นอร์ทเทิร์น 4.0 เทคโนโลยีเคลื่อนท้องถิ่น

นอร์ทเทิร์น 4.0 เทคโนโลยีเคลื่อนท้องถิ่น

“ฝุ่นควันในอากาศ-ของเหลือทิ้งทางการเกษตร” เป็นโจทย์หลักในการนำผลงานวิจัยเตาชีวมวลมาแก้ปัญหาในพื้นที่หมู่บ้านสันติสุข อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เกิดเป็นนวัตกรรมพื้นบ้านที่ สร้างรายได้และลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ รับลูกแนวทาง “นอร์ทเทิร์น4.0”(Northern 4.0)

อาศัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพิ่มคุณภาพชีวิตในพื้นที่ภาคเหนือ


ก่อนหน้านี้ กลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิดได้เข้ามาศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวชุมชนแม่ปั๋ง อ.พร้าว พบมีปัญหาี่ึ 3 ด้านคือ ภัยแล้ง หมอกควันและขยะเหลือทิ้ง โดยเฉพาะขยะกิ่งไม้ใบไม้ของต้นลำไยและมะม่วง หลังการตัดแต่งกิ่งก็ึ่จะถูกกำจัดด้วยการเผาทิ้ง ซึ่งสร้างปัญหาหมอกควันที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ


เตาชีวมวล ลดปัญหาหมอกควัน

วิสูตร อาสนวิจิตร ผู้ประสานงานกลุ่มเตาชีวมวลปั้นมือบ้านสันติสุข กล่าวว่า เมื่อต้องการให้คนในพื้นที่ปรับพฤติกรรมการกำจัดขยะชีวมวลแทนการเผาทิ้ง จึงตัดสินใจเดินเข้าหาสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภาคเหนือ และได้จับคู่ผลงานวิจัยที่พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเตาชีวมวลเชื้อเพลิงซังข้าวโพด ผลงานขององอาจ ส่องสี นักวิจัยอิสระ


เตาชีวมวลเชื้อเพลิงซังข้าวโพด มีหลักการทำงานแบบเตาแก๊สเชื้อเพลิงจากชีวมวลชนิดอากาศไหลขึ้น ซึ่งเป็นการเผาไหม้เชื้อเพลิงแบบจำกัดปริมาณอากาศให้เกิดความร้อนบางส่วนแล้วไปเล่นปฏิกิริยาต่อเนื่องอื่นๆ เพื่อเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งให้กลายเป็นแก๊สเชื้อเพลิง ได้แก่ คาร์บอนมอนนอกไซด์ ไฮโดรเจนและมีเทน


“โจทย์หลักในการถ่ายทอดเทคโนโลยีคือ ต้องทำได้ง่าย ราคาถูก ใช้วัสดุในพื้นที่และสร้างได้ในทุกพื้นที่ นักวิจัยจึงออกแบบเตาชีวมวลนี้ในแบบของการปั้นมือ เพื่อให้ทำขึ้นได้ง่าย และนำไปใช้งานโดยสามารถใช้เศษชีวมวลอย่างซังข้าวโพด เปลือกไม้ กิ่งและใบของต้นลำไย ต้นมะม่วง มาเป็นเชื้อเพลิงแทนการเผา่้ทิ้ง” นายวิสูตร กล่าว


ปัจจุบันมีชาวบ้านมาเรียนรู้เพื่อผลิตและจำหน่ายเตาชีวมวล 2 ราย ขณะที่กว่า 40% ของครัวเรือนในพื้นที่มีและใช้งานเตานี้ ซึ่งมีคุณสมบัติโดดเด่นคือ ความสามารถในการให้้พลังงานความร้อนได้มากกว่าเตาทั่วไป และลดใช้ฟืนหรือถ่านได้กว่าครึ่งหนึ่ง


จากที่เคยใช้ฟืน 1 กระสอบทอดแคปหมูก็เหลือเพียงครึ่งกระสอบ ในขณะเดียวกันก็เปลี่ยนพฤติกรรมการเผาเป็นการเก็บเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านที่รับถ่ายทอดเทคโนโลยีรากหญ้าในการผลิตเตาชีวมวลออกจำหน่าย


“ปัจจุบันความต้องการเตานี้สำหรับใช้ในครัวเรือนยังมีอีกมาก ทำให้ชุมชนใกล้เคียงหมู่บ้านสันติสุขสนใจที่จะรับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเตาชีวมวลนี้ ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการร้านหมูกะทะสนใจในคุณสมบัติที่ี่ให้ความร้อนสูงกว่าเตาทั่วไป แต่อาจต้องปรับให้มีขนาดเล็กลง” วิสูตร กล่าว