คนนับหมื่น แห่รับยารักษามะเร็ง 'หมอแสง'

คนนับหมื่น แห่รับยารักษามะเร็ง 'หมอแสง'

วันสุดท้ายการลงบันทึกประจำวัน คนนับหมื่นแห่รับยารักษามะเร็ง "หมอแสง"

วันนี้ (2 ธ.ค.60) บรรยากาศที่ สภ.เมืองปราจีนบุรี มีประชาชนแห่มาลงบันทึกประจำวันจำนวนมาก มีทั้งผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยเก่า ทำให้บริเวณลานจอดรถบนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ มีรถมาจอดจนเต็มพื้นที่จนทำให้ รถที่มาในช่วงสายต้องไปจอดบริเวณลานจอดจดบ้านพักเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม สภ.เมืองปราจีนบุรีวันนี้ (2 ธ.ค.60) บรรยากาศที่ สภ.เมืองปราจีนบุรี มีประชาชนแห่มาลงบันทึกประจำวันจำนวนมาก มีทั้งผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยเก่า ทำให้บริเวณลานจอดรถบนเนื้อที่กว่า 10 ไร่ มีรถมาจอดจนเต็มพื้นที่จนทำให้ รถที่มาในช่วงสายต้องไปจอดบริเวณลานจอดจดบ้านพักเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม สภ.เมืองปราจีนบุรี

จากยอดผู้มาขอลงบันทึกประจำวันตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2560 จำนวนกว่า 8,000 ราย ซึ่งคาดว่าวันนี้จะมีผู้ป่วยมาขอรับยารวมทั้งสิ้นกว่าหมื่นราย ส่วนประชาชนที่ได้รับบันทึกประจำวันไปแล้ว เริ่มเดินทางไปยังบ้านของนายแสงชัย แหเลิศตระกูล เพื่อต้องการเข้าคิวรับยาลำดับต้น ๆ เนื่องจากทุกคนเกรงว่า จะไม่มียาเพียงพอที่จะแจกจ่าย

นายแพทย์ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ที่มาครั้งนี้เพื่อมาเก็บข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย.- 1 ธ.ค. 60 ส่วนที่สอง คือมาร่วมสังเกตการณ์การเก็บตัวอย่างกับคุณแสงชัย ให้กับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ในการนำไปตรวจตรวจวิเคราะห์ในเรื่องฤทธิ์การต้านเซลมะเร็ง หลังจากทีมวิจัย โดย ดร.ภญ. มณฑกา ธีรชัยสกุล มาเก็บข้อมูลประมาณ 3 วัน ตั้งแต่ต้นเดือนจนถึงเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. รวมแล้วประมาณ 5,500 คน ทีมงานเริ่มมาเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย.โดยดึงคนที่เป็นมะเร็งตัวจริงที่จะมาขอรับยาที่บ้านหมอแสงด้วยตนเอง ทางทีมวิจัยก็จะดึงมาสัมภาษณ์

นายแพทย์ปราโมทย์ กล่าวว่า ทีมวิจัยจากกรมการแพทย์แผนไทย 8 คน ในพื้นที่ 8-9 คน รวมสิบกว่าคน เป็นแพทย์ปัจจุบัน เภสัชกร นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ มาช่วยกันทำ ซึ่งได้ข้อมูลว่า ในจำนวนผู้ที่มาขอรับยา 200 คน เป็นผู้ป่วย 80% ที่เป็นมะเร็งโดยตรง ที่ยังไม่เคยมาอีก 20 % ส่วนผู้ป่วยเก่าอาจมาค่ำ ๆ เพราะรู้วิธีการที่จะมารับยาแล้วทางด้าน ดร.ภญ. มณฑกา ธีรชัยสกุล ผอ.สถาบันการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า จากกการเก็บข้อมูล 100% แบ่งเป็น 60% คือคนไข้ที่ไม่เข้ากระบวนการรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน 40% เป็นคนไข้ที่รักษาควบคู่กันไป และ50% เป็นคนไข้ที่รักษาแพทย์ปัจจุบันครบแล้วอยู่ในระหว่างการติดตามผลและอยากได้ตัวช่วยมาบำรุงร่างกาย 20% คือกลุ่มที่รอการรักษายังไม่เข้ากระบวนการรักษา 30% คือคนที่ไม่ได้รักษาแผนปัจจุบัน เนื่องจากเหตุผล 3 ประการ คือ กลัวผลข้างเคียง ประการที่สอง ไม่แน่ใจว่ารักษาแล้วจะหายหรือไม่ กลุ่มสุดท้ายคือ เรื่องค่าใช้จ่าย

หลังจากนั้นทีมวิจัยได้เดินทางไปยังบ้านของคุณแสงชัย แหเลิศตระกูล เพื่อเก็บตัวอย่างยาสมุนไพรไปตรวจวิเคราะห์ โดยนำไปส่งให้สถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ แห่งละ 100 เม็ดโดยสุ่มเก็บตัวอย่างจาก จำนวนยาที่ผลิตสำหรับแจกให้ผู้ป่วยในวันที่ 3 ธ.ค.