กริชาภรณ์ ภูมิปัญญาอาเซียน อัตลักษณ์พหุสังคมชายแดนใต้

กริชาภรณ์ ภูมิปัญญาอาเซียน อัตลักษณ์พหุสังคมชายแดนใต้

กริชาภรณ์ ภูมิปัญญาอาเซียน อัตลักษณ์พหุสังคมชายแดนใต้

บรรยากาศภายในงานโครงการวัฒนธรรมเชื่อมใจชายแดนใต้สันติสุข "กริชาภรณ์ ภูมิปัญญาอาเซียน" ปี 2560 ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดปัตตานี ได้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับ กริช ผ้าและเครื่องแต่งกาย เพื่อสร้างความภาคภูมิใจ ให้เกิดความรักและหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นภูมิปัญาของบรรพบุรุษ ที่สืบทอดกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

640_fbdbhc6ib7b9ih9bbaci5

ได้มีการนำ "กริช" อาวุธโบราณซึ่งมีบทบาทเป็นทั้งอาวุธป้องกันตัว และเครื่องประดับกายที่บ่งบอกถึงสถานะทางสังคมของผู้คนในสมัยก่อนที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรมาลายู โดย กริช ที่ถูกนำมาจัดแสดงภายในงานมีทั้งที่ผลิตขึ้นมาใหม่และเป็นของโบราณอายุหลายร้อยปี เป็นสมบัติที่ตกทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นทำให้ผู้ที่ครอบครองมีความหวงแหนมาก ซึ่งนอกจากจะมีกริชที่นำมาโชว์แล้ว ยังมีของมีคมอื่นๆที่ทำจากโลหะในสมัยโบราณ เป็นทั้งอาวุธและเครื่องมือทำมาหากิมาจัดแสดงด้วย เช่นขวาน มีดดาบ มีดพร้า หอก เป็นต้น ต่างได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานเป็นอย่างมาก

640_i6g5ja5dc5ia8ff8ad8de

โดยเฉพาะ "หัวกริช" จะได้รับความสนใจเป็นพิเศษเนื่องจากบางด้าม แกะสลักจากทองคำ นาก งาช้าง นอแรด และแก่นไม้หายาก ส่วนลวดลายมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเชิงช่างของแต่ละพื้นที่ ทำให้กริชเหล่านี้ เป็นสิ่งของมีค่าที่ไม่สามารถประเมินราคาได้ซึ่งหากจะมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน ขึ้นอยู่กับความพอใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเท่านั้น แม้ปัจจุบันกริชยังคงเหลือแค่บทบาทในรูปแบบของเครื่องประดับในงานต่างๆเช่น การเข้าสุนัต และประเพณีการแต่งงานก็ตาม

640_ekd97a79ha7hbe6e57dj8

นอกจากนี้ยังจัดให้มีการแสดงแบบผ้าลายพื้นเมืองที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของคนชายแดนใต้ โดยเฉพาะผ้าจวนปัตตานีหรือผ้ายกตานี เป็นผ้าที่มีชื่อเสียงและได้รับการอนุรักษ์สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ภายในงานได้มีการโชว์เดินแบบเครื่องแต่งกายของคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีความนิยมที่คล้ายคลึกกันทั้งไทยพุทธ มุสลิม คือการนุ่งผ้าถุงหรือโสร่งทั้งหญิงและชาย ผู้ชายจะนุ่งผ้าโสร่งตาลายหมากรุก ส่วนผู้หญิงนิยมนุ่งผ้าโสร่งปาเต๊ะ สำหรับชาวไทยมุสลิมสิ่งที่สำคัญคือต้องมิดชิดตามหลักศาสนา แต่ก็ยังคงรักษาไว้ถึงอัตลักษณ์การแต่งกายของคนในพื้นถิ่นชายแดนใต้ โดยงานดังกล่าวจะมีไปจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2560