เทคโนโลยีเสียงพูด‘ผู้รับใช้ยุคดิจิทัล’

เทคโนโลยีเสียงพูด‘ผู้รับใช้ยุคดิจิทัล’

ผลการวิจัยทั่วโลกโดยเอเยนซีในเครือดับบลิวพีพี ได้แก่ เจ.วอลเตอร์ ธอมสัน, มายด์แชร์ และกันตาร์ พบว่าผู้บริโภคในเอเชีย กำลังเป็นทัพหน้าในการเปิดรับ เทคโนโลยีสั่งงานด้วยเสียงพูด

รายงานฉบับใหม่“สปีค อีซี่”(Speak Easy) เปิดเผยว่ากลุ่มผู้ใช้ทั่วโลก 45% ที่ใช้เทคโนโลยีเสียงพูดเป็นประจำบอกว่า เลือกใช้เทคโนโลยีเพราะมีความรวดเร็วกว่าและ 71% รู้สึกว่าปัจจุบันการพูดกับอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ  รายงานยังชี้ให้เห็นแนวโน้มหลักที่ผู้บริโภคเปิดรับเทคโนโลยีเสียงพูด

ความอยากใกล้ชิดกับผู้ช่วยผ่านเสียงพูดของตน ผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลก 74% เห็นด้วยว่า “ถ้าผู้ช่วยผ่านเสียงพูดสามารถเข้าใจและพูดตอบเหมือนกับมนุษย์ ก็จะใช้งานตลอดเวลา” เมื่อการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) มีพัฒนาการดีขึ้น ผู้ช่วยผ่านเสียงพูดจะเข้าใจผู้ใช้ได้มากยิ่งขึ้น และผู้คนจะใกล้ชิดกับผู้ช่วยของตนมากขึ้น

การสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า 42% ของผู้ใช้เคยคุยกับอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีของตนในยามที่รู้สึกโดดเดี่ยว ในขณะที่ 37% ระบุว่าพวกเขาเคยบอกรักอุปกรณ์เหล่านี้

“ผู้ช่วยผ่านเสียงพูด กำลังกลายเป็นผู้คุมประตูสู่ลูกค้าที่นับวันจะยิ่งทรงอิทธิพลขึ้นเรื่อยๆ ความท้าทายสำคัญอยู่ที่การสร้างหลักประกันว่าแบรนด์หรือคอนเทนท์จะได้รับเลือก” ก

เสียงพูดช่วยแบ่งเบาภาระการรับรู้ของสมอง รายงานยังแสดงให้เห็นว่าแรงจูงใจหลักอย่างหนึ่งในการใช้เทคโนโลยีเสียงพูด คือ ความมีประสิทธิภาพ โดยผู้ใช้เป็นประจำ 45% บอกว่าพวกเขาเลือกใช้จากความรวดเร็วกว่า และ 35% บอกว่าพวกเขาเลือกใช้ในเวลาที่รู้สึกขี้เกียจ

ในการจัดทำรายงานฉบับนี้ได้ทำงานร่วมกับ Neuro-Insight ซึ่งเป็นกลุ่มนักประสาทวิทยาศาสตร์ชั้นนำ เพื่อศึกษาการตอบสนองของสมองต่อเสียงพูดเมื่อเปรียบเทียบกับการการแตะหรือการพิมพ์

การศึกษาพบว่าปฏิสัมพันธ์ด้วยเสียงพูดมีระดับการทำงานของสมองน้อยกว่าการใช้วิธีแตะ เพื่อทำในสิ่งเดียวกัน ซึ่งชี้ว่าการตอบสนองต่อเสียงเป็นภาระแก่การรับรู้สมองน้อยกว่า  

“เรื่องนี้ยิ่งย้ำว่าแบรนด์ต่างๆ จำเป็นต้องพิถีพิถันกับเสียง ที่จะมาเป็นเสียงพูดของตนอย่างจริงจัง”

เสียงพูดช่วยให้ผู้บริโภคเป็นอิสระจากหน้าจอ ผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลก 53% คิดว่า “เทคโนโลยีเสียงพูดจะช่วยให้ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นเนื่องจากพวกเขาจะไม่ก้มหน้ามองหน้าจออยู่ตลอดเวลา” จึงเชื่อกันว่าเทคโนโลยีเสียงจะเป็นกุญแจสำคัญในการปลดปล่อยผู้ใช้งานอีกจำนวนมากให้เป็นอิสระจากหน้าจอ ดังที่พบเห็นได้ทั่วไปในทุกวันนี้

สิ่งนี้จะทำให้แบรนด์ได้พบกับโอกาสใหม่ๆ ที่น่าสนใจในการสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย

ผู้บริโภคจะปล่อยให้“ผู้รับใช้ยุคดิจิทัล”ดูแลจัดการสิ่งต่างๆ ความก้าวหน้าเหล่านี้ รวมไปถึงการที่ผู้ช่วยผ่านเสียง จะมีวิวัฒนาการขึ้นเป็นบริการเชิงรุก ซึ่งให้ข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์ โดยผู้ตอบแบบสอบถามหลายรายบอกว่าพวกเขาจะยอมให้ผู้ช่วยผ่านเสียงตัดสินใจเลือกแทนพวกเขาได้ ซึ่งในทางปฏิบัติคือการยกฐานะให้พวกมันเป็น “ผู้รับใช้ยุคดิจิทัล” (Digital Butlers) นั่นเอง

ความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว การรับรองความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว คือ ประเด็นที่ติดอันดับหนึ่งในประเทศต่างๆที่สำรวจ ขณะเดียวกันครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกแสดงความกังวลถึงการที่บริษัทต่างๆ อาจสามารถฟังสิ่งที่พวกเขาสนทนากับผู้ช่วยผ่านเสียงของตน

“ผู้ให้บริการจะต้องสร้างความเชื่อถือของบริการที่ผ่านมาก่อน จึงจะทำให้เกิดความไว้วางใจได้มากขึ้น”