กสอ. ผนึกกำลัง KBank ยกระดับเอสเอ็มอีไทยสู่ยุค 4.0

กสอ. ผนึกกำลัง KBank ยกระดับเอสเอ็มอีไทยสู่ยุค 4.0

กสอ. ผนึกกำลัง KBank ยกระดับเอสเอ็มอีไทยสู่ยุค 4.0 ขายสินค้าผ่าน K PLUS Market บนแอปพลิเคชั่น K PLUS เชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายบนตลาดออนไลน์ที่มีลูกค้ารองรับ 8.4 ล้านราย

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมมือกับ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หนุนเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน ขายสินค้าผ่าน K PLUS Market บนแอปพลิเคชั่น K PLUS เชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายบนตลาดออนไลน์ที่มีลูกค้ารองรับ 8.4 ล้านราย ให้ซื้อง่าย ขายคล่อง สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ไร้ข้อจำกัดเรื่องเวลา ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการกว่า 1,200 ราย

นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม มีบทบาทในการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทุกระดับจนสู่ระดับสากล โดยส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้มีองค์ความรู้ ทักษะความสามารถ ในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จึงจำเป็นต้องพัฒนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมให้มีศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กร และดำเนินธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเชิงนวัตกรรมที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทุกมิติ รวมทั้งยกระดับความสามารถในการแข่งขันสู่สากล ซึ่งในการพัฒนา SMEs ให้มีศักยภาพในการแข่งขัน โดยปัจจุบันมีหน่วยงานและองค์กรต่าง  ๆ รวมทั้งสถาบันการเงินทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุน และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ SMEs ให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น  ซึ่งธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา SMEs โดยมีบริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์กับ SMEs มากมาย จึงมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมมือกับ ธนาคารกสิกรไทยสนับสนุนให้ SME มีช่องทางจำหน่ายสินค้ามากขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์ที่นับวันยิ่งมีผู้ใช้บริการมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ด้านนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ความร่วมมือ (MOU) ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ให้การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจชุมชน สู่ยุค 4.0 สามารถเพิ่มช่องทางการค้าการลงทุนและการจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจชุมชนก่อให้เกิดความร่วมมือในการบูรณาการด้านการส่งเสริมและสนับสนุน SMEs และวิสาหกิจชุมชน สู่ 4.0 ภายใต้มาตรการทางด้านการเงินและยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันทางการตลาด โดยเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทุกระดับสู่สากล ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถก้าวไปข้างหน้าด้วยความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดย กสอ.จะให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1. การสนับสนุน พัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจชุมชนในด้านต่าง ๆ  2. คัดกรองวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพให้ได้รับโอกาสการส่งเสริมทั้งทางด้านการเงินและการพัฒนาธุรกิจ เพื่อให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น 3. สนับสนุนการประชาสัมพันธ์การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการและการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการค้า การลงทุน และการจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจชุมชน

ด้านนายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทย และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมกันสนับสนุนการยกระดับขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) และวิสาหกิจชุมชนสู่ยุค 4.0 เพื่อให้มีความเข้มแข็งสามารถแข่งขัน เติบโต และเป็นฐานสำคัญของเศรษฐกิจสู่ยุค 4.0 ของประเทศ โดยธนาคารกสิกรไทยจะให้การสนับสนุน ในด้านต่าง ๆ  ได้แก่ 1. สนับสนุนให้เกิดการต่อยอดทางธุรกิจ เชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการขยายตลาดออนไลน์ ได้พบกับลูกค้ารายย่อยที่ใช้งาน K PLUS กว่า 8.4 ล้านราย ผ่าน K PLUS Market โดยธนาคารจะเป็นสื่อกลางการติดต่อซื้อขายรวบรวมสินค้าหรือบริการจากร้านค้า บริษัทในกลุ่มธุรกิจต่างๆ เพื่อให้เกิดการซื้อขายสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ไร้ข้อจำกัดเรื่องเวลา พร้อมนำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) ควบคู่การใช้ Machine Learning นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการและสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น ส่วนลูกค้ารายย่อย จะได้รับการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ตรงกับความต้องการของลูกค้า 2. สนับสนุนแหล่งเงินทุนและบริการทางการเงิน ด้วยการสร้างโมเดลวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าทั้งพฤติกรรมด้านการเงินและความต้องการ พร้อมนำเสนอสินเชื่อออนไลน์ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านเมนู Life PLUS บนแอป K PLUS ตลอดจนแนะนำบริการทางด้านการเงินและสินเชื่อต่าง ๆ หรือช่องทางการชำระเงินต่าง ๆ ของธนาคารที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน 3. สนับสนุนการประชาสัมพันธ์ การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ ทั้งในและนอกประเทศให้แข็งแกร่ง ผ่านทั้งช่องทางที่เป็น Offline และช่องทาง Online และการเชื่อมโยงข้อมูล  เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการค้า การลงทุน และการจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน รวมถึงสนับสนุนข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูล และองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง นายปรีดี กล่าว

สำหรับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้เป็นโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ที่กำลัง เปิดกว้างไม่ได้หยุดอยู่ที่ตลาดในประเทศอีกต่อไป สามารถขยายกำลังซื้อไปยังตลาด AEC+3 ที่มีจำนวนผู้บริโภคกว่า 1,000 ล้านคน รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความก้าวหน้าของเทคโนโยลีของโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Technology) และความพร้อมของระบบ Logistics ได้เปิดโอกาสในการขยายธุรกิจให้กับเอสเอ็มอีไทยอย่างไร้พรมแดน ซึ่งทางธนาคารกสิกรไทยมีเครือข่ายการให้บริการที่ครอบคลุม AEC+3  ด้วยเครือข่ายสาขากว่า 16 สาขา และธนาคารพันธมิตรกว่า 70 แห่งทั่วภูมิภาค