BBL - ซื้อ

BBL - ซื้อ

กำไรต่ำคาดจากสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯที่เพิ่มมาก

กำไรไตรมาส1/60 ต่ำกว่าที่เราคาด 6%

BBL รายงานกำไรไตรมาส1/60 ที่ 8.3พันล้านบาท ทรงตัว YoY และ QoQ ซึ่งต่ำกว่าที่เราคาด 6% และต่ำกว่าที่ตลาดคาด 5% โดยมาจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯที่สูงกว่าคาด BBL รายงานการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯไตรมาส1/60 ที่ 5.8 พันล้านบาท เทียบกับที่เราคาด 3.5 พันล้านบาท กำไรจากการดำเนินงานที่ไม่รวมสำรองหนี้เสียไตรมาส 1/60 อยู่ที่1.48 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% YoY และ 12%QoQ กำไร รวม3เดือนของปี 2560 คิดเป็น 22% ของประมาณการกำไรปี 2560


ประเด็นหลักผลประกอบการ

สินเชื่อปรับตัวลดลง 0.9% QoQ และเพิ่มขึ้น 2.6% YoY มาอยู่ที่ 1.92 ล้านล้านบาทในปลายเดือนมี.ค. 2560 ซึ่งต่ำกว่าการเติบโตของสินเชื่อทั้งปี 2560 ที่เราคาดที่ 4.0% YoY เนื่องจากการชำระคืนหนี้สินเชื่อเอสเอ็มอี, สินเชื่อต่างประเทศ และธุรกิจรายย่อยเพิ่มมากขึ้น QoQ โดยกิจกรรมดังกล่าวจะกดดันส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไตรมาส1/60 ที่ 4 bps YoY และ 6 bps QoQ เช่นเดียวกันกับ สัดส่วนเงินกู้ต่อเงินฝากลดลงมาอยู่ที่ 85.7% ในปลายเดือนมี.ค. 2560 จาก 89.1% ณ สิ้นปี 2559 รายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น 4% YoY และ 1% QoQ มาอยู่ที่ 8.3 พันล้านบาท ใกล้เคียงกับที่เราคาด รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเติบโต 2% YoY และทรงตัว QoQ ตามทิศทางของกิจกรรมสินเชื่อที่อ่อนตัว ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพิ่มขึ้น14% ทั้ง YoY และ QoQ มาอยู่ที่ 1.11 หมื่นล้านบาท เนื่องจากธนาคารไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษสำหรับหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น (ส่วนใหญ่มาจากหนังสือค้ำประกัน) อย่างในปีที่แล้ว ดังนั้นอัตราส่วนต้นทุนต่อรายรับของ BBL ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 42.8% ในไตรมาสนี้ จาก 51.1% ในช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว และจาก 49.6% ในไตรมาสที่ผ่านมา

BBL ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯที่ 5.8 พันล้านบาทในไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้น 59% YoY และ 61% QoQ เพื่อรองรับการปรับตัวเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในไตรมาสนี้ สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมของ BBL เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.5% ในปลายเดือนมี.ค. 2560 จาก 3.2% ในสิ้นปี 2559 ในขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะ
สูญต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 160% ในปลายเดือนมี.ค. 2560 จาก 174% ณ สิ้นปี 2559 สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 13% QoQ และ 26% YoY มาอยู่ที่ 7.78 หมื่นล้านบาท ในปลายเดือนมี.ค. 2560 จากกลุ่มสินเชื่อบรรษัทและสินเชื่อเอสเอ็มอี


แนวโน้ม

เราคาดว่า BBL จะรายงานการเติบโตของกำไรไตรมาส 2/60 โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของสินเชื่อที่เติบโตจากไตรมาสที่ผ่านมาและการบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ดีขึ้น เราคาดการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯจะปรับตัวลงอย่างมาก QoQ


สิ่งที่เปลี่ยนแปลง

เรายังคงประมาณการกำไรปี 2560 ที่ 3.7 หมื่นล้านบาท

คำแนะนำ

เราเชื่อว่าคุณภาพสินทรัพย์ของ BBL ยังคงสามารถรองรับการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่สูงกว่ากลุ่มได้ เนื่องจากสินเชื่อรวมของ BBL ประมาณ 61% มาจากลูกค้าบรรษัท ซึ่งจะฟื้นตัวก่อนสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อรวมที่ประมาณ 16% เป็นสินเชื่อต่างประเทศ (ส่วนใหญ่อยู่ในตลาดกลุ่มประเทศ CLMV) ณปลายเดือนมี.ค. 2560 สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมของ BBL อยู่ที่ 3.5% และมีอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงที่สุดในกลุ่มที่ 160% เพื่อรับมือกับโอกาสการปรับเพิ่มสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากการปรับโครงสร้างหนี้และกระบวนการตัดหนี้สูญ จากแนวโน้มที่ดีขึ้นในครึ่งหลังปี 2560,มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและมูลค่าหุ้นที่ยังคงถูก (ค่า PBV ณ สิ้นปี 2560 ที่ 0.9 เท่า) เรายังคงยืนยันคำแนะนำ ซื้อ สำหรับ BBL