“ซึมเศร้า” สอย “ดาวดับ”

“ซึมเศร้า” สอย “ดาวดับ”

การเสียชีวิตของ เชสเตอร์ เบนนิงตั้น นักร้องนำวง Linkin Park จบชีวิตลงด้วยวัย 41ปีนั้น นี่เป็นอีกครั้งที่ โรคซึมเศร้า(Depression)คร่าชีวิตของคนดังให้หายจากโลกนี้ไป ซึ่งที่ผ่านมาก็มีเหล่าดาวเด่นจำนวนไม่น้อยที่กลายเป็นดาวดับจากอาการเหล่านี้

“ซึมเศร้า” สอย “ดาวดับ”

โรบิน วิลเลียมส์ ดาราดังฮอลลีวู้ด จบชีวิตลงแบบกะทันหันด้วยการฆ่าตัวตาย โดยใช้เข็มขัดรัดคอจนขาดอากาศหายใจในวัย 63 ปี

“ซึมเศร้า” สอย “ดาวดับ”

ฮีธ เลดเจอร์ ผู้รับบทเป็นโจ๊กเกอร์ ในหนังภาคต่อแบทแมนเรื่อง The Dark Knight  เสียชีวิตด้วยการใช้ยาเกินขนาด และจากไปด้วยวัย 28 ปี  

“ซึมเศร้า” สอย “ดาวดับ”

เฉียว เหรินเหลียง นักร้อง นักแสดงจากแดนมังกร เสียชีวิตด้วยการกรีดข้อมือตัวเองในอ่างน้ำและใช้ถุงพลาสติกคลุมศีรษะ จนขาดอากาศ นักแสดงดาวรุ่งเสียชีวิตในวัยเพียง 28 ปี

“ซึมเศร้า” สอย “ดาวดับ”

เลสลี่ จาง ดาราฮ่องกงชื่อดังของเอเชีย จบชีวิตด้วยการกระโดดตึกในโรงแรมหรูกลางเกาะฮ่องกง ด้วยอายุเพียง 46 ปีเท่านั้น

“ซึมเศร้า” สอย “ดาวดับ”

สิงห์ สควีซ มือกีตาร์วงดนตรีสควีซ แอนิมอล เสียชีวิตด้วยการตกจากอาคารคอนโดมิเนียม ย่านทองหล่อ ซอย 5  ด้วยวัย 31 ปี

     จักรวาลของ “ความเศร้า” (Depression)

     นอกจาก “โรคซึมเศร้า”  จะเป็นอาการที่คร่าชีวิตเหล่าซูปเปอร์สตาร์ให้จากไปก่อนเวลาอันควรแล้ว โรคนี้ยังอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต พบว่า สาเหตุหลักๆ ที่นำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า ว่า มีอยู่ 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยทางชีวภาพ เช่น พันธุกรรม หรือโรคทางกายบางอย่าง เช่น โรคไทรอยด์ สารเสพติดต่างๆ และปัจจัยด้านจิตสังคม และอุปนิสัยต่างๆ เช่น มองตนเองในแง่ลบ หรือมองโลกในแง่ร้าย รวมทั้งความตึงเครียดทางอารมณ์ เช่น ความตึงเครียดในครอบครัว การเจอกับเหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง ความผิดหวัง ชีวิตโดดเดี่ยว สูญเสียคนที่รัก ตกงาน หย่าร้าง เป็นต้น ความจริงที่เราอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับโรคนี้ ก็คือ...องค์การอนามัยโลกเคยคาดการณ์ว่า ปัจจุบันโลกเรามีผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้ากว่า 300 ล้านคน หรือ คิดเป็น 4 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งโลก

     ส่วนบ้านเรามีรายงานจากกรมสุขภาพจิตพบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอยู่ราว 900,000 คน หรือคิดเป็น 1.8 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งประเทศ โดยจากสถิติพบว่า "ผู้หญิง" มีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคนี้สูงกว่าผู้ชายถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรักษาวัยที่เป็นโรคซึมเศร้ามากที่สุด คือ ช่วงอายุระหว่าง 25-44 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่อายุมากหรือน้อยกว่าจะปลอดภัยจากโรคซึมเศร้า เพราะวัยรุ่น และผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยก็ประสบกับปัญหานี้ อย่างในอเมริกาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 10 เปอร์เซ็นต์มีอายุมากกว่า 65 ปี

     คนที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป 1.5 - 3 เท่า  แต่นั่นไม่ได้แปลว่าโรคซึมเศร้าเป็นการถ่ายทอดผ่านทางยีนส์ ต่างจากโรคไบโพลาร์ที่มีพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก        

แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าเบื้องต้นจาก กรมสุขภาพจิต

นี่เป็นคำถามสั้นๆ จำนวน 15 ข้อ โดยผู้ตอบคำถามจะต้องสำรวจตัวเอง และประเมินเหตุการณ์ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาว่า “มี” อาการตามข้อต่างๆ นี้หรือไม่

  1. รู้สึกจิตใจหม่นหมองหรือไม่ (เกือบตลอดทั้งวัน)
  2. รู้สึกเป็นทุกข์จนอยากร้องไห้
  3. รู้สึกหมดอาลัยตายอยาก
  4. รู้สึกไม่มีความสุข หมดสนุก กับสิ่งที่เคยชอบและเคยทำ
  5. รู้สึกผิดหวังในตนเอง และโทษสิ่งที่เกิดขึ้น
  6. รู้สึกสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง
  7. รู้สึกอยากอยู่คนเดียวไม่อยากสุงสิงกับใคร
  8. รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า
  9. คิดอะไรไม่ออก
  10. หลงลืมง่าย
  11. คิดอะไรได้ช้ากว่าปกติ
  12. ทำอะไรอืดอาด เชื่องช้ากว่าปกติ