แนะผู้สูงอายุดูแลช่องปาก ลดความเสี่ยงของการเกิดปอดอักเสบ

แนะผู้สูงอายุดูแลช่องปาก ลดความเสี่ยงของการเกิดปอดอักเสบ

แพทย์ชี้แนะผู้สูงอายุควรดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย ลดความเสี่ยงของการเกิดปอดอักเสบ

นายแพทย์ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่าการกลืนปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุเมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุระบบการทำงานต่างๆของร่างกายเลื่อมลงรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการกลืนในวัยสูงอายุซึ่งเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของช่องปากคอหอยกล่องเสียงหลอดอาหารและกลไกของระบบประสาทที่ควบคุมการกลืนส่งผลให้ความสามารถสำรองการกลืนในผู้สูงอายุลดลง ทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะกลืนลำบากยิ่งขึ้น กลไกในการกลืนในผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1. ระยะช่องปาก ผู้สูงอายุไม่มีฟันและกำลังกล้ามเนื้อที่ใช้ในการบดเคี้ยวลดลงทำให้ใช้เวลาในการบดเคี้ยวอาหารเพิ่มขึ้นกำลังและการประสานการทำงานของริมฝีปากและลิ้นลดลงทำให้กระบวนการเตรียมอาหารและการส่งผ่านอาหารใช้เวลานานขึ้นและประสิทธิภาพลดลง ต้องมีการกลืนหลายครั้งกว่าอาหารจะหมดจากช่องปากผู้สูงอายุบางรายอาจมีอาหารเหลือค้างในปากเป็นแหล่งสะสมของเชื้อก่อโรคเสี่ยงต่อภาวะปอดอักเสบจากการสำลัก2.ระยะคอหอยการกลืนที่คอหอยจะเกิดช้ากว่าวัยอื่นกล่องเสียงยกตัวขึ้นมารับกับฝาปิดกล่องเสียงช้าความแรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอหอยลดลงหูรูดของหลอดอาหารส่วนต้นเปิดช้าทำให้อาหารอยู่ในระยะคอหอยนานส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงในการเกิดสำลักอาหารเข้าสู่ทางเดินหายใจได้จึงเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุ 3. ระยะหลอดอาหาร ระยะเวลาที่หูรูดของหลอดอาหารส่วนต้นเปิดจะสั้นลง จึงมีอาหารเหลือค้างที่คอหอยเสี่ยงต่อการสำลักเข้าทางเดินหายใจแรงบีบไล่อาหารของหลอดอาหารลดลงทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะไส้เลื่อนกระบังลมมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นกลไกการกลืนจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ระยะ และมีส่วนสัมพันธ์กับระบบประสาทสั่งการและการควบคุมการหายใจ

นายแพทย์ประพันธ์ พงศ์คณิตานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่าสาเหตุของภาวะกลืนลำบากที่พบได้บ่อยของความผิดปกติของช่องปากและคอหอยในวัยสูงอายุคือโรคหลอดเลือดสมองและภาวะสมองเสื่อมแต่อาจมีสาเหตุจากภาวะอื่น ๆได้แก่โรคทางระบบประสาทโรคทางจิตเวชรวมถึงโรคพาร์กินสันที่ทำให้กล้ามเนื้อมีภาวะเกร็ง ทำให้การกลืนอาหารยากขึ้นและวิธีแก้ปัญหาภาวะกลืนลำบากควรปรับอาหารผู้สูงอายุหรือผู้ใกล้ชิดเลือกชนิดของอาหารที่ใช้ในการฝึกกลืนอย่างเหมาะสมได้แก่อาหารอ่อนที่ย่อยง่ายและมีรสจืดโดยรับประทานปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งและเลือกใช้ช้อนที่มีขนาดเล็กลงและหลุมไม่ลึกทำให้ปริมาณการรับประทานอาหารต่อคำลดลง รวมถึงปริมาณน้ำที่น้อยลงในแต่ละคำจะช่วยลดอาการสำลักได้ ปัจจุบันมีนวัตกรรมสารเพิ่มความหนืดที่ผสมได้ทั้งอาหารเหลวและของเหลวเพื่อช่วยให้ผู้ที่มีปัญหากลืนลำบากมีความปลอดภัยมากขึ้นและการใช้​เทคนิคช่วยกลืนคือจัดท่าให้ศีรษะและลำตัวของผู้สูงอายุสามารถชดเชยกลไกการกลืนที่บกพร่องไปเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการรับประทานอาหารทางปากมากขึ้นนอกจากนี้ ผู้สูงอายุควรดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรียลดความเสี่ยงของการเกิดปอดอักเสบจากการสำลักโดยพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอและเช็ดทำความสะอาดช่องปากและลิ้นหลังอาหารทุกมื้อดูแลเอาอาหารที่ค้างในปากออกให้หมดเพื่อเลี่ยงการเกิดเชื้อราในช่องปากและช่วยให้ผู้สูงอายุมีรอยยิ้มที่สดใส

แนะผู้สูงอายุดูแลช่องปาก ลดความเสี่ยงของการเกิดปอดอักเสบ