'ไพรินทร์' มอบนโยบายการบินไทย สั่งอุครอยรั่วต้นทุนน้ำมัน

'ไพรินทร์' มอบนโยบายการบินไทย สั่งอุครอยรั่วต้นทุนน้ำมัน

“ไพรินทร์” มอบนโยบายการบินไทย สั่งอุครอยรั่วต้นทุนน้ำมัน – อัตราแลกเปลี่ยน ยกโมเดล ปตท.ตั้งศูนย์บริหารจัดการทางการเงินในต่างประเทศ ขณะที่แนวทางอุ้ม “ไทยกรุ๊ป” ย้ำการเดินหน้าเป็นกลุ่มจะเข้มแข็ง พร้อมโยนบอร์ดตัดสินใจ

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายและติดตามดำเนินงานของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยระบุว่า ขณะนี้การบินไทยมีความพร้อมเดินหน้าในฐานะสายการบินแห่งชาติแล้ว ซึ่งได้สั่งการให้ทำงานตามแผนฟื้นฟูที่เสนอคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) แต่ปัญหาหลักที่กระทบต่อการดำเนินงาน คือ การขาดทุนจากต้นทุนเชื้อเพลิง และอัตราแลกเปลี่ยน จึงมอบหมายให้ฝ่ายบริหารการบินไทยเร่งจัดทำแผนประกันความเสี่ยง


“ปัญหาเหนือการควบคุมที่การบินไทยกำลังเผชิญ คือเรื่องต้นทุนเชื้อเพลิง และความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน เราก็จะต้องจัดการความผันผวนเหล่านั้นให้ได้ อย่างตัวพลังงานก็มีวิธีจัดการ วิธีประกันความเสี่ยงหลายแบบ อัตราแลกเปลี่ยนก็ด้วย แนะนำให้มองภาพใหญ่ เพราะเรามีหนี้หลายสกุล ซึ่งอาจจะใช้โมเดลของ ปตท.ที่จัดตั้งบริษัทบริหารอัตราแลกเปลี่ยนในสิงคโปร์”


นอกจากนี้ ยยังให้คำแนะนำการบินไทยเดินหน้าธุรกิจแบบเป็นกลุ่มจะสร้างความเข้มแข็ง ซึ่งการบินไทยเองก็มีกลุ่มอยู่แล้ว คือ ไทยกรุ๊ป ประกอบไปด้วย สายการบินการบินไทย สายการบินไทยสมายล์ และสายการบินนกแอร์ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการ (บอร์ด) พิจารณาแนวทางหลังจากนี้ พร้อมทั้งเชื่อมั่นว่าการบินไทยจะเดินหน้าแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี


นายไพรินทร์ ยังกล่าวอีกว่า แนวทางในการช่วยเหลือสายการบินนกแอร์ในฐานะไทยกรุ๊ป ตนไม่ได้มีคำสั่งพิเศษ เพียงแต่มอบหมายให้บอร์ดตัดสินบนพื้นฐานของเหตุและผล เพราะเป็นเรื่องของฝ่ายบริหารจะต้องตัดสินใจ ฝ่ายการเมืองการเกี่ยว เพียงแต่มอบนโยบายที่อยากให้เดินหน้าธุรกิจอย่างแข็งแกร่ง เช่นเดียวกับเรื่องการเพิ่มทุนนกแอร์ ขณะนี้ยังไม่ได้มีการหารือ ส่วนจะคงถือหุ้นในสายการบินทั้ง 2 สาย คือไทยสมายล์ และนกแอร์เช่นเดิมหรือไม่ ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปพร้อมมอบหมายให้บอร์ดตัดสินใจ


ด้านนายสุมเธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) การบินไทย เผยว่า กระทรวงคมนาคมในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล ได้มอบโจทย์ให้การบินไทยต้องมีอยู่ และอยู่อย่างรุ่งเรือง แต่เนื่องด้วยบริษัทเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่มีทั้งบอร์ด ฝ่ายบริหาร พนักงาน และประชาชน ดังนั้นต้องพิจารณาผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นทุกฝ่าย โดยทางออกของการดำเนินธุรกิจอาจไม่หวังเพียงกำลัง แต่เป็นความมั่นคง