดลแนะนำพืชทดแทนให้เกษตรกร สามารถวิเคราะห์และพัฒนาเป็นแบบจำลองในการโซนนิ่งภาคการเกษตรที่เหมาะสม สามารถบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติและบริหารผลผลิตได้ดีขึ้นเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น


ทั้งนี้ จากผลงานวิจัยและพัฒนาที่ผ่านมาทำให้สามารถวิเคราะห์และประมวล (FAARM AlicE : Analytics Engines) เกิดเป็นเครื่องมือช่วยในการค้นหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกพืช ทำนายฝนล่วงหน้า คำนวณปริมาณน้ำและสารอาหารที่เหมาะสม ติดตามการเจริญเติบโตของพืช วางแผนการเพาะปลูก ส่งต่อเป็นข้อมูล  เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่ดี มีคุณภาพ เหมาะกับความต้องการของตลาด สอดคล้องกับเกษตรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย