เกษียณแล้วสบายจริงหรือ?

เกษียณแล้วสบายจริงหรือ?

จิรวดี หอมเพชร CFP® นักวางแผนการเงิน บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต

ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งหมายความว่าเราจะมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งประชากรวัยทำงานก็ลดลงเนื่องมาจากการที่คนสมัยใหม่ไม่นิยมมีลูกมากเหมือนเมื่อก่อน

  เราคงได้ข้อมูลกันอยู่แล้วว่าจะเกษียณได้ควรมีเงินเท่าไร แต่ที่สำคัญคือจะนำไปบริหารจัดการลงทุนต่ออย่างไรหลังจากนั้นเพื่อให้พอใช้จริง ตัวอย่างเช่น

  คุณสมศรี เพิ่งเกษียณอายุจากงานประจำมาในวัย 60 ปี โดยมีเงินเก็บจำนวน 8 ล้านบาท และคุณสมศรีคิดว่าจะมีชีวิตยืนยาวไปจนถึง 90 ปี นั่นหมายความว่า 30 ปีหลังจากนี้เธอจะมีชีวิตอยู่ด้วยเงิน 8 ล้านบาทนี้เท่านั้น เราลองมาคำนวณกัน

1_28

ถ้าคุณสมศรีใช้เงินเดือนละ 30,000 บาท เงินจะหมดตอนที่คุณสมศรี อายุ 90 ปีพอดี ที่ผลตอบแทนราวๆ 2% แต่หากพิจารณาถึงไลฟ์สไตล์ของคนเกษียณอายุแล้ว น่าจะสามารถแบ่งช่วงอายุตามสุขภาพร่างกายได้ออกเป็น 3 ช่วง

  • ช่วงอายุ 60-70 ปี เรียกว่าวัยเกษียณตอนต้น หรือวัยกระเตาะของการเกษียณ ช่วงนี้ดี้ด้าสุด มีเงิน มีเวลา มีแรง
  • ช่วงอายุ 70-80 ปี เรียกว่าวัยเกษียณตอนกลาง ช่วงนี้ต้องเริ่มรักษาสุขภาพมากขึ้น
  • ช่วงอายุ 80-90 ปี เรียกว่าวัยเกษียณตอนปลาย ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นอีกทั้งเงินเฟ้อ ผ่านไป 20 ปี เงินที่จะใช้จ่ายต่อเดือนจึงเพิ่มมากขึ้น

2_45

ซึ่งหากแบ่งตามนี้แล้ว เราจะเห็นภาพการวางแผนเกษียณในแต่ละช่วงอายุตามความเหมาะสมได้มากยิ่งขึ้น การจัดพอร์ตการลงทุนเพื่อใช้หลังเกษียณจึงสามารถแบ่งเงินก้อนไปลงทุนตามช่วงเวลาดังกล่าวได้ตามตาราง และผลตอบแทนคาดหวัง (ข้อมูลนี้เป็นการนำเสนอแนวทางการจัดเงินเบื้องต้นตามตัวอย่างเท่านั้น)

3_28

หากมีการวางแผนไว้  เงินก้อนหลังเกษียณอายุสามารถนำมากระจายความเสี่ยงด้วยการกระจายการลงทุนและปรับเงินที่จะนำออกมาใช้จ่ายให้เหมาะสมกับช่วงอายุได้มากยิ่งขึ้น