ประเพณีแซนโฎนตา บูชาหลักเมือง ลือเลืองกล้วยแสนหวี

ประเพณีแซนโฎนตา บูชาหลักเมือง ลือเลืองกล้วยแสนหวี

ศรีสะเกษ แถลงข่าวเป็นภาษาเขมร ในงานประเพณีแซนโฎนตา บูชาหลักเมือง ลือเลืองกล้วยแสนหวี ในวันที่ 15–16 กันยายน 2560 ที่ อำเภอขุขันธ์ พร้อมชมการแสดง แสงสีเสียง ย้อนตำนานการสร้างเมืองขุขันธ์ศรีสะเกษ ของพญาไกรภักดีศรีนครลำดวน ครั้งแรกฉลอง ครบ 258 ปี

เมื่อวันที่ 12 กันยายน2560 ที่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ นายสำรวย เกษกุล นายอำเภอขุขันธ์,นายสืบสวัสดิ์ สืบสายพรม นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองขุขันธ์,นายขวัญชัย ไชยโพธิ์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 23 แห่ง ในอำเภอขุขันธ์ พร้อมใจกันจัดงาน ย้อนรำลึกพญาไกรภักดีศรีนครลำดวน เทศกาลแซนโฎนตา บูชาหลักเมืองลือเลืองกล้วยแสนหวี ในระหว่างวันที่ 15–16 กันยายน 2560 ซึ่งจัดกันมาเป็นประจำในทุกๆ ปี แต่ปีนี้พิเศษ เนื่องจากอำเภอขุขันธ์ ครบรอบ 258 ปี จึงได้จัดให้ยิ่งใหญ่ ถึงปีเพณีการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่รักษาปกป้องบ้านเมืองไทยมาโดยตลอด เพื่อให้ลูกหลานได้อยู่เย็นเป็นสุขมาได้จนทุกวันนี้

โดย นายขวัญชัย ไชยโพธิ์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ ได้แถลงรายละเอียดงานเป็นภาษาเขมร ซึ่งเป็นภาษาถิ่นของคนขุขันธ์ เป็นการแจ้งข่าวแก่ลูกหลานคนขุขันธ์ที่อพยพย้ายถิ่นฐานไปทำงานยังแดนไกล ถึงกำหนดการจัดงาน แซนโฏนตา ( แซนโดนตา ) คำว่า แซน หรือ การเว้นไหว้ โดนตา หรือ ผีบรรพบุรุษ เมื่อรวมกันแล้ว ก็จะเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยการห่อข้าวต้มจากกล้วยเป็นหลัก มาห่อด้วยข้าวเหนียว นำไปต้มให้สุก ก่อนนำมาถวายพระ นำไปแจกจ่ายแก่บ้านใกล้เรือนเคียง นำฝากลูกหลานส่งไปทุกที่ ถือเป็นอาหารมงคลของคนเผ่าเขมร 1 ใน 4 เผ่าของคนศรีสะเกษ คือ เขมร ส่วน ลาว และเยอ ดังนั้นเมื่อมีการใช้กล้วยเป็นเครื่องเซ่นไหว้ จึงเป็นที่มาของการนำกล้วยมาจำหน่าย นับเป็นแสนๆ หวีภายในงานนี้ด้วย

นายสำรวย เกษกุล กล่าวแปลเป็นภาไทย ว่า ในการจัดงาน แซนโฎนตา ในระหว่างวันที่ 15–16 กันยายน 2560 ที่หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองขุขันธ์ ที่นับว่าเป็นต้นกำเนิดของการสร้างเมืองศรีสะเกษ ก่อนที่จะเป็นจังหวัดศรีสะเกษ โดยในปีนี้ ครบ 258 ปี ที่มีเมืองขุขันธ์มา เป็นการจัดงานการสืบทอดตำนานเมือง การสร้างเมืองขุขันธ์ โดยจัดให้มีการแสดง แสง สี เสียงตำนานการสร้างเมืองเป็นปีแรกในการจัดประเพณีแซนโดนตา โดยใช้นักแสดงที่เป็นชาวบ้านเมืองขุขันธ์ กว่า 400 ชีวิต ย้อยตำนานการจับช้างพระเจ้าอยู่หัวฯ ในสมัยนั้นที่ตกมันวิ่งหลุดโขลงมา ก่อนที่ตะกะจะ หรือ พญาไกรภักดีศรีนครลำดวน จะติดตามจับมาส่งคืนได้ จึงได้ความดีความชอบ ตั้งแต่ให้เป็นพญา ดูแลเมืองขุขันธ์ ในสมัยนั้นสืบเรื่อยมา ก่อนที่จะย้ายเมืองไปตั้งจังหวัดศรีสะเกษ ที่ดงลำดวน ในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้เข้ามาดูแลในการจัดงานประเพณีย้อนรำลึกพญาไกรภักดี ช่วยด้วย นอกจากที่ผ่านๆ มาชาวอำเภอขุขันธ์ ได้จัดกันเองมาตลอดกว่า 20 ปี

ภายในงานจะมีการเปิดจำหน่ายกล้วย ผลิตภัณฑ์หลักในการมัดข้าวต้ม เพื่อนำมาเป็นเครื่องเซ่นไหว้ และการจำหน่ายสินค้าโอท๊อป ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองขุขันธ์ ตลอดงาน นับตั้งแต่วันที่ 12 -17 กันยายน 2560 นี้ ส่วนการแสดง จะมีขึ้น 2 วัน คือ คืนวัน 15 กันยายน และคืนวันที่ 16 กันยายน 2560 ตั้งแต่เวลา 18.00 น. นี้เท่านั้น ชมฟรี