"ภาวะบาดเจ็บไขสันหลัง"เสี่ยงพิการ

"ภาวะบาดเจ็บไขสันหลัง"เสี่ยงพิการ

แพทย์ชี้บาดเจ็บไขสันหลังอาจทำให้พิการ เสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต ช่วยเหลือตนเองไม่ได้สถาบัน   สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการรักษาและฟื้นฟูให้กลับมาใช้ชีวิต และมีส่วนร่วมในสังคมได้ตามปกติ

      นพ.ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์  กล่าวว่า ไขสันหลังเป็นส่วนของระบบประสาทส่วนกลางที่เชื่อมต่อมาจากก้านสมอง ทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณประสาทสั่งการจากสมอง         ผ่านไปยังเส้นประสาทส่วนปลาย และรับสัญญาณประสาทจากเส้นประสาทรับความรู้สึกถ่ายทอดขึ้นไป   ยังสมอง หากไขสันหลังได้รับการบาดเจ็บอาจมาจากสาเหตุ อาทิ อุบัติเหตุ ตกจากที่สูง การถูกทำร้าย       เป็นต้น จะทำให้เกิดความพิการ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว  และการช่วยเหลือตนเองในการประกอบกิจวัตรประจำวัน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความบกพร่อง                ในการทำงานของระบบต่าง ๆ เช่น ปัญหาด้านระบบขับถ่าย  ทางเดินหายใจ กระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ปัญหาด้านผิวหนังที่เกิดจากแผลกดทับ เป็นต้น  ซึ่งผลกระทบจากความบกพร่อง   ของระบบต่าง ๆ นี้ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญส่งผลต่อภาวะสุขภาพของคนพิการในระยาว เช่น         การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อทางเดินหายใจ  การทำงานของไตเสื่อม อาการปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง ข้อต่อยึดติด อาจนำมาสู่การเสียชีวิตหรือเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นกับผู้ป่วยตลอดเวลาแต่สามารถป้องกันได้หากคนพิการและผู้ดูแลได้รับความรู้ในการดูแลตนเองอย่างถูกต้องตั้งแต่อยู่ในโรงพยาบาล และได้รับการติดตามภาวะสุขภาพ   อย่างต่อเนื่อง

            นพ.ศักรินทร์ วงศ์เลิศศิริ ผู้อำนวยการสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กล่าวว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังมีความสำคัญอย่างมากต่อการใช้ชีวิต สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ให้การดูแลรักษาโดยประเมินระดับการบาดเจ็บ         ซึ่งความสามารถในการฟื้นฟูของแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับระดับและความรุนแรงของการบาดเจ็บไขสันหลังเป็นสำคัญ หลังจากนั้นจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อให้สามารถดูแลตนเอง เช่น ฝึกการขับถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ การดูแลป้องกันแผลกดทับ การป้องกันและรักษาอาการปวด การเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น     ด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด และการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสามารถกลับเข้าสู่สังคม