SCB - ซื้อ

SCB - ซื้อ

คุณภาพสินเชื่อดีขึ้นกำไรฟื้นตัว...

ประเด็นการลงทุน

ธนาคารมีแผนที่จะปรับปรุงระบบ IT และเสนอโปรแกรมดูแลลูกค้าแบบใหม่ เราคาดโปรแกรมดังกล่าวจะไม่ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้นมากในปีนี้หรือปีหน้า เนื่องจากจะเริ่มคิดค่าตัดจำหน่ายในปี 2562 เราประเมินกำไรปี 2560ตามเดิมที่ 5.3 หมื่นล้านบาท (สูงขึ้น 11% YoY) และ 5.8 หมื่นล้านบาทในปี 2561 (สูงขึ้น 9% YoY) หนุนโดยสินเชื่อเติบโตและ
การตั้งสำรองฯลดลง SCB ได้มีการปรับคุณภาพสินทรัพย์ให้ดีขึ้นแล้ว – ณ สิ้นสุดเดือน มี.ค. สัดส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.7% และอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญอยู่ที่ 134% (เป้าหมายปลายปี 2560 ของบริษัทอยู่ที่ 130%) เรายังคงแนะนำ “ซื้อ” SCB


แนวโน้มสินเชื่อเติบโตมากขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2/60 และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยคงที่

เราคาดสินเชื่อจะเติบโตตั้งแต่ไตรมาส 2/60 เป็นต้นไป หนุนโดยการบริโภคที่ค่อยๆปรับตัวดีขึ้น, ดีลการควบรวมกิจการใหม่, และโครงการก่อสร้างของรัฐบาล ธนาคารคาดสินเชื่อเติบโต 4-6% ในปี 2560 ขณะที่เราประเมินเพียง 4% หากสินเชื่อเติบโตมากกว่า 4% จะมีอัพไซด์ต่อประมาณการกำไรของเรา SCB ตั้งเป้าหมายส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยปี 2560 ในช่วง 3.1-3.3% (ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไตรมาส 1/60 อยู่ที่ 3.3%) ภายใต้สมมติฐานว่าสินเชื่อจะเติบโตตั้งแต่ครึ่งหลังปี 2560 เป็นต้นไป เรายังคงประมาณการส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของเราเท่าเดิมที่ 3.3% ในปี 2560 และ 3.4% ในปีหน้า

คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น = โอกาสที่จะลดการตั้งสำรองฯค่าเผื่อหนี้สูญฯ

ธนาคารได้ปรับลดสัดส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมลงแล้ว – ณ สิ้นเดือน มี.ค. สัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 2.7% และอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญอยู่ที่ 134% (ธนาคารตั้งเป้าหมายที่ 130% ในปี 2560) ดังนั้น เราคาดธนาคารจะสามารถปรับลดการตั้งสำรองฯ ปี 2560 ลงได้ 9% YoY มาอยู่ที่ 2.1 หมื่นล้านบาท (ต้นทุนการให้
สินเชื่อที่ 1.1%, ลดลงจาก 1.21% ในปีที่แล้ว)

โครงการลงทุนเพิ่มมากปี 2560-2562 เพื่อสร้างการเติบโตระยะยาว...

SCB ได้ทุ่มทุนกว่า 1.8 หมื่นล้านบาทเพื่อยกระดับระบบสารสนเทศ (IT upgrade) สร้างโครงการเน้นระบบพัฒนาฐานและความสัมพันธ์กับลูกค้าช่วงกลางปี 2560 ไปจนถึงกลางปี 2562 โดยโปรแกรมเน้นไปที่การสร้างการจัดการที่มั่งคั่งให้ลูกค้าระดับต่างๆ, ผลักดันให้สาขาดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น (รวมถึงการปิดสาขา/เปลี่ยนตำแหน่งสาขาไปพื้นที่มีลูกค้ามากขึ้น), พัฒนาสินค้าลูกค้ารายย่อย, และสร้างระบบแอพลิเคชั่น (fintech) และ PromptPay ต้นทุนการลงทุนส่วนใหญ่จะคิดค่าตัดจำหน่าย ประมาณ 7-8 ปี โดยเริ่มปี 2562 ดังนั้น เราคาดอัตราต้นทุนต่อรายได้ของธนาคารจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงและอยู่ต่ำกว่าบริษัทอื่นในกลุ่มในสองปีข้างหน้า โดย SCB รายงานอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ไตรมาส 1/60 ที่
40.6% ซึ่งอยู่ในกรอบล่างของเป้าหมาย SCB ที่ 40-43% เราคาดอัตราต้นทุนต่อรายได้จะอยู่ที่ 41% ในปี 2560 และ 2561