Daily Market Outlook (27 มี.ค.60)

Daily Market Outlook (27 มี.ค.60)

ความเชื่อมั่นล่าถอยต่อ Trump ในสภา Congress

คาดหุ้นไทยวันนี้อ่อนตัวลงตามทิศทางตลาดหุ้นโลกหลังจากส.ส. พรรค Republican ไม่สนับสนุนร่างกฎหมาย American Healthcare ของ Donald trump ปธน.สหรัฐฯ ซึ่งจะนำมาใช้แทนกฎหมาย ObamaCareถึงแม้ว่าล่าสุด Trump กล่าวว่าจะกลับมาให้ความสนใจต่อนโยบายตัดลดภาษีครั้งใหญ่ แต่ตลาดเริ่มมีความเคลือบแคลงสงสัยในความสามารถของ Trump ที่จะผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ผ่านสภา Congress ให้เกิดขึ้นได้โดยเร็ว สำหรับปัจจัยภายในประเทศ กระทรวงการคลังมีแนวคิดที่จะแก้ไขกฎหมายสิทธิ์ในการเช่าที่ดิน (Leasehold) เป็น 50 ปี เพื่อจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งปัจจัยนี้อาจจะช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศได้ ขณะที่ข่าวอื่นๆ ดูจะไม่มีผลต่ออารมณ์ตลาดเท่าใดนัก

หุ้นเด่นวันนี้: TTA (ราคาปิด 9.85; ซื้อ; ราคาเป้าหมาย AWS 13.00 บาท)

TTA เป็น Pick of the day ของเรา จากสัญญาณการฟื้นตัวที่สำคัญของอุตสาหกรรมเรือเทกองและคาดว่าบริษัทจะพลิกฟื้นจากผลขาดทุนขึ้นมามีกำไรในปี 2560 และมีการเติบโตที่แข็งแกร่งต่อไปในอนาคตการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมขนส่งสินค้าทั่วโลกจะได้รับแรงหนุนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นและอุปทานที่ลดลงในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ด้านอุปสงค์: ตามที่ IMF ระบุว่าปริมาณการค้าโลกคาดว่าจะขยายตัว 3.8% ในปี 2560และ 4.1% ในปี 2561 ซึ่งดีกว่าการขยายตัว2.7% และ 1.9% ในปี 2558 และ 2559ตามลำดับเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ด้านอุปทาน: เราคาดว่ากองเรือเทกองจะลดปริมาณลงประมาณ 5% -7% ในอีก 3 ปีข้างหน้าเนื่องจากกฎระเบียบของระบบการจัดการนํ้าเสีย (BWM) ที่นำมาบังคับใช้เป็นกฎหมายกับเรือทุกประเภทซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเรือเพิ่มขึ้นและเป็นเหตุจูงใจให้มีขายเรือที่เก่าเกินกว่า 15 ปีทิ้งเป็นเศษเหล็กมากขึ้นเพราะไม่คุ้มจะนำมาเดินเรือ เราคาดการณ์อย่างระมัดระวังว่า Baltic Dry Index (BDI) อยู่ที่ระดับ 1,000 ในปี 2560 และ 1,200 ในปี 2561 ซึ่งพลิกจากระดับ 673 ในปี 2559 และ 718ในปี 2558 ซึ่ง BDI ล่าสุด 24 มี.ค.60 ขึ้นมา 29%YTD มาเป็น 1,240 จุด TTA จะได้รับประโยชน์อย่างมากจากอัตราค่าระวางเรือของโลกปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่เราคาดว่าธุรกิจอื่น ๆ ภายใต้ TTA จะมีการเติบโตในระดับปานกลางและมีส่วนช่วยสร้างรายได้และกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่องเราคาดว่ากำไรของ TTA จะฟื้นตัวจากขาดทุน 418 ล้านบาทในปี 2559 และมีกำไรสุทธิ 1.54 พันล้านบาทในปี 2560 และเพิ่มขึ้นอีก 14% เป็น 1.76 พันล้านบาทในปี 2561 โดยราคาเป้าหมายของเราอยู่ที่ 13.00 บาทซึ่งอิงค่าPBV ที่ 1.1 เท่าปี 2560 เทียบกับ PBV ปัจจุบันที่ต่ำเพียง0.8 เท่ายังมี upside 32% จากราคาปัจจุบันPrice Pattern ของ TTA มีความแข็งแกร่งอย่างมากในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จากการเกิดทั้ง Daily, Weekly, & Monthly Buy Signal เมื่อพิจารณาราคาปิดที่เคยสูงสุดอยู่ที่ 52.50 บาท (ณ 15 ต.ค.50) และมีราคาปิดต่ำสุดอยู่ที่ 7.10 บาท (ณ 20-22ม.ค.60) ทำให้ความแข็งแกร่งในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) ของ TTA รอบนี้มีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 17.80บาท ทั้งนี้ TTA มีจุด Stop Loss ระยะสั้นอยู่ที่ 9.70บาท

ปัจจัยสำคัญ

ประเด็นในประเทศ:

• ส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินและทางด่วนรอเห็นชอบ ก.คมนาคมเตรียมขอความเห็นชอบจาก ครม. เดือนหน้าสำหรับส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑลสาย 4) และถนนพระราม 3 – ดาวคะนอง – ทางด่วนวงแหวนรอบนอกตะวันตกมูลค่ากว่า 5 หมื่น ลบ. ถ้าผ่านความเห็นชอบจะเริ่มเปิดประมูล มิ.ย. และเซ็นสัญญา ส.ค. การก่อสร้างน่าจะเริ่มได้ ก.ย. (Bangkok Post)

• ส่อขึ้นภาษีบ้านหลังที่สอง แหล่งข่าวจาก ก.คลังระบุผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านหลังที่สองด้วยราคามากกว่า 50 ล้านบาทอาจถูกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในช่วง 0.03-0.1% ของราคาประเมิน ขึ้นกับมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ แต่อัตราภาษีลดลงจากคราวที่แล้วอยู่ในช่วง 0.03-0.3% (Bangkok Post)

• คลังพิจารณาอนุมัติสิทธิ์เช่าซื้อที่ดิน 50 ปีแก่ชาวต่างชาตินายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังมีแนวคิดที่จะแก้ไขกฎหมายสิทธิ์ในการเช่าที่ดิน (Leasehold) เป็น 50 ปี เพื่อจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยและกระตุ้นตลาดอสังหาฯ ในประเทศ (Bangkok Post)

• BoIเห็นชอบมาตรการจูงใจลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า ผ่านสิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและการยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรในการผลิต ครอบคลุมธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า 3 แบบ ได้แก่ รถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและพลังงานไฟฟ้า (Hybrid Electric Vehicle: HEV) และ รถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก (Plug-In Hybrid Electric Vehicle: PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) (Bangkok Post)

ต่างประเทศ:

• ราคาพันธบัตรสหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนมีความไม่แน่ใจเกี่ยวกับความสามารถในการผ่านร่างกฎหมายประกันสุขภาพฉบับใหม่ ซึ่งทำให้เกิดความต้องการซื้อพันธบัตรมากขึ้น ราคาผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี เพิ่มขึ้น 4/32 อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 2.40% ลดลงจาก 2.42% เมื่อวันพฤหัส (Reuters)

• ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนในเช้าวันนี้เนื่องจากมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับโอกาสที่สหรัฐจะใช้มาตรการกระตุ้นทางการคลังหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ประสบความพ่ายแพ้ในการนำร่างกฎหมาย "อเมริกันเฮลธ์แคร์" มาใช้แทนกฎหมาย "โอบามาแคร์" ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ปิดลบ 0.3% ที่ระดับ 99.299 หลังจากปรับตัวลงสู่ระดับ 99.292 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ. ก่อนหน้านี้ได้ดัชนีฯ ปรับตัวขึ้นถึงระดับสูงสุดในรอบ 14 ปีใกล้ระดับ 104.00 ในช่วงต้นเดือนม.ค. ซึ่งในขณะนั้นการคาดการณ์ว่าประธานาธิบดีทรัมป์จะออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ อยู่ที่จุดสูงสุด (Reuters)

สหรัฐ:

• ดัชนีตลาดหุ้นนิวยอร์กขยับลงเมื่อวันศุกร์ โดยตลาดปรับตัวลงในช่วงบ่ายหลังจากพรรครีพับลิกันยกเลิกมติกร่างกฎหมาย "อเมริกันเฮลธ์แคร์" ที่จะนำมาใช้แทนกฎหมายประกันสุขภาพ "โอบามาแคร์" นักลงทุนเป็นกังวลว่าความล้มเหลวดังกล่าวอาจเป็นลางไม่ดีเกี่ยวกับความสามารถของทรัมป์ในการผลักดันวาระทางเศรษฐกิจของเขา รวมถึงการปฏิรูปภาษี (Reuters)

• ภาคเอกชนสหรัฐขยายตัวน้อยที่สุดในรอบ 6 เดือน ในเดือนมี.ค.ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐอยู่ที่ระดับ 53.2 ในเดือนมี.ค. และยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ติดต่อกัน 13 เดือน อย่างไรก็ตามดัชนีดังกล่าวปรับตัวลงจากที่ระดับ 54.1 ในเดือนก.พ. และส่งสัญญาณการขยายตัวของผลผลิตของภาคเอกชนที่น้อยที่สุดนับแต่เดือนก.ย. 2559 (IHS Markit)

ยุโรป:

• ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อวันศุกร์ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ก่อนที่จะมีการโหวตในสภา Congress ของสหรัฐฯ ต่อร่างกฎหมาย Healthcare ของ Donald Trump ปธน.สหรัฐฯ แม้ว่าตัวเลขกิจกรรมทางธุรกิจยูโรโซนในเช่วง 1Q60 จะประกาศออกมาแข็งแกร่งก็ตาม (Reuters)

• Markitรายงานดัชนี PMI รวมภาคผลิต-บริการยูโรโซนขยายตัวสูงสุดรอบเกือบ 6 ปีในเดือนมี.ค.และในงวด 1Q60โดยดัชนีปรับตัวขึ้นแตะระดับ 56.7 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2554 และสูงจากระดับ 56.0 ในเดือนก.พ. ส่งผลให้ดัชนีเฉลี่ยในรายไตรมาส 1Q60 อยู่ที่ 55.7 สูงสุดนับตั้งแต่ช่วง 1Q54 หากพิจารณาในรายละเอียดพบว่าภาคการบริการขยายตัวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2554 ขณะที่การขยายตัวของภาคการผลิตชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเมื่อเดือนก.พ. ที่เป็นระดับสูงสุดในรอบราว 6 ปี (IHS Markit)

เอเชีย:

• ญี่ปุ่น: แนวโน้มความต้องการในเชิงบวกหนุนการเติบโตในเดือนมีนาคม: ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของ Nikkei Flash Japan PMI ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือนที่ 52.6 จุดในเดือนมีนาคม จากระดับ 53.3 ในเดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเป็น 53.4 จาก 54.1 กุมภาพันธ์ (IHS Markit)

• การเลือกตั้งเล็ก ๆ สำหรับผู้นำฮ่องกงคนใหม่เริ่มลงคะแนนในวันอาทิตย์ ท่ามกลางข้อกล่าวหาว่าจีนแทรกแซงและปฏิเสธไม่ให้ศูนย์กลางทางการเงินของจีน (ฮ่องกง) เป็นผู้นำทางประชาธิปไตยมากขึ้น ส่วนใหญ่ของพลเมือง 7.3 ล้านคนยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกผู้นำคนต่อไปของพวกเขา ขณะที่ผู้ชนะได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการเลือกตั้ง 1,200 คนเป็นผู้ภักดีกับจีน (Reuters)

• จีนจะลดการปิดกั้นจำนวนภาคอุตสาหกรรมที่ไม่ได้เปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากบริษัทจีนก็ต้องการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ผู้ว่าการธนาคารกลางจีนกล่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า จีนกำลังรอคอยนโยบายการบริหารใหม่ของสหรัฐฯ เพื่อดูว่าจะก้าวไปข้างหน้าในการเจรจาการค้าและการลงทุนอย่างไร (Reuters)


สินค้าโภคภัณฑ์:

• น้ำมันดิบปรับขึ้นวันศุกร์ มีปริมาณซื้อขายเข้ามาในช่วงท้ายตลาด แต่รายสัปดาห์ยังเป็นลบท่ามกลางความกังวลว่าอุปทานที่ล้นเกิน น้ำมันดิบสหรัฐ บวก 27 เซนต์ ปิด 47.97 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ลบ 0.5% รายสัปดาห์ น้ำมันดิบ Brent บวก 24 เซนต์ ปิด 50.80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ลบ 1.8% รายสัปดาห์ (Reuters)

• ทองคำบวกวันศุกร์ บวกเป็นสัปดาห์ที่สองเพราะความกังวลเกี่ยวกับว่า Trump จะผลักดันกฎหมายให้ผ่านสภาคองเกรสกดดันดอลลาร์ ราคาทองคำตลาดจรปิดบวก 0.2% ที่ 1,247.66 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ทองบวก 1.6% รายสัปดาห์และในวันพฤหัสไปแตะ 1,253.12 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ อันเป็นจุดสูงสุดนับแต่ 28 ก.พ. ในสัปดาห์ก่อนหน้านั้นบวกไป 2%(Reuters)