ชาวบ้านแห่ดูไหใต้โบสถ์เก่ากว่า 400 ปีเมืองกรุงเก่า

ชาวบ้านแห่ดูไหใต้โบสถ์เก่ากว่า 400 ปีเมืองกรุงเก่า

ชาวบ้านเมืองกรุงเก่าแห่ดูไหโบราณที่อยู่ใต้พระอุโบสถเก่าอายุกว่า 400 ปี หลังกรมศิลปากรเข้าบูรณะ วอนหากมีของมีค่าอยากให้ทางวัดดูแล

วานนี้ (30เม.ย.2560) ผู้สื่อข่าวรับแจ้งจากชาวบ้านว่ามีการขุดพบไหโบราณ อยู่ใต้พื้นโบสถ์ วัดแดง ม.1 ต.ปากท่า อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา จำนวนมากกว่า 200 ใบ เชื่อว่าเป็นไหโบราณบรรจุพระเครื่อง ตร.เฝ้าระวังเข้ม จึงเดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าบริเวณพระอุโบสถมีกำลังมีการซ่อมแซม มีนั่งร้านขึ้นอยู่บริเวณโดยรอบ

โดยจุดที่พบไหอยู่บริเวณใต้ฐานโบสถ์ที่มีการขุดปรับปรุง โดยมีลักษณะเป็นไหดินเผาเคลือบสีน้ำตาลเข้ม คว่ำเรียงรายอยู่เต็มพื้นที่ด้านฐานพระอุโบสถ ซึ่งยังไม่มีการนำขึ้นมา รอการตรวจสอบของกรมศิลปากร

จากการสอบถามนายประสงค์ แสงหิรัญ อายุ 80 ปี บ้านอยู่ใกล้กับวัดแดว ทราบว่าโบสถ์หลังนี้มีอายุมากกว่า 400 ปี ทางสำนักศิลปากรที่ 3 จ.พระนครศรีอยุธยา ได้เข้ามาซ่อมแซมเกิดมาก็เห็นโบสถ์หลังนี้แล้ว จนกระทั่งมีการเข้ามาซ่อมแซม และรื้อฐานล่างของโบสถ์เพื่อที่จะเสริมความั่นคงแข็งแรงของฐานล่าง ปรากฎว่าพบไหอยู่ด้านล่างเรียงรายอยู่กว่า 200 ใบ ซึ่งยังไม่ทราบว่าภายในบรรจุอะไรเอาไว้

นายประวิง ศรีเมือง อายุ 70 ปี ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดอีกคน เปิดเผยว่า ทางกรมศิลปากรได้มาซ่อมแซมโบสถืหลังนี้ประมาณ 2 อาทิตย์ โดยเพิ่งเริ่มรื้อฐานล่างของโบสถ์ จนกระทั่งพบไหจำนวนมาก แต่ก็ไม่รู้ว่ามีอะไร ในส่วนของวัตถุโบราณวัดแดงนี้ เคยมีคนร้ายเข้ามาขโมยตัดเศียรพระพุทธรูปและพระประธานในพระอุโบสถไปแล้ว ซึ่งชาวบ้านที่ทราบข่าวต่างเดินทางมาดูและกราบไหว้ เพื่อขอโชคลาภ โดยบางคนก็นับจำนวนไหนำไปตีเป็นเลข เนื่องจากใกล้วันสลากกินแบ่งรัฐบาลออกแล้ว อย่างไรก็ตามชาวบ้านส่วนใหญ่อยากให้กรมศิลปากรมาทำการตรวจสอบ และระบุความสำคัญของไห เพื่อที่จะได้หารือในการเก็บรักษา โดยขณะนี้ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาดูแลอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดทางกรมศิลปากร ที่3ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาขณะนี้ ได้มีการเตรียมการตรวจสอบไหโบราณที่ในโบสถ์โบราณอายุกว่า400ปีในวัดแดงตำบลปากกาท่า อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 1 พค นี้ และมีการตรวจสอบมีสิ่งของอยู่ในไห หากพบว่ามีของมีค่าหรือไม่ก็อยากให้เก็บรักษาเอาไว้ จะเก็บไว้เพื่อให้ลูกหลานดูในช่วงหลังเพื่อเป็นประวัติศาสตร์ของการอนุรักษ์วัตถุโบราณไว้ส่วนในเรื่องการเก็บ จะต้องมีการพูดคุยกับวัดว่าจะ ปรึกษากันเพื่อจะนำเก็บรักษาไว้อย่างไรแต่ต้องรอการพูดคุยประชุมกันอีกครั้ง ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและวัดรวมทั้งข้าราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ทั้งหมด

อย่างไรก็ตามจากการสอบถามไปยังผู้ที่เคยเกี่ยวข้องทางโบราณคดี ระบุว่าไหที่พบใต้อุโบสถหลังนี้เป็นวิธีการของคนโบราณในการสร้างอุโบสถซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีการวางเสาเข็ม จึงวางโอ่งหรือตุ่ม ซึ่งภายในโอ่งจะมีอากาศเป็นแรงดันรับน้ำหนักอุโบสถ โดยจะฝังในลักษณะที่เอาปากโอ่งคว่ำ หลายวัดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามักใช้วิธีการนี้ในการสร้างฐานรองรับโบสถ์