'นักภูมิศาสตร์' เผยหากฝนตกใน 'ถ้ำหลวง' บางช่วงจะมีน้ำท่วมมิดเพดาน

'นักภูมิศาสตร์' เผยหากฝนตกใน 'ถ้ำหลวง' บางช่วงจะมีน้ำท่วมมิดเพดาน

"นักภูมิศาสตร์" เผย เคยสำรวจถ้ำหลวงนางนอนเมื่อ 26 ปีที่แล้ว ช่วงเวลานี้น้ำท่วมทุกปี หากฝนตกน้ำในถ้ำบางช่วงจะท่วมมิดเพดาน เผยอาจมีโอกาสรอดถ้าอยู่โถงใหญ่

เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. สมาชิกผู้ใช้เฟซบุ๊กใช้ชื่อว่า Anukoon Sorn-ek ซึ่งเป็นนักภูมิศาสตร์ ได้โพสต์รูปภาพพร้อมข้อความระบุว่า จากประสบการณ์ที่เคยสำรวจถ้ำหลวงครั้งแรกเมื่อ 26 ปีที่แล้ว พบว่าถ้ำมีความลึกประมาณ 6 กิโลเมตร หลายส่วนของถ้ำมีเพดานต่ำ น้ำท่วมทุกปี และบางส่วนน้ำจะท่วมจนมิดเพดานระยะทางยาวเป็นร้อยเมตร พื้นที่บางส่วนของถ้ำ สามารถใช้เป็นทางลัดหลีกเลี่ยงน้ำท่วมได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด หากเด็ก ๆ อยู่โถงด้านใน จะมีโอกาสรอดชีวิตเพราะมีที่สูงพอให้หลบน้ำท่วมได้ แต่หากอยู่ในพื้นที่ช่วงกลางถ้ำ จะไม่มีพื้นที่ปลอดภัย

ทั้งนี้ ข้อมูลสำคัญสำหรับทีมค้นหาและช่วยเหลือเด็กสูญหายในถ้ำนะครับ ถ้ำนางนอนหลวงเป็นถ้ำที่มีทางเข้าออกทางเดียว ระบบระบายอากาศไม่ดี ถ้าจะใช้วิธีการสูบน้ำออกควรตั้งเครื่องสูบน้ำไว้ด้านนอก ไม่งั้นปริมาณ Co2 ภายในถ้ำจะสูงขึ้นทำให้การช่วยเหลือทำได้ยากและมีความเสี่ยงมากขึ้นนะครับ ตำแหน่งที่คาดว่าเด็ก ๆ น่าจะอยู่ (ตำแหน่งวงกลมสีแดง) ลึกที่สุดบริเวณปลายสุดของ Show cave น่าจะประมาณไม่เกิน 1 กม.จากปากถ้ำ ถ้าเลยนี้ไป Section ด้านในที่เป็นเส้นทางเข้า Monk's series เส้นทางแคบและซับซ้อนหาเจอยากมาก คิดว่าคนทั่วไปไม่น่าหาเส้นทางเข้าไปด้านในได้ครับ อีกอย่างในช่วงเวลานี้ ถ้าเด็ก ๆ ถอดรองเท้าและวางเป้ไว้ แสดงว่าพื้นถ้ำมีน้ำท่วมออกมาถึงด้านนอกแล้วแต่ยังไม่ลึกมาก นั่นหมายถึง Section ด้านในจะมีน้ำท่วมแล้ว มีโคลนมากเขาคงไม่เข้าไปลึกมากครับ อาจจะมีปัญหาเรื่องแสงสว่าง ไฟฉายดับ หรือไฟฉายมีน้อยเลยหาทางออกจากถ้ำไม่ได้และระดับน้ำขึ้นซะก่อน ส่วนอันตรายที่สุดสำหรับทีมดำน้ำที่จะดำเข้าไปเป็น Section แรกที่ผมวงสีน้ำเงินเอาไว้ เนื่องจากเส้นทางเข้าแคบต้องมุดเข้าไปและน้ำจะอัดผ่านช่องนี้ออกมา อันตรายสำหรับทีมที่ดำน้ำขาออกแต่ถ้าผ่านจุดนี้ไปได้แล้วเส้นทางด้านในจะกว้างขึ้นสามารถเดินได้ครับ ข้อมูลเผื่อทีมช่วยเหลือจะนำไปใช้ในการวางแผนได้นะครับ

35971483_675079382840535_3601313408927924224_n


สำหรับวิธีการช่วยเหลือ ต้องทำให้พื้นที่น้ำที่ท่วมเพดานถ้ำลดลงก่อน ด้วยลักษณะของถ้ำนางนอนหลวงลำธารที่เกิดขึ้นในถ้ำไม่ได้เกิดจากการไหลมาจากด้านนอก แต่เกิดจากฝนตกบนต้นน้ำและไหลซึมตามรอยแตกเข้ามา เวลาน้ำในถ้ำเริ่มขึ้นจะลงค่อนข้างยาก วิธีดีที่สุดจะต้องสูบน้ำออกให้มากกว่าปริมาณน้ำเข้า เราต้องคำนวนปริมาณน้ำที่ไหลในลำธารในถ้ำว่ามีปริมาณกี่ ลบ.ม.ต่อวินาที และระดมเครื่องสูบน้ำให้ปริมาณ น้ำสูบออกมากกว่าปริมาณน้ำธรรมชาติ พื้นที่ส่วนเพดานถ้ำที่จมอยู่ถึงจะลด แต่ต้องไม่มีปริมาณฝนตกบนภูเขามาเพิ่มปริมาณน้ำในถ้ำอีก ดังนั้นต้องรีบสูบน้ำออกในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้ช่วยเหลือ อย่าสูบน้ำออกโดยไม่มีหลักการครับ เวลาแต่ละนาทีที่ผ่านไปมันกลายเป็นเวลาที่สูญเปล่า ตอนนี้ประมาณ 36 ชม.หลังคนเข้าไปติดค้างอยู่ด้านใน เขายังรอดชีวิตและรอการช่วยเหลืออยู่ครับ ไม่รู้ว่าข้อมูลของผมจะถึงมือผู้บัญชาการเหตุการณ์ไม๊ ได้แต่ภาวนาให้นำไปใช้ในการช่วยเหลือครับ

36223478_675079359507204_2981049779821215744_n

ทั้งนี้ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Anukoon Sorn-ek ที่ระบุว่าเป็นนักภูมิศาสตร์ ยังเผยว่า ตอนนี้ข้อมูลของผมจะถึงมือผู้บัญชาการเหตุการณ์แล้วภาวนาให้ทุกคนปลอดภัยครับ ขอบคุณ Martin Illis นักสำรวจถ้ำจากอังกฤษที่ส่งข้อมูลแผนที่ถ้ำมาใช้ในการค้นหา และ Vern Unsworth ผู้เชี่ยวชาญเส้นทางในถ้ำนางนอนหลวงที่พาทีมออกค้นหาผู้ติดอยู่ในถ้ำ

36064518_675079436173863_1919564701562306560_n

ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก Anukoon Sorn-ek, สถานีตำรวจภูธร แม่สาย