นักวิจัยม.เกษตร พบ 'ช้างงาเอก' พืชชนิดใหม่ของโลก

นักวิจัยม.เกษตร พบ 'ช้างงาเอก' พืชชนิดใหม่ของโลก

นักวิจัย ม.เกษตร พบ “ช้างงาเอก” พืชชนิดใหม่ของโลก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ค้นพบ “ช้างงาเอก” พืชชนิดใหม่ของโลก เป็นพืชเป็นไม้พุ่มสูง 1-2 ม. กิ่งเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก เป็นสี่เหลี่ยม เปลือกเรียบ เมื่ออ่อน สีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลเข้ม มักมีช่องอากาศ เปลือกชั้นในสีเหลืองอ่อน ส่วนต่าง ๆ มียางสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ตายอดอยู่ในซอกก้านใบที่ปลายกิ่ง

8bbddicak68hkcabbh5ab

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปใบหอกแกมรูปไข่ รูปไข่ หรือรูปรี ปลายเรียวแหลมหรือแหลม แข็ง โคนเว้ากึ่งรูปหัวใจ ขอบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย หนา แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ช่วงปลายพับหากันรูปคล้ายอักษรวี มักบิดและโค้งลง ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีเขียวอ่อน เกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน เส้นกลางใบเป็นร่องตื้นทางด้านบน เป็นสันนูนทางด้านล่าง เส้นแขนงใบข้างละ 12-20 เส้น ปลายโค้งจดกับเส้นถัดไปใกล้ขอบใบเป็นเส้นขอบใน เส้นใบย่อยแบบร่างแห เห็นชัดทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 0.2-1 ซม. มีรอยย่นตามขวาง ใบอ่อนสีแดง มีรสเปรี้ยว

hbb55bi68ah8kig8a95ek

ดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกแบบช่อกระจุกสั้น ออกตามซอกใบที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบที่ใบร่วงแล้ว ดอกตูมมีกลีบเลี้ยงสีชมพูหรือสีชมพูอมเหลืองอ่อน ดอกบานสีเหลืองอ่อนหรือสีนวล เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8-1 ซม. ก้านดอกสั้น ใบประดับรูปสามเหลี่ยมแคบหรือรูปสามเหลี่ยม กว้าง 1.5-2.5 มม. ยาว 0.2-1 ซม. ค่อนข้างหนา กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 4 กลีบ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ค่อนข้างหนา กลีบเลี้ยงรูปไข่กลับหรือรูปรี กว้าง 2.5-3.5 มม. ยาว 3-6 มม. เป็นแอ่ง กลีบดอกรูปไข่กลับกว้าง กว้าง 3.5-7 มม. ยาว 5.5-8.5 มม. ปลายมนกลม โค้งออกทางด้านนอก ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก เชื่อมติดกันเป็น 4 กลุ่ม (รวมกันเป็นกลุ่มเค้าโครงรูปสี่เหลี่ยม) ก้านชูอับเรณูสั้น โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก อับเรณูสั้น มี 2 พู ไม่มีเพศเมียเป็นหมัน ดอกเพศเมียมีเกสรเพศผู้เป็นหมันเชื่อมติดกันเป็น 4 กลุ่ม รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปทรงกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.3 มม. ยาว 1.5-2 มม. มี 4-6 พู มี 4-6 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมียสั้นและหนา ยอดเกสรเพศเมียรูปครึ่งทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3.5 มม. ยาว 1.5-2 มม. มีปุ่มเล็ก

ผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปทรงกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. ยาว 5-7 มม. มี 4-6 พู เห็นชัด ผลดิบสีเขียว มีจุดสีขาว สุกสีแดง เกลี้ยง เป็นมัน มีกลีบเลี้ยงติดทน ยอดเกสรเพศเมียติดทน แบน รูปวงกลม เป็นแฉกตามรัศมีหรือไม่เป็นแฉก เมล็ด 4-6 เมล็ด เปลือกเมล็ดมีเยื่อหุ้ม อาจมีเมล็ดฝ่อ

"ช้างงาเอก" กระจายพันธุ์ในประเทศทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดนครพนม พบตามป่าดิบแล้งและชายป่าดิบแล้ง ที่สูงจากระดับทะเล 150-220 ม. ออกดอกเดือนธันวาคมถึงกรกฎาคม เป็นผลเดือนธันวาคมถึงเมษายน มักเป็นผลเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ในต่างประเทศคาดว่าพบที่ลาว ช้างงาเอกมีกลุ่มประชากรขนาดเล็ก ชาวบ้านใช้รากเป็นพืชสมุนไพร นำไปดองเหล้า มีความเชื่อว่าเป็นยาบำรุงกำลัง เป็นสาเหตุทำให้จำนวนประชากรลดลง จึงจัดอยู่ในสถานภาพพืชมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์