ธปท. เผยศก.ไทยเดือนพ.ค.นี้ขยายตัวต่อเนื่องและกระจายตัวดีขึ้นทุกกลุ่ม

ธปท. เผยศก.ไทยเดือนพ.ค.นี้ขยายตัวต่อเนื่องและกระจายตัวดีขึ้นทุกกลุ่ม

ธปท. เผยศก.ไทยเดือนพ.ค.นี้ขยายตัวต่อเนื่อง และกระจายตัวดีขึ้นทุกกลุ่ม ย้ำเสถียรภาพยังแข็งแกร่ง

นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหาภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน พ.ค. 2561 ยังขยายตัวดีต่อเนื่องและมีการกระจายตัวที่ดีขึ้นทุกกลุ่มคล้องกับอุปสงค์ต่างประเทศขยายตัวดี การส่งออกขยายตัว 11.3% การนำเข้า 12.7% การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 5.6% การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 2.4% การเบิกจ่ายภาครัฐขยายตัว 11.8% การลงทุนภาครัฐขยายตัว 2.1%

ทั้งนี้ ส่งออกสินค้าที่ขยายตัวสูง สอดคล้องกับอุปสงค์ต่างประเทศที่ขยายตัวดีและราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศ ขยายตัวชัดเจนขึ้นต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในทุกหมวดการใช้จ่าย ส่งผลให้การผลิต ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสอดคล้องกัน ด้านการใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในทุกหมวด ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวชะลอลงบ้าง ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งขึ้นตามราคาน้้ามันขายปลีกในประเทศ ราคา ก๊าซหุงต้ม และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่สูงขึ้น ส้าหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลลดลงเล็กน้อยจาก เดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงตามการขาดดุลบริการ รายได้ และเงินโอนตามฤดูกาลส่งกลับ รายได้และเงินปันผลของธุรกิจต่างชาติ และรายรับการท่องเที่ยวที่ชะลอลง อย่างไรก็ดี ดุลการค้ายังขยายตัว ต่อเนื่องตามรายรับจากภาคการส่งออก ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายค่อนข้างสมดุล

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.49 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.07 ในเดือนก่อน ตามราคาน้้ามันขายปลีกในประเทศและราคาก๊าซหุงต้มที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้้ามันดิบใน ตลาดโลก รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่อยู่ที่ร้อยละ 0.80 เร่งขึ้นจากร้อยละ 0.64 ในเดือนก่อน ตามการปรับ ขึ้นราคาในหมวดอาหาร เคหสถาน และของใช้ส่วนตัว ส้าหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลลดลงเล็กน้อย จากเดือนก่อน ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงตามดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่ขาดดุลตามฤดูกาลส่งกลับ รายได้และเงินปันผลของธุรกิจต่างชาติ ประกอบกับรายรับการท่องเที่ยวลดลงตามจ้านวนนักท่องเที่ยวที่ ชะลอลง ขณะที่ดุลการค้ายังเกินดุลตามมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวดี ส้าหรับดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย ค่อนข้างสมดุล โดยด้านสินทรัพย์เป็นการไหลเข้าสุทธิจากการถอนเงินฝากของสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน (Other Depository Corporation: ODC) เพื่อปรับฐานะเงินตราต่างประเทศ และการถอนเงินฝากที่ครบ ก้าหนดของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund: FIF) เป็นส้าคัญ ขณะที่ด้าน หนี้สินเป็นการไหลออกสุทธิตามการขายสุทธิหลักทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติทั้งตราสารทุนและ ตราสารหนี้สอดคล้องกับทิศทางการลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่