Retail Market Monitor (3 ต.ค.60)

Retail Market Monitor (3 ต.ค.60)

ตัวเลขเศรษฐกิจและภาคการผลิตทั่วโลกหนุนจิตวิทยาการลงทุน

หุ้นยุโรปและสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังรายงานตัวเลขภาคการผลิตที่ดีตามคาด โดย PMI ยุโรปสูงสุดในรอบ 79 เดือน ขณะที่ ISM ของสหรัฐฯสูงสุดในรอบ 13 ปี ทำให้บรรยากาศการลงทุนในหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงโดยรวมเป็นบวก ขณะที่ในประเทศข้อมูลตัวเลขเศรษบกิจและการรายงานผลการดำเนินงานธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 3 คาดยังเป็นปัจจัยหนุนบรรยากาศการลงทุนโดยรวม

Investment Theme 1) การลดภาษีสหรัฐ ดีต่อ IVL TU CPF 2) หุ้นขนาดใหญ่ที่ราคายัง  Laggard เช่น PTT BANPU SCC CPALL CPF SCB BLA* CK KCE BDMS และ 3) หุ้นที่โมเมนตัมช่วงสั้นเป็นบวก AMATA, KCAR*, TK*, ILINK*, JWD*, TWPC*, SLP*, MC*, GCAP*, CSS*, LOXLEY*, AGE*

ภาพรวมกลยุทธ์: การผ่าน 1671 ทำให้ตลาดมีโมเมนตัมเดินหน้าขึ้นทดสอบ 1690-1700 และอาจเคลื่อนไหวสูงกว่าเป้าหมายสิ้นปีที่ 1700 จุด แต่ความผันผวนระยะสั้นคาดว่าจะเริ่มเพิ่มขึ้นเช่นกัน  // หุ้นแนะนำ KTB, BR*, ACAP*

ประเด็นการลงทุน

โภคภัณฑ์ ราคาน้ำมันปรับตัวลงหลังอุปทานของกลุ่มผู้ผลิตโอเปกและสหรัฐฯมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น / ราคาโลหะและสินค้าเกษตรทรงตัว / ค่าระวางเรือ (BDI) ปรับลดลงต่อเนื่อง โดยปิดที่ 1,328.00 จุด (-2.06%) / ถ่านหิน Newcastle ปิดที่ 95.9 เหรียญต่อตัน (-1.39%) / ราคาทองคำปรับตัวลงต่อเนื่องจากค่าเงินเหรียญสหรัฐฯที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯแข็งแกร่ง ดัชนีภาคการผลิต ISM เดือน ก.ย.พุ่งขึ้นสู่ระดับ 60.8 สูงสุดในรอบ 13 ปี โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่และราคาวัตถุดิบ // การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือน ส.ค.เพิ่มขึ้นมากกว่าคาดที่ 0.5% mom และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นปัจจัยบวกต่อการแข็งค่าของเงินเหรียญสหรัฐฯ

เงินเฟ้อไทยเดือน ก.ย. เพิ่มสูงกว่าคาด ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ขยายตัว +0.86% yoy และ +0.58% mom ปรับขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับลดคาดการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 0.4-1.0% จากเดิม 0.7-1.7% จากเงินบาทที่แข็งค่ากว่าคาด รวมถึงสมมติฐานราคาน้ำมันและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงที่ระดับ 3-4%

เจรจาการค้าผู้นำไทย-สหรัฐฯ ปธน.ทรัมป์ เผยถึงความต้องการที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทย โดยมีความตั้งใจที่ที่จะส่งออกสินค้าให้กับประเทศไทยในสัดส่วนที่มากขึ้น คาดจุดประสงค์หลักของทรัมป์คือต้องการลดการขาดดุลทางการค้าที่สหรัฐฯมีต่อไทยให้น้อยลง

กอช.เตรียมลงทุนในหุ้น – คณะกรรมการ กอช. มีมติเห็นชอบการคัดเลือก บลจ.  2 รายเป็นผู้บริหารสินทรัพย์จำนวน 15% ของเงินกองทุนส่วนสมาชิกในตราสารทุน SET50 เพื่อต้องการที่จะกระจายการลงทุนไปยังตราสารที่หลากหลายมากขึ้น และเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนให้สูงขึ้น

SVI – อนุมัติการซื้อหุ้นคือนวงเงิน 1,400 ล้านบาท ไม่เกิน 200 ล้านหุ้น เริ่ม 18 ต.ค.60-12 เม.ย.61

ECF (Not rated) – หุ้นจะขึ้น XW ของ ECF-W2 และ ECF-W3 ในวันที่ 6 ต.ค.นี้ นักลงทุนควรเพิ่มความระมัดระวังเนื่องจาก dilution จาก warrant ทั้ง 2 ตัวคือ 23% ขณะที่หากรวมการเพิ่มทุนแบบทั่วไป (RO และ PP) ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จะคิดเป็น dilution ต่อกำไรถึง 45%

ประเด็นติดตาม: 3 ต.ค. – ประชุม กกร. (คาดปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP) / 4 ต.ค. – สุนทรพจน์ประธานเฟด / 6 ต.ค. – ตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ (Employment report)

แนวรับ : 1684 / แนวต้าน : 1690-1700 จุด สัดส่วนการลงทุน : เงินสด 40% : พอร์ตหุ้น 60%

 (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ หรือที่ไม่ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH)

หุ้นแนะนำ

  • KTB (20.50) : คาดผลการดำเนินงาน 3Q60 เพิ่มขึ้น 3% QoQ และ 5.5% YoY การสำรองกลับสู่ระดับปกติหลังไม่มี หนี้เสียขนาดใหญ่เช่น EARTH ซื้อขายด้ว ยvaluation เพียง 0.9x PBV
  • BR* (9.25) : คาดการณ์ครึ่งปีหลังเติบโตแข็งแกร่งจากการเลิกกิจการของคู่แข่งรายเดียวในเนเธอร์แลนด์และธุรกิจใหม่อาหารแปรรูป ที่เปิดโรงงานในไตรมาส 3/60
  • ACAP* (23) : ยอดปล่อยสินเชื่อโตต่อเนื่องและมีแนวโน้มทำได้เกินเป้า 6 พันล้านบาท เราคาดผลการดำเนินงาน 3Q60 ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น QoQ และ YoY อย่างต่อเนื่อง
  • หุ้นที่น่าสนใจอื่นๆ: AMATA, KCAR*, TK*, ILINK*, JWD*, TWPC*, SLP*, MC*, GCAP*, CSS*, LOXLEY*, AGE*