4 เหตุการณ์สะท้านบอลอังกฤษ

4 เหตุการณ์สะท้านบอลอังกฤษ

24 ฤดูกาลนับตั้งแต่ฟุตบอลลีกสูงสุดของอังกฤษเปลี่ยนชื่อจากดิวิชั่นหนึ่งมาเป็น “พรีเมียร์ลีก” มีเรื่องเกิดขึ้นมากมายไม่ว่า ทุกอย่างเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลต่อเกมพรีเมียร์ลีกทั้งสิ้น

แต่หากลองพิจารณาถึง 4 เหตุการณ์ที่เป็น จุดเปลี่ยนสำคัญของวงการฟุตบอลอังกฤษ จนมีผลมาถึงปัจจุบัน ลองไปดูกันว่ามีเหตุการณ์อะไรบ้าง

 

“เอริค คันโตน่า” สู่ “แมนฯยูไนเต็ด”

การเซ็นสัญญากับ “เอริค คันโตน่า” เป็นจุดเปลี่ยนและจุดเริ่มต้นสำคัญที่สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และ ความสำเร็จของอเล็กซ์ เฟอร์กูสัน จนทำให้ทีมกวาดแชมป์พรีเมียร์ลีกไปถึง 13 มัย

เมื่อครั้งที่คันโตน่า ออกจากฝรั่งเศสมาหาความท้าทายใหม่ในอังกฤษ ก็ไม่ได้เป็นนักเตะที่ถูกยกย่องให้เป็นผู้เล่นระดับโลกแต่อย่างใด ที่สำคัญยังพกชื่อ “เสีย” มาด้วยซ้ำ ต่างรู้กันว่าเขาเป็นประเภท “แบดบอย” และกบฏเต็มขั้น มีปัญหาตั้งแต่การเล่นในสนามกับสโมสรไปจนถึงทีมชาติ

แต่ “ก็องโต้” ก็แสดงผลงานเป็นที่ประจักษ์บนแผ่นดินผู้ดี เพียงแค่ฤดูกาลแรกที่เล่นให้กับ “ลีดส์ ยูไนเต็ด” ก็พาทีมเป็นแชมป์ดิวิชั่นหนึ่ง ในฤดูกาล 1991-1992

แต่ว่าอยู่กับทีมยูงทองได้เพียงแค่ฤดูกาลเดียว ก็ถูกแมนฯยูไนเต็ดดึงตัวมาร่วมทีมด้วยค่าตัว 1.2 ล้านปอนด์ ในปี 1992 การดึงตัวคันโตน่า ถูกยกให้เป็นการเซ็นสัญญาที่ดีที่สุดของเฟอร์กูสัน เริ่มตั้งแต่ช่วยทีมปีศาจแดงคว้าแชมป์ลีกสูงสุดของอังกฤษในรอบ 26 ปี ซึ่งเพิ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็นพรีเมียร์ลีกในฤดูกาล 1992-1993

4 ฤดูกาลของคันโตน่า กับแมนฯยูไนเต็ด คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก 4 ครั้ง เอฟเอคัพ 2 ครั้ง แชร์ริตี้ ชิลด์ 3 ครั้ง ได้รางวัลนักเตะยอดเยี่ยมขอสมาคมนักฟุตบอลอาชีพและสมาคมผู้สื่อข่าว อย่างละ 1 ครั้ง ก่อนที่จะช็อควงการด้วยการประเกิดแขวนสตั๊ดในปี 1997 ด้วยวัย 31 ปีเท่านั้น

คันโตน่า ไม่ใช่นักฟุตบอลที่สร้างความสำเร็จให้กับสโมสรเท่านั้น ยังถือว่ามีอิทธิพลสำคัญที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเตะรุ่นใหม่ของทีมโดยเฉพาะทีมชุด Class of 92 จนกลายเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของแมนฯยูไนเต็ด

แข้งต่างชาติจากมติสหภาพยุโรป

การรวมตัวกันของชาติในยุโรปด้วยการก่อตั้ง “สหภาพยุโรป” หรือ EU ในปี 1993  บังคับให้สมาชิกทุกประเทศมีการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว แน่นอนว่านักฟุตบอลที่มีสัญชาติสมาชิกของ EU ก็คือสินค้าและบริการและสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในชาติสมาชิกโดยไม่ถือว่าเป็นชาวต่างชาติ

ด้วยเหตุนี้เองนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการฟุตบอลยุโรป ซึ่งต้องขานรับนโยบายนี้ในปี 1996  โดยเฉพาะฟุตบอลอังกฤษ ที่ถือว่าเป็นประเภทอนุรักษ์นิยมมาช้านาน การหลั่งไหลของแข้งชาติ EU  เข้ามาในพรีเมียร์ลีก ทำให้ได้เกิดทำลายขนบลบประวัติศาสตร์ 111 ปี 3 เดือน 17 วันของฟุตบอลบอลอังกฤษ

โดยเกมพรีเมียร์ลีกปี 1999 จิอันลูก้า วิอัลลี่ กุนซือเชลซี ส่ง 11 ตัวจริงเป็นนักเตะต่างชาติทั้งหมด ตามมาด้วยปี 2005 อาร์แซน เวนเกอร์ ผู้จัดการทีมอาร์เซนอล เหนือชั้นกว่าจัดต่างชาติหมดทั้งตัวจริง-สำรอง แต่อย่างไรก็ตามก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าแข้งต่างชาติเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ทีมจากพรีเมียร์ลีกประสบความสำเร็จในรายการฟุตบอลสโมสรยุโรป อย่างเช่นรายการ “ยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก” ที่ แมนฯยูไนเต็ด คว้ามา 2 ครั้ง ในปี 1999 และ 2008,ลิเวอร์พูล ในปี 2005 และเชลซีในปี 2012

 

“กฎบอสแมน” กับการปลดปล่อยสัญญาทาส 15 ธันวาคม 1995 “ฌอง-มาร์ค บอสแมน” ได้ทิ้งพินัยกรรมลูกหนังให้นักเตะรุ่นหลัง เมื่อเอาชนะคดีความต้นสังกัด อาร์เอฟซี ลิแอช ที่ขวางไม่ให้ย้ายทีม โดนโก่งค่าตัวทั้งที่หมดสัญญา และนั่นเองเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า 'กฏบอสแมน'  โดยให้อิสระกับนักเตะที่หมดสัญญากับสโมสรเดิมเหลืออายุเพียง 6 เดือน ในการย้ายทีมได้แบบไม่มีค่าตัว หรือกลายเป็นฟรีเอเยนต์นั่นเอง

ยิ่งบวกกับกฎเรื่องแข้งของ EU ทำให้ยิ่งได้เห็นพรีเมียร์ลีกต้อนรับบรรดาแข้งต่าวชาติเข้ามาในพรีเมียร์ลีกเข้ามามากมายนับไม่ถ้วนจนถึงวันนี้

นักเตะดังๆที่มาด้วยกฎบอสแมนก็อย่างเช่น มิชาเอล บัลลัค ,มาร์คุส บับเบิ้ล หรือแม้กระทั่งการย้ายทีมของนักเตะคู่รักคู่แค้นจากสเปอร์ไปอาร์เซนอลของ “โซล แคมป์เบล”

 

พลานุภาพแห่งเงินตราของ “โรมัน อบราโมวิช”

ช่วงแรกของกฏนักเตะ EU และ กฎยอสแมนนั้นแข้งต่างชาติส่วนใหญ่ของพรีเมียร์ลีกยังไม่ใช่นักเตะที่มีชื่อเสียงโดด่งดังอะไรนัก แต่การเข้ามาเป็นเจ้าของทีมเชลซีจาก “โรมัน อบราโมวิช” โครตอภิมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ในปี 2004 ก็เปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ไปโดยสิ้นเชิง ทีมสิงห์โตน้ำเงินครามได้ต้อนรับนักเตะและกุนซือชื่อดังราคาแพงระยับเข้าสู่ถิ่นสแตมฟอร์ด บริดจ์นับไม่ถ้วน

1 พันล้านปอนด์กับผู้จัดการทีมอีก 8 คน ก็ทำให้อบราโมวิชไปถึงฝั่งฝันเมื่อเชลซีคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมปเปี้ยนสลีกในปี 2012 แม้ว่าปัจจุบันอัตราการทุ่มเงินจะลดลง แต่เชลซี ก็ยังมีสตาร์ค่าตัวแพงมาร่วมทีมทุกปี

 

นี่คือ 4 เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญในฟุตบอลอังกฤษ  และแน่นอนว่าในอนาคตย่อมมีมาอีกแน่นอน หลายคนมองว่าเหตุการณ์ครั้งที่ 5 นั่นคือเรื่องของ Brexit”  ซึ่งหากอังกฤษจัดการเรื่องนี้ได้ไม่ดีพออาจจะเป็นผลกระทบมากกว่าปัจจัยบวก