แกนนำMBK39 จ่อยื่นศาลรธน. พิทักษ์สิทธิเสรีภาพปชช. รวมตัวทำกิจกรรม

แกนนำMBK39 จ่อยื่นศาลรธน. พิทักษ์สิทธิเสรีภาพปชช. รวมตัวทำกิจกรรม

4แกนนำกลุ่ม MBK39 รับทราบข้อกล่าวหาแล้ว ยันไม่ได้ทำผิด จ่อรวมตัวยื่นศาลตีความคำสั่งคสช.ขัดรธน. ด้าน "เนติวิทย์" ย้ำไม่ได้ยุยงปชช.​ต้านคสช. แค่ร่วมกิจกรรม-แนะปชช.ร่วมตรวจสอบรัฐบาล

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่สถานีตำรวนครบาลปทุมวัน ประชาชน ในนามกลุ่ม MBK39 ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการชุมนุมในที่สาธารณะ, ขัดคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 53/2558 ว่าด้วยการห้ามชุมนุมทางการเมือง และแกนนำกลุ่ม จำนวน 4 คน ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาเดียวกัน และมีข้อหาเพิ่มเติมคือ มีพฤติกรรมยุยงปลุกปั่น ตามประมวลอาญา มาตรา 116 หลังทำกิจกรรมเรียกร้องการเลือกตั้ง ที่บริเวณลานสกายวอร์ก ห้างสรรพสินค้าเอ็มบีเค เมื่อวันที่ 27 มกราคม ได้รวมตัวเพื่อเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกจากทางเจ้าหน้าที่เป็นครั้งที่ 2

แกนนำMBK39 จ่อยื่นศาลรธน. พิทักษ์สิทธิเสรีภาพปชช. รวมตัวทำกิจกรรม

โดยแกนนำที่เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหานั้น มีเพียง 4 คนจากทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย น.ส.ณัฎฐา มหัทธนา, นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล, นายสมบัติ บุญงามอนงค์ และ นายวีระ สมความคิด ซึ่งมีแนวทางต่อสู้คดีดังกล่าวคือปฏิเสธข้อกล่าวหา และยืนยันการแสดงความเห็นเป็นสิทธิ์ที่ทำได้ และเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญ หมวดว่าด้วยสิทธิเสรีภาพรองรับ

ทั้งนี้ นายสมบัติ กล่าวว่า ตนรู้สึกตลก ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหาตนในรอบ 2 ในข้อหาที่ร้ายแรง คือ ทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 การยุยงปลุกปั่น ทั้งที่ในวันดังกล่าวตนไม่มีพฤติกรรมตามข้อกล่าวหา อาจจะมีเพียงการยืนให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนเท่านั้น และหากเจ้าหน้าที่นำหลักฐานว่าด้วยการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนประกอบเป็นพฤติกรรมและแจ้งความดำเนินคดีกับตน เท่ากับว่าบุคคลที่แสดงความเห็นผ่านสื่อมวลชนถือว่ากระทำความผิดทั้งสิ้น

แกนนำMBK39 จ่อยื่นศาลรธน. พิทักษ์สิทธิเสรีภาพปชช. รวมตัวทำกิจกรรม

"เรื่องนี้ตลก​ที่เจ้าหน้าที่แจ้งความกับผม ทั้งที่วันนั้นผมไปแค่สังเกตการณ์อยู่ห่างๆ ไม่ได้ขึ้นปราศัย หรือกล่าวใดๆ กับผู้ร่วมกิจกรรม ซึ่งวันนี้ตนจะขอดูหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ที่นำมากล่าวหาผมด้วย และหากผมถูกดำเนินคดี และต้องไปสู่ศาล ผมพร้อมจะยื่นประกันตัว โดยนำหลักทรัพย์ที่ขอยืมจากเพื่อนมาดำเนินการ" นายสมบัติ กล่าว

นายสมบัติ ให้ความเห็นด้วยว่าการแจ้งข้อกล่าวหากับประชาชนที่ร่วมกิจกรรม ทั้ง 30 คนนั้น ถือเป็นพฤติกรรมสะท้อนความหวาดกลัวของเจ้าหน้าที่รัฐ และรัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และเป็นการคุกคามให้ประชาชนหวาดกลัว ไม่กล้าจะทำกิจกรรมใดๆ รวมถึงกิจกรรมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์​ ที่ประชาชนจะนัดรวมตัวเพื่อสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์​ จันโอชา นายกฯ​และหัวหน้า คสช. ให้จัดการเลือกตั้งตามคำสัญญา เดือนพฤศจิกายน 2561 ดังนั้นประเด็นที่เกิดขึ้นตนมองว่าการใช้คำสั่ง คสช. หรืออำนาจรัฐ เพื่อยับยั้งสิทธิของประชาชนในการแสดงความเห็นหรือรวมกลุ่ม นั้นขัดกับรัฐธรรมนูญ ตนและผู้ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาได้หารือเบื้องต้นว่าจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหลังจากที่กระบวนการในวันนี้แล้วเสร็จและเป็นข้อยุติ

แกนนำMBK39 จ่อยื่นศาลรธน. พิทักษ์สิทธิเสรีภาพปชช. รวมตัวทำกิจกรรม

ขณะที่นายเนติวิทย์ กล่าวว่า ตนแปลกใจที่เจ้าหน้าที่แจ้งความดำเนินคดีกับตนเอง ทั้งท่ีในวันที่จัดกิจกรรมตนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ เหมือนที่ทำมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามตนยอมรับว่าในวันที่ 27 มกราคม ตนได้กล่าวปราศรัยเพียงสั้นๆ ในลักษณะของการแสดงความคิดเห็นให้ประชาชนร่วมการตรวจสอบพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ใช่การยั่วยุ ให้ประชาชนต่อต้านหรือคัดค้านกลุ่มของรัฐบาลแต่อย่างใด ทั้งนี้ตนมองว่าการแจ้งความดำเนินคดีกับประชาชน สะท้อนความกลัวของรัฐบาล คสช. ต่อการตรวจสอบจากประชาชนและทำให้เข้าใจได้ว่า รัฐบาลกำลังปกปิดพฤติกรรมทุจริตที่สังคมตั้งข้อสังเกต

"การดำเนินคดีกับผม ทั้งที่ผมใช้สิทธิโดยชอบตามรัฐธรรมนูญ ถือเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง อีกทั้งยังทำให้กระทบการเรียนการสอบด้วย ขณะที่ทางมหาวิทยาลัยและคณะ ได้แสดงความกังวลกับกระบวนการทางกฎหมาย แต่ยังสนับสนุนให้ผมใช้สิทธิอันชอบธรรมต่อไป" นายเนติวิทย์ กล่าว

แกนนำMBK39 จ่อยื่นศาลรธน. พิทักษ์สิทธิเสรีภาพปชช. รวมตัวทำกิจกรรม

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าก่อนที่แกนนำและประชาชนที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาจะเดินทางเข้าไปรับทราบข้อกล่าวหา นั้น มีตัวแทนนักวิชาการ จากเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง นำโดย นางเบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารย์สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดา ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ คสช.​ถอนแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มประชาชน และแกนนำ กลุ่มเรียกร้องการเลือกตั้ง รวมถึงประชาชนพื้นที่ จ.พะเยา จำนวน 14 คนที่สนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มวีวอร์ค และยุติใช้มาตรการทางกฎหมายคุกคามการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชน รวมถึงยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่กระทบต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญรองรับ และเร่งคืนประชาธิปไตยให้กับประชาชนโดยเร็ว

แกนนำMBK39 จ่อยื่นศาลรธน. พิทักษ์สิทธิเสรีภาพปชช. รวมตัวทำกิจกรรม

นางเบจรัตน์ อ่านแถลงการณ์ตอนหนึ่งด้วยว่า การใช้มาตรการทางกฎหมายของผุ้มีอำนาจรัฐกับประชาชนที่ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ถือเป็นการใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ และถือเป็นพฤติกรรมที่ คสช.​ต้องการปกปิด การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมทางด้านนโยบาย ขณะที่การช่วยเหลือกลุ่มเอ็มบีเค39 นั้น ตัวแทนนักวิชาการ 60 คนจาก 15 มหาวิทยาลัยพร้อมนำตำแหน่งยื่นประกันตัวในชั้นศาลหากการดำเนินคดีไปสู่จุดดังกล่าว

แกนนำMBK39 จ่อยื่นศาลรธน. พิทักษ์สิทธิเสรีภาพปชช. รวมตัวทำกิจกรรม

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ในการเข้ารับทราบข้อกล่าวหาดังกล่าวมี นักกฎหมายและทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน​, สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ, เครือข่ายโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) เข้าช่วยเหลือประชาชน พร้อมกับสังเกตการณ์การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย นอกจากนั้นพบว่ามีนักเคลื่อนไหว อาทิ น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เข้าสังเกตการณ์ดังกล่าว พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า การแจ้งความดำเนินคดีกับประชาชนที่รวมตัวทำกิจกรรมนั้นไม่ถือเป็นผลดีกับรัฐบาล คสช.