เปิดเบื้องหลัง “ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์” เจรจาม็อบโรงไฟฟ้าถ่านหิน

เปิดเบื้องหลัง “ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์” เจรจาม็อบโรงไฟฟ้าถ่านหิน

การต่อสู้อันยาวนานของกลุ่มชาวบ้าน ในนามเครือข่ายปกป้อง สองฝั่งทะเลกระบี่ - เทพา ยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้สิ้นสุดลงเมื่อช่วงเช้าวันที่อังคาร 20ก.พ.2561 รวมเวลาของการชุมนุม 9 วัน

ที่กลุ่มผู้ชุมนุมปักหลักกดดัน อดอาหารประท้วง ที่ด้านหน้าองค์การสหประชาติ ก่อนหน้านี้ ยังมีแนวคิดที่จะยกระดับ อหิงสา-อารยะขัดขืน บุกทำเนียบรัฐบาลในวันประชุม ครม. แต่การชุมนุมต้องยุติลง หลังการเจรจา ที่อาจเรียกได้ว่า คือ การสงบศึก

เงื่อนไขภายใต้การสงบศึกครั้งนี้ที่น่าสนใจ คือ อะไรที่ทำให้ ระดับรัฐมนตรี พลังงาน ศิริ จิระพงษ์พันธ์พร้อมด้วย รองผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มาเจรจาด้วยตัวเอง ยังมี

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณะบดีคณะประมง ม.เกษตรฯ ในฐานะคณะกรรมการ ปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ที่เป็นหนึ่งในคนร่างหนังสือบันทึกข้อตกลงเจรจาสงบศึก ส่งผู้ชุมนุมกลับบ้าน ภายใต้เงื่อนไข 4 ประเด็น สำคัญ 1.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ต้องถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ  EHIA โรงไฟฟ้าทั้ง 2 โครงการ ออกจากการพิจารณาของสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมออกภายใน 3 วัน

2.ต้องร่วมกันจัดทำรายงานผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) หากได้ข้อสรุปว่าไม่เหมาะสม ต้องยกเลิกโครงการ มีกรอบระยะเวลา 9 เดือน 3.หากผล SEA ชี้ว่าโครงการเหมาะสม ต้องมีคนกลางเป็นผู้จัดทำ EHIA 4.ให้ทั้งสองฝ่ายถอนคดีความระหว่างกัน

หลังลงนามร่วมกันยังมีเสียงของผู้สนับสนุนที่ต้องการให้ฉีกสัญญาลงนาม แต่เรื่องนี้ได้รับคำยืนยันว่า จากดร.ธรณ์ ว่า ข้อตกลงร่วมกันไม่ใช่การล้มเลิกยุติโครงการ แต่เป็นการเริ่มต้นโดยใช้เครื่องมือลดความขัดแย้ง`ด้วยการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ หรือ SEA 

ที่เราต้องนำ SEA มาใช้เพราะเป็นเรื่องของพื้นที่ ข้อตกลงกับกลุ่มคัดค้าน ไม่ได้พูดเกี่ยวกับถ่านหิน ไม่ได้พูดว่า ไฟฟ้าพอ ไม่พอใช้ ไม่ได้พูดถึงว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน สะอาด หรือ สกปรก เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ แต่การที่ต้องนำ SEA มาใช้เพราะเป็นเรื่องของพื้นที่เมื่อคนพื้นที่มีข้อสงสัย ก็ควรนำกลไกลของพื้นที่มาตอบ แต่ถ้าเป็นเรื่องรวมทั้งประเทศสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มอีกหรือเปล่า หรือสร้างดรงไฟฟ้าหมุนเวียนอะไรก็ตามก็เป้นเรื่องของคนทั้งประเทศไม่ใช่คนกลุ่มใดกลุ่หนึ่งตัดสิน"

แม้จะมีภาระงานมาก แต่ได้รับการร้องขอจาก ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีพลังงานให้เข้ามาช่วยเพื่อหาทางออก ดร.ธรณ์ ก็รับอาสาเข้ามาทันที ด้วยเหตุผลเคยทำงานร่วมกันในฐานะสมาชิกปฎิรูปประเทศ และ ยังเป็นคนที่แก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่กระบี่อยู่แล้ว

การทำ SEA ไม่ใช่สิ่งใหม่ เพียงแต่กฎหมายยังอยู่ใน สนช. (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ)  การทำ SEA ยังเคยถูกนำมาใช้กับการก่อสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่ สนข .(สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร) เคยนำมาใช้ ทำมาหลายเดือนแล้ว การทำ SEA จะมีนักวิชาการทั้งหลายที่เป็นที่ยอมรับ และมีข้อดีกว่าการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ( EIA)  ที่ล็อคอยู่ บริษัทไปจ้างบริษัทนอกเหนือที่กำหนดไว้ไม่ได้ แต่การทำ SEA สามารถจ้างหน่วยงานกลางได้ เช่น มหาวิทยาลัยต่างๆ 2-3 แห่ง

ผลการทำ SEA ยังต้องเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ทั้งกลุ่มหนุน กลุ่มต้าน แต่กระบวนการหลักเกณฑ์คัดเลือก ให้เป็นที่ยอมรับจะใช้หลักเกณฑ์อย่างไร เรื่องนี้ได้รับการอธิบายว่าเหล่านี้จะต่างกับคณะกรรมการศึกษา EIA โดยจะเน้นการศึกษาทางวิชาการในการลงพื้นที่ ประเทสไทยมีนักวิชาการเก่งๆมากมาย ทั้งด้านระบบนิเวศ ด้านสัตว์ป่า ด้านทะเล

ส่วนในพื้นที่ ทั้งสงขลา และ กระบี่ หากให้ดูหรือจากข้อมูลของผู้คัดค้าน ดร.ธรณ์ ยังไม่ขอออกความเห็น แต่ย้ำว่าการทำ SEA ครั้งนี้ ไม่ได้พูดถึงว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินดีไม่ดี เพราะยังมีเวลาการศึกษา SEA นานถึง 9 เดือน 

อนาคตหากไม่มีโรงไฟฟ้าในถ่านหินภาคใต้เพิ่ม ดร.ธรณ์ บอกว่า ตอนนี้มีความพยายามเพิ่มสายส่งไฟฟ้าลงภาคใต้ เพราะใกล้เต็มแล้ว มีภาวะความเสี่ยงด้านความมั่นคงของพลังงาน ฉะนั้นอาจจะต้องเติมสายไฟเพิ่มเติมกระจายสายไฟในภาคใต้ ในอนาคตเราคงจะต้องมีโรงไฟฟ้า แต่โรงไฟฟ้ามีหลายแบบ ถ้าถ่านหินคนไม่สามารถยอมรับ ราคาได้ ก็ต้องเป็นถ่านหิน เพราะถ่านหินยังก็ราคาถูกที่สุดก็ต้องยอมรับ แต่ถ้าเกิดคนยอมรับราคาได้บ้าง ก็อาจเป็นก๊าซธรรมชาติ ซึ่งโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติไม่ค่อยมีปัญหา 

เราอยู่กับก๊าซมานานใช้ก๊าซ 60 % ผลิตไฟ แต่ถ้าหากอยากได้บริสุทธิ์จริงก็ต้องใช้พลังงานหมุนเวียน แน่นอนก็ต้องแพงขึ้นไป หรือ แม้การใช้โซลาร์ฟาร์ม ต้องใช้พื้นที่ ไม่ทำลายป่า เพราะต้องใช้พลังงานแสงอาทิตย์

การขับคลื่อนนับจากนี้ คือ กระทรวงพลังงาน ที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา แต่สิ่งที่ ดร.ธรณ์ ยังคงเน้นย้ำ คือ การทำ SEA ที่สำคัญ ไม่ใช่การเข้ามาพูดถึงโรงไฟฟ้าถ่านหินดีหรือไม่ดี จะเน้นในด้านการศึกษาความเหมาะสมในพื้นที่เป็นหลัก ทั้ง ระบบนิเวศน์ การประมง การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ การกัดเซาะชายฝั่ง การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลัก

แม้การเริ่มต้นใหม่เพื่อศึกษา โครงการโรงไฟฟ้าหิน อาจมองเป็นการยื้อเวลา แต่เบื้องหลังการเจรจาสงบศึก หนึ่งในน้ำหนักสำคัญที่ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องให้รีบ จบ” เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนของเหตุการณ์ คือ ความกังวลการยกระดับ กลุ่มคัดค้านเคลื่อนไปงานประชุมที่ยูเอ็นคงไม่ดีแน่” ที่จะประชุมเตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนการทบทวนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อ 7 (พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้) ณ องค์การสหประชาชาติ โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ และ มีตัวแทนหลากหลายชาติเข้าร่วม

9 เดือนนับจากนี้ ยังจับตาทุกความเคลื่อนไหว ทั้งกลุ่มหนุน กลุ่มต้าน นับเป็นอีกหนึ่งดครงการ โครงการบนเส้นทางความเห็นต่าง ที่อาจกลายเป็นความขัดแย้ง.ของคนในพื้นที่