วว.ผุดโรงงานสปีดวิจัยอาหารขึ้นห้าง

วว.ผุดโรงงานสปีดวิจัยอาหารขึ้นห้าง

“อำพลฟูดส์”ประเดิมใช้บริการโรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร ผลิตสตรอว์เบอร์รีอบแห้ง, น้ำลองกองและ ลองกองแช่อิ่ม ล็อตทดลองตลาดเพื่อดูกระแสตอบรับของผู้บริโภค

“อำพลฟูดส์”ประเดิมใช้บริการโรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร ผลิตสตรอว์เบอร์รีอบแห้ง, น้ำลองกองและ ลองกองแช่อิ่ม ล็อตทดลองตลาดเพื่อดูกระแสตอบรับของผู้บริโภค ก่อนตัดสินใจลงทุนผลิตล๊อตใหญ่“อำพลฟูดส์”ประเดิมใช้บริการโรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร ผลิตสตรอว์เบอร์รีอบแห้ง, น้ำลองกองและ ลองกองแช่อิ่ม ล็อตทดลองตลาดเพื่อดูกระแสตอบรับของผู้บริโภค ก่อนตัดสินใจลงทุนผลิตล๊อตใหญ่


  โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร หรือ ฟิสพ์ (Food Innovation Service Plant : FISP) หน่วยงานใหม่ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ใช้งบประมาณ 200 ล้านบาทลงทุนเครื่องจักร ระบบการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร สนับสนุนนโยบายประเทศไทย 4.0 ภายใต้โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทุกระดับมาใช้บริการเพื่อลดความเสี่ยง


ตอบโจทย์ผู้ประกอบการทุกระดับ


นายเกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัดผู้ผลิต จำหน่ายและส่งออกกะทิสำเร็จรูปแบรนด์ชาวเกาะ เครื่องแกงพร้อมปรุงรอยไทย กล่าวว่า โรงงานบริการนวัตกรรมอาหารจะเป็นประโยชน์ต่อเอสเอ็มอีจนถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ จากที่ผ่านมามีงานวิจัยจำนวนมากที่มีศักยภาพทั้งจาก วว.หรือ ที่อื่นแต่ไม่สามารถทดลองผลิตออกมาเป็นต้นแบบได้จริง เพราะต้นทุนสูง ความเสี่ยงสูง


โรงงานนี้จึงตอบโจทย์ของผู้ลงทุนว่า สามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบจำนวนหนึ่ง สำหรับผู้ที่สนใจตั้งโรงงานหรือทำธุรกิจ คือ จะได้เรียนรู้กระบวนการผลิตและได้ตัวสินค้าจริงที่จำหน่ายได้ เพราะเป็นโรงงานครบวงจรสามารถดำเนินการผลิตสินค้า ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก อย.เหมือนโรงงานขนาดใหญ่แต่จำนวนการผลิตไม่ได้มาก แต่สามารถนำไปทดสอบตลาด ทำให้ลดความเสี่ยงในการลงทุน เพราะทำสินค้า 10 ตัวโอกาสจะประสบความสำเร็จแค่ 1-2 ตัวเท่านั้น และที่สำคัญอีกอย่างคือ ช่วยให้งานวิจัยของนักวิชาการสามารถถ่ายทอดสู่เชิงพาณิชย์แทนที่จะอยู่บนหิ้ง ได้เร็วขึ้น จึงถือเป็นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดี


“จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเคยรับถ่ายทอดงานวิจัย แต่ต้องทิ้งไปเพราะเป็นวิจัยระดับห้องปฏิบัติการ ไม่ใช่ระดับต้นแบบ จึงมีความเสี่ยงและต้องลงทุนสูง หากเป็นเอสเอ็มอี หรือวิสาหกิจชุมชนยากที่นำไปต่อยอด โรงงานนี้จึงเป็นตัวช่วยที่ดี ผมตั้งใจว่าจะใช้ผลไใน 3จังหวัดชายแดนใต้มาเป็นวัตถุดิบ โดยใช้โรงงาน วว. แทน โรงงานอำพลฟูดส์ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลองกอง”


หากประสบความสำเร็จสามารถลงทุนตั้งโรงงานผลิตที่ปัตตานี ใช้วัตถุดิบในพื้นที จ้างแรงงานในพื้นที่ โดยอำพลฟูดส์ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ขณะเดียวกันโรงงานบริการนวัตกรรมอาหารนี้จะช่วยให้บริษัทสามารถนำงานวิจัยที่สนใจ มาทำการทดลองผลิตแทนที่จะทำที่โรงงานของบริษัท ซึ่งไม่คุ้มเพราะเครื่องจักรขนาดใหญ่กว่าที่นี่ 10 เท่า


ลดความเสี่ยง สร้างโอกาส


อุปกรณ์เครื่องจักรในฟิสพ์ ประกอบด้วย 1.สายการผลิตผลไม้แช่อิ่มอบแห้งมีกำลังการผลิต 1,200 กิโลกรัมต่อครั้ง 2.เครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งมีกำลังการผลิต200 กิโลกรัมต่อครั้ง 3.เครื่องทอดสุญญากาศมีกำลังการผลิต 15 กิโลกรัมต่อครั้ง และ 4. สายการผลิตเครื่องดื่มระบบพาสเจอไรซ์/ยูเอชที เครื่องจักรเพื่อการผลิตเครื่องดื่มบรรจุกล่องยูเอชทีมีกำลังการผลิต 1,000 ลิตรต่อชั่วโมง ส่วนเครื่องดื่มบรรจุขวดแก้ว 500 ลิตรต่อชั่วโมง


นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. กล่าวว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มั่นใจลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์ เพราะต้นทุนค่าเครื่องจักรราคาแพง อาทิ สายการผลิตเครื่องดื่มพาสเจอร์ไรซ์/ยูเอชทีและแช่อิ่มอบแห้งมีมูลค่า 100 ล้านบาท ทำให้ผลงานวิจัยที่ถ่ายทอดออกไปหยุดชะงัก ไม่สามารถต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ได้เป็นจำนวนมาก 
ดังนั้น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานครั้งนี้จะช่วยลดความเสี่ยงและสร้างโอกาสในการทำธุรกิจของทั้งผู้ประกอบการใหม่และผู้ประกอบการแปรรูปอาหารเดิม ที่ต้องการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ท้องตลาด


สำหรับเป้าหมายหลักของ โรงงานบริการนวัตกรรมอาหารหรือ ฟิสพ์(FISP) คือ การสร้างผู้ประกอบการหน้าใหม่ให้สามารถนำงานวิจัยไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น โดยใช้เงินทุนเริ่มต้นแค่หลักแสนบาทในสายการผลิตเครื่องดื่มและสายการผลิตแช่อิ่มอบแห้ง ส่วนเครื่องทอดสุญญากาศและเครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งจะราคาถูกกว่า คาดว่าจะสามารถผลักดันได้ปีละ 20-30 ราย ส่วนเป้าหมายรองคือค่าบริการในการรับผลิตปีแรก คาดว่า ประมาณ 10 ล้านบาท ไม่เกิน 5 ปีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 50 ล้านบาท


“ขณะนี้ได้ผลิตสตรอว์เบอร์รีอบแห้งที่ถ่ายทอดสิทธิให้กับอำพลฟูดส์ ส่วนน้ำข้าวกล้องงอกเสริมกาบ้าจากข้าวไรซ์เบอรี่ กำลังรอผู้สนใจติดต่อเข้ามาซื้อสิทธิ นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการที่สนใจเข้ามาติดต่อเข้ามาใช้บริการโรงงานกว่า 30 รายเพื่อทดลองผลิตสินค้าต้นแบบ” นายสายันต์ กล่าว