ตลาดหุ้นไทยยุค 'คสช.'3ปี ผลตอบแทน19%

ตลาดหุ้นไทยยุค 'คสช.'3ปี ผลตอบแทน19%

ตลาดหุ้นไทยยุคคสช. 3ปีให้ "ผลตอบแทน19%"

ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) บริหารประเทศ พบว่าดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นราว 19.03% จากระดับ 1298.71 จุดปรับขึ้นมาอยู่ที่ 1545.88 จุด โดยดัชนีทำสถิติสูงสุดที่ระดับ 1,600.16 จุด ในเดือนก.. 2557 

ขณะที่หุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) สูงสุดและมีหุ้นที่ราคาปรับตัวขึ้นมากสุด 5 บริษัท ประกอบด้วย หุ้นบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) AOT ราคาปรับเพิ่มขึ้น164%รองลงมาหุ้นบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) BH เพิ่มขึ้น 103% หุ้นบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) MINTเพิ่มขึ้น 84.60% หุ้นบริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) DELTA เพิ่มขึ้น 81.78% และบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) IVL ปรับเพิ่มขึ้น 80% ขณะที่หุ้นบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) ปรับตัวขึ้นเพียง 37.06% ส่วนหุ้นบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ADVANC ลดลง 10.03% หุ้นบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)ลดลง 43.39% และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ลดลง 8.23%

ขณะที่แนวโน้มดัชนีหุ้นไทยหลังจากนี้ไปคาดว่า ดัชนีจะยังผันผวนต่อไปในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยที่สามารถดึงดูดความน่าสนใจในการลงทุน

บล.ทิสโก้ระบุว่า ปัจจัยแวดล้อมยังไม่ดึงดูดกระแสเงินทุนต่างประเทศไหลเข้าตลาดหุ้นไทยในระยะสั้น แม้หุ้นต่างประเทศทั้งในยุโรปและสหรัฐ จะเสี่ยงปรับฐานในระยะสั้น หลังส่วนใหญ่วิ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ แต่ มองโอกาสการลงทุนในตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (DM) ที่เปิดกว้างกว่า จากความเสี่ยงทางการเมืองในยุโรปที่ลดลงต่อเนื่อง และแผนปฏิรูปภาษีของสหรัฐ ที่คาดว่าจะเริ่มมีรายละเอียดมากขึ้นในระยะข้างหน้า ซึ่งจะสร้างความหวังเชิงบวกต่อแนวโน้มการเติบโตเศรษฐกิจและผลกำไรในสหรัฐ

หากจะเทียบกับตลาดหุ้นเกิดใหม่ (EM) การประเมินมูลค่าหุ้นไทยก็ค่อนข้างตึงตัว (Consensus Fwd. พีอี ปี 2560 อยู่ที่ 15.1 เท่า) สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวและค่าเฉลี่ยในแถบภูมิภาคนี้รวมถึง คาดการณ์ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า (13-14 มิ.ย.) นอกจากคาดการณ์เบื้องต้น เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 จะขยายตัวต่ำที่สุดของปีนี้ เพียงเพิ่มขึ้น 3.1% เนื่องจากเป็นช่วงโลว์ซีซันของธุรกิจท่องเที่ยว และผลกระทบจากฐานสูงในปีที่แล้วที่มีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว-จับจ่ายใช้สอยในช่วงสงกรานต์ อิงจากการศึกษาความเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทย กับการเติบโตของ GDP ที่มีค่าสหความสัมพันธ์ (Correlation) สูงกว่า 63% จะคิดเป็นดัชนีหุ้นช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า ไม่เกินระดับ 1600 จุด เพราะฉะนั้นเราจึงมองหุ้นไทยมีแนวโน้มแกว่งซิกแซกลง หรือยังคงมีแนวโน้มเคลื่อนไหวแย่กว่าตลาดหุ้นต่างประเทศและตลาดหุ้นภูมิภาคต่อไปอย่างน้อยในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า

บล.ฟินันเซียไซรัส แม้พีอีเรโชของตลาดหุ้นไทยจะไม่ถูก แต่เริ่มมีหุ้นที่น่าสนใจ แม้ว่าพีอีปีนี้ ณ ระดับดัชนีหุ้นปัจจุบันที่ 1,546 จุด จะคิดเป็น 15.0 เท่า อยู่ในระดับกลางๆ ไม่ถูกไม่แพงเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาค แต่เมื่อพิจารณาจาก EPS Growth ของตลาดหุ้นไทยในปีนี้ที่คาดขยายตัว 9%จากปีก่อน ถือเป็นอัตราการเติบโตค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน ตลาดหุ้นไทยจึงดูมีเสน่ห์น้อยลงในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ แต่หลังจากการปรับฐานของหุ้นขนาดกลาง-เล็กที่เคยมี High growth และ พีอีแพงในช่วงที่ผ่านมา

บล.เอเซียพลัส หากมองข้ามไปในเดือน มิ..เชื่อว่าดัชนีหุ้นไทยน่าจะค่อย ๆ ฟื้นตัวหลังจากที่ปรับฐานมาระยะหนึ่ง เพราะหากพิจารณาพื้นฐานของตลาดหุ้นไทยโดยอิง EPS ตลาดปี 2560 ที่หุ้นละ 101.36 บาท พบว่า ระดับพีอีเรโชล่วงหน้าที่ 15.3 เท่า ซึ่งต่ำสุดในภูมิภาค ยกเว้นเพียงตลาดจีนเท่านั้น ที่มีเพียง 14 เท่า และเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้วค่อนข้างสูงที่ระดับ 16-18 เท่า จึงเห็นว่าตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับที่ถูกกว่า จุดนี้จึงน่าสะสม