BTW

BTW

Bottom Out รอ Olympic 2020 / เหมืองลิเทียม / โรงไฟฟ้าในประเทศหนุน

ประเด็นสำคัญ:

  • BTW รับเหมางาน Fabricate ด้วยมาตรฐาน H-Grade และงาน Module : บมจ.บีที เวลธ์ อินดัสตรีส์ เป็นผู้รับเหมางาน 1) โครงสร้างเหล็ก (Steel Fabrication) ให้แก่โรงไฟฟ้า และ 2) งานแปรรูปและประกอบกลุ่มชิ้นงานขนาดใหญ่ (Modularization) โดยมีโรงงานผลิต Module ติดกับท่าเรือสัตหีบทำให้สามารถขนส่งสินค้าได้อย่างสะดวก ทั้งนี้ สัดส่วนรายได้ในปัจจุบันแบ่งเป็นงานโครงสร้างเหล็กราว 80 – 90% ส่วนงาน Module ที่ 10 – 20% ปัจจุบันได้รับการรับรองคุณภาพ JIS H-Grade จาก JSAO เมื่อเดือน ก.ค. 60 นับเป็นผู้ประกอบการ 1 ใน 3 รายในไทยที่ได้รับการรับรอง เป็นใบเบิกทางให้ BTW สามารถเข้ารับงาน Fabricate ในประเทศญี่ปุ่นได้
  • ช่วงต่ำสุดของบริษัทได้ผ่านพ้นไปแล้ว หลัง Backlog ใหม่เป็นมาร์จินปกติล้วน : ผลการดำเนินงานในช่วง 1H60 ของ BTW เผชิญกับความผันผวนรุนแรง กล่าวคือ 1Q60 กำไร 79 ลบ. 2Q60 ขาดทุน 112.53 ลบ. เกิดจาก 1) Backlog ณ จุดเริ่มต้นของปี 60 (สิ้นปี 59) ที่ 662 ลบ. ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 1,290 ลบ.จากการรับรู้งาน EPC โรงไฟฟ้าไปค่อนข้างเยอะในงวด 4Q59 และ 2) งานส่วนใหญ่ที่มีการรับรู้จาก Backlog ณ สิ้นปี 59 ดังกล่าว มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ต่ำเนื่องจากในช่วงที่เข้าไป Bidding งานดังกล่าวมีการแข่งขันด้านราคาที่สูง และมีการปรับประมาณการต้นทุนเพื่อเร่งส่งมอบงาน EPC งวดสุดท้าย แต่ทั้งนี้ 3Q60 ของ บริษัทฯพลิกเป็นกำไรสุทธิที่ 29.68 ล้านบาท เนื่องจากเริ่มรับรู้รายได้กลุ่มงานที่มีอัตรากำไรสูงซึ่งมาจากงานใหม่ๆตั้งแต่ช่วงต้นปี อาทิ งานแปรรูปชิ้นงานเหล็กโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม Alba
  • Outlook ไตรมาสสุดท้ายปี 60 ได้งาน Module หนุน ส่วนปี 61 ทยอยได้ประโยชน์จาก Backlog เดิมและงานจากญี่ปุ่น : แนวโน้ม 4Q60 และปี 61 น่าจะได้ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) การเข้ารับงาน Module ล่าสุดดจากประเทศ ออสเตรเลีย (อัตรากำไรขั้นต้นสูงกว่าเมื่อเทียบกับ Fabricate ที่ราว 10%) มูลค่างาน3 ล้านบาท รับรู้รายได้ตั้งแต่ 4Q60 – 1Q61 2) และ 2) อัตรากำไรของงาน Fabricate ที่เริ่มกลับมาสู่ระดับปกติ กล่าวคือ Backlog ณ สิ้นงวด 3Q60 เป็นกลุ่มงานที่มีอัตรากำไนสูงเมื่อเทียบกับงานที่ได้รับในช่วง 2 – 3 ไตรมาสก่อนหน้า นอกจากนี้ การได้รับการยอมรับจากประเทศญี่ปุ่นมากขึ้นทำให้ BTW เปิดโอกาสเข้าสู่ตลาดงานใหญ่ คือ Olympic 2020 ซึ่งจะจัดขึ้นกลางปี 63 และมีงาน Fabricate ในระดับสูง ปัจจุบันกำลังผ่านช่วงการออกแบบ โดยจะทยอยเข้าสู่ช่วงการก่อสร้างจริงในปี 61 และเข้มข้นมากขึ้นในปี 62 ต่อเนื่องถึง 1Q63
  • Potential Project เป็นเสน่ห์ของบริษัททั้งงาน Module เหมืองลีเทียม และการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศไทยตามแผนพลังงานของชาติ: ในส่วนของงาน Module แม้เริ่มส่งสัญญาณการลงทุนของผู้ประกอบการรายหลักต่อการขยายเหมือง และปรับปรุง แต่ยังไม่กลับมาแข็งแกร่งดั่งเช่นในอดีต เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโทคโนโลยีที่รวดเร็วมากขึ้น อย่างไรก็ตามเหมืองลีเทียมทั่วโลกที่ปัจจุบันมีเจ้าของสัมปทานเป็นที่เรียบร้อยนั้น กำลังก้าวเข้าสู่ Phase ของการลงทุนและน่าจะเป็นโอกาสเพิ่มเติมแก่การผ่านจุดต่ำสุดในช่วง 1H60 นอกจากนี้ แผนพลังงานทดแทนในอีกราว 19 ปีข้างหน้า ยังมีความต้องการสูงกว่าในปัจจุบันถึง 2 เท่าตัว หนุนให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง หล่อเลี้ยง Backlog ของบริษัทในอนาคต
  • ความเห็น : 3Q60 และการรับงาน Module ล่าสุด เป็นสัญญาณเริ่มต้นของการผ่านจุดต่ำสุดของ BTW ไปเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวนับจากนี้ยังไม่มีสิ่งยืนยันอย่างชัดเจน เบื้องต้นฝ่ายวิจัยจึงประเมินการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปนับจากนี้ไปอีกราว 1 – 2 ปี แต่หากผู้ที่ได้สัมปทานเหมืองลิเทียมทั่วโลก เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนในการเข้าลงทุน Module เชื่อว่า BTW มีความพร้อมที่จะเป็น 1 ในผู้เข้าประมูลงานเนื่องจาก งานดังกล่าวแทบไม่มีความแตกต่างกับงาน Module ของเหมืองแร่เหล็กหรือถ่านหินที่ BTW เคยทำมาในอดีต ทั้งนี้ จึงแนะนำให้ติดตามสถานการณ์การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินความน่าสนใจในการซื้อลงทุนอีกครั้ง