5จี จุดพลิกผัน เชื่อมต่อมนุษย์-เครื่องจักร

5จี จุดพลิกผัน เชื่อมต่อมนุษย์-เครื่องจักร

ณ เวลานี้ได้ถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด ในยุคใหม่ของการเชื่อมต่อที่เรียกว่าอุตสาหกรรม 4.0

โรงงานมีวิวัฒนาการมาจากยุคอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 จนมาสู่ระบบอัตโนมัติในปัจจุบัน และจากโรงงานที่ใช้พลังไอน้ำกลายมาเป็นการใช้กระแสไฟฟ้าในการผลิต ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพลิกโฉมอย่างมากแล้วในวันนี้ ณ เวลานี้ได้ถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด โดยถือได้ว่าเป็นยุคใหม่ของการเชื่อมต่อที่เรียกว่าอุตสาหกรรม 4.0

จากเอ็มทูเอ็มสู่เอ็มทูเอช

การสื่อสารระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร (เอ็มทูเอ็ม) และเครื่องจักรกับมนุษย์ (เอ็มทูเอช) จะเชื่อมโยงทั้งเครื่องจักร กระบวนการผลิต และจอควบคุมของโรงงานแห่งอนาคต และเทคโนโลยี 5จี จะเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพได้อย่างไม่น่าเชื่อ

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ในยุค 5จี หุ่นยนต์และมนุษย์ ที่จะทำงานร่วมกันในโรงงาน จะเป็นมากกว่ากลุ่มของสายการผลิตที่มีเครื่องจักร มนุษย์ และหุ่นยนต์เท่านั้น แต่ต่างฝ่ายต่างก็มีบทบาทแตกต่างกัน ที่ทำงานร่วมกัน พื้นโรงงานจะเป็นแบบไดนามิก และปรับแต่งใหม่ได้ เพื่อให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตขึ้นหุ่นยนต์ที่มีเซนเซอร์นำทางจะสามารถเคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งได้ โดยไม่มีการชนกันด้วยความเร็วในการส่งข้อมูลของ 5จี ที่เร็วกว่า 4จี ถึง 100 เท่า และมีความหน่วงเวลา (ดีเลย์) ต่ำกว่า 1 มิลลิวินาที

หุ่นยนต์จะเชื่อมต่อเข้ากับระบบคลาวด์ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อความปลอดภัยและสั่งการ ซึ่ง 5จี ไม่ได้สำคัญแค่เรื่องความเร็ว แต่จะมีการเพิ่มจำนวนเครือข่าย ที่สามารถเชื่อมต่อกันได้มากขึ้นและสามารถรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (ไอโอที) ได้ถึงล้านล้านอุปกรณ์ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน 5จี ตามโครงการริเริ่มร่วมกันของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสหภาพยุโรป

รูปแบบโรงงานอนาคต

5จี จะทำงานได้ดีสำหรับทั้งการสื่อสารในระยะสั้นและระยะไกล สนับสนุนคุณสมบัติด้านความปลอดภัย และใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยทางเทคนิคแล้ว 5จี จะสามารถใช้งานได้โดยใช้พลังงานเพียง 1 ใน 1,000 ของพลังงานที่ใช้โดย 4จี และแบตเตอรี่มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเดิม ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในเรื่องการบำรุงรักษาและเหมาะกับการใช้ในโรงงานที่มีเครื่องจักรอัตโนมัติที่ซับซ้อน

ถึงแม้ว่าโรงงานแห่งอนาคตในยุค 5จี ยังไม่ได้เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ณ วันนี้ก็ตาม แต่หุ่นยนต์ที่มีการใช้งานอยู่แล้วจะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ประมวลผลที่มีราคาไม่แพง เซ็นเซอร์ที่สามารถจับภาพและเก็บข้อมูลจำนวนมากและอัลกอริธึมการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อน และเทคโนโลยีเหล่านี้กำลังมารวมกันเพื่อสร้างเครื่องจักรที่เรียนรู้ได้ (แมชชีน เลิร์นนิ่ง) ภายใน 2 ปีนี้

ตามรายงานของไพรซ์วอเตอร์เฮ้าส์ คูเปอร์ ในอนาคตหุ่นยนต์จะได้รับการฝึกและเรียนรู้ โดยใช้ทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ขั้นสูงบนระบบคลาวด์ โดยเครื่องจักรบางชิ้นจะประมวลผลข้อมูลของตัวเอง ที่ 1 รอบเวลาที่ใช้ในการทำงานสำเร็จจะใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งมิลลิวินาที เครื่องจักรจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลสตรีมมิ่ง ในขั้นตอนนี้เรียกว่า Edge computing ที่จะสามารถทำการวินิจฉัยด้วยตนเองและตัดสินใจกำหนดค่าใหม่ได้เองภายใต้กรอบนโยบายและกฎในการผลิต

5จีเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

ในยุค 5จี เทคโนโลยี อ๊อกเมนเต็ด เรียลลิตี้ (Augmented Reality) หรือ เออาร์ จะช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานได้อย่างชาญฉลาด โดยการสวมเลนส์เออาร์ ทำให้คนในไลน์การผลิตที่ยังคงมีอยู่สามารถเข้าถึงข้อกำหนดและคำแนะนำต่างๆ โดยละเอียด ช่วยลดเวลาในการฝึกอบรมและช่วยให้พวกเขาสามารถทำงานอย่างอื่นได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน

ในยุคระบบสื่อสารบรอดแบนด์เคลื่อนที่ 5จี จะเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของรูปแบบธุรกิจในอนาคต ซึ่งซัพพลายเออร์จำนวนมากกำลังสร้างอุปกรณ์ 5จี ซึ่งจะช่วยผลักดันการแข่งขันและสร้างประสิทธิภาพด้านต้นทุน โดยจะมีมาตรฐานออกมาและใช้งานในเชิงพาณิชย์ภายในปี 2563 บริษัทโทรคมนาคมทุกวันนี้ให้บริการโดยตรงกับลูกค้าที่เป็นผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ จำเป็นเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจใหม่ 

ดังนั้นในยุค 5จีระบบสื่อสารเคลื่อนที่จะมีบทบาทที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะเข้าไปมีบทบาทในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างมาก โดยจะทำให้เกิดการปฏิวัติการผลิตสินค้าให้เป็นแบบเอ็มทูเอ็ม หรือ เอ็มทูเอชเท่านั้น แต่จะเป็นตัวเรื่องให้เกิดแพลตฟอร์มไอโอที และโรบอติกส์แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเติบโตขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว