วิจัยยืนยันถือศีลอด ไม่กระทบการให้นมลูก

วิจัยยืนยันถือศีลอด ไม่กระทบการให้นมลูก

ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ระบุ การถือศีลอดไม่กระทบต่อการให้นมลูก สามารถทำได้ เพราะคุณค่างทางสารอาหารไม่ได้ลดลง ขณะที่ทัศนคติคนไทยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้นมีอัตราการให้นมลูก 23 % แต่ยังมีอัตราต่ำสุด ในประเทศ อาเซียน

คุณแม่มุสลิมส่วนใหญ่จะสงสัยว่าในช่วงที่ถือศีลอดพวกเธอจะ สามารถให้นมลูกได้หรือไม่ ซึ่งในเรื่องนี้ อาจารย์ มีนะ สพสมัย กรรมการศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย บอกว่า คนทั่วไปอาจจะมองคน มุสลิมด้วยความเป็นห่วงว่าในช่วง ถือศีลอดไม่ได้รับประทานจะมีน้ำนมหรือไม่ ซึ่งในความจริงแล้วชาวมุสลิมจะประเมินตัวเองว่าช่วงไหนไหวหรือไม่ แต่ อย่างไรก็ตาม ร่างกายสามารถผลิตนมได้ทุกวัน และในช่วงถือศีลอดน้ำนมจะไม่ลดปริมาณลงจนทำให้ แม่สามารถให้นมลูกได้เหมือนเดิม

แต่ในช่วงที่ถือศีลอด น้ำนมที่ได้จะมีส่วนผสมที่แตกต่างกันจากเวลาปกติบ้าง หรืออาจจะมีสารอาหารลดลงไปบ้างแต่ก็เล็กน้อยเท่านั้น เมื่อกลับมารับประทานอาหารคุณค่าของน้ำนมก็กลับมาปกติอีกครั้ง

“ช่วงถือศีลอดสามารถให้นมลูกได้ตามปกติ เพียงแต่ในช่วงที่สามารถรับประทานได้ก็ให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้มากที่สุดสารอาหารก็จะกลับมาเหมือนเดิมไม่ได้มีปัญหากับการให้นมลูกเลย”

อย่างไรก็ตาม ศาสนาก็มีข้อยกเว้นสำหรับแม่ที่ไม่แข็งแรงเพียง สามารถถือสีลอดทดแทนได้ แต่ แม้หลายคนที่ศัทธาทีเข้มแข็งก็จะพยายามถือศีลอดให้ครบเดือนรอมฏอน เพราะเชื่อว่า ได้ผลบุญมากกว่าช่วงเวลาอื่น แต่อาจารย์มีนะ บอกว่า ส่วนใหญ่ผู้หญิงชาวมุสลิมในช่วงถือศีลอดจะให้ผมลูกตามปกติ เพียงแต่จะประเมินตัวเองว่าไหวหรือไม่

ส่วนสถานการณ์การให้นมแม่กับทารกในประเทศไทยขณะนี้ อาจารย์มีนะ กล่าวว่า มีทิศทางที่ดีขึ้น โดยมีทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีอัตราการให้นมแม่กับทารักเพิ่มขึ้นถึง23 % ขณะที่สถานที่ทำงาน ก็มีความพยายามอำนวยความสะดวกให้แม่ที่ต้องบีบดมเพื่อเก็บให้ลูกมากขึ้น

แต่ปัญหาที่ถือว่ายังเป็นอุปสรรค อาจารย์ มีนะ บอกว่า เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน 2-3 วันแรกหลังคลอดที่โรงพยาบาลยังมีความเชื่อว่าต้องแยกเด็กออกจากแม่ไปไว้ห้องเด็ก ซึ่งทำให้สัมผัสของแม่ในช่วงเปลี่ยนผ่านกับลูกขาดหายไปจนทำให้การให้นมลูกเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น

“ความจริงแล้วหลังคลอด แม่กับลูกควรจะอยู่ด้วยกันเลยไม่ควรจะแยกไปห้องเด็ก เพื่อทำให้เกิดความใกล้ชิดและทำให้การเปลี่ยนผ่านจากการคลอดไปสู่การให้นมทำได้ง่ายและดีขึ้น”

นอกจากนี้การให้นมลูกต้องต่อเนื่องไปจนถึง 2ขวบ ก่อนที่จะมีอาหารเสริมอื่นๆ เช่นนมวัว ซึ่งพบว่าการเข้าถึง “นม”ของเด็กหลังหย่านมแม่แล้ว ยังมีปัญหามาก สำหรับพ่อแม่ที่ขาดรายได้ ไม่มีเงินซื้อนมให้ลูกก่อนเข้าโรงเรียน ซึ่งจะมีนมโรงเรียนให้ดื่มอยู่แล้ว จึงไม่มีปัญหาในช่วงเวลานั้น

ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย รายงานสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนอยู่ที่ร้อยละ 23.1 แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับในอดีต แต่ยังอยู่ในอันดับต่ำที่สุดของประเทศสมาชิกในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยใน สปป.ลาว มีอัตราเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 40.4 % กัมพูชา 65.2 %อินโดนีเซีย 41.5 % เวียตนาม 24.3% ฟิลิปินส์ 34% มาเลเซีย 29 %

โดยปัญหาทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังไม่ประสบความสำเร็จ คือการขาดความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ถูกต้องในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประชาชน อิทธิพลการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ แต่ปัจจุบันสถานการณ์ดังกล่าวด้านทัศคติมีทิศทางที่ดีขึ้น