สำรวจพะยูนประจำปีตรัง พบแนวโน้มเพิ่มขึ้น

สำรวจพะยูนประจำปีตรัง พบแนวโน้มเพิ่มขึ้น

นักบินชาวต่างชาติ ร่วมทีมสำรวจพะยูนในท้องทะเลตรัง พบมีประชากรเพิ่มขึ้น และฝูงพะยูนมีขนาดใหญ่ขึ้น

วานนี้ (26 มีนาคม 2560) ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้ส่งนักวิชาการกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก นำโดย ดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ นักวิชาการประมงชำนาญการกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก พร้อมเจ้าหน้าที่และนักบินชาวต่างชาติ นำเครื่องบินเล็ก 2 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ ทำการบินสำรวจพะยูนในทะเลตรัง

โดยเฉพาะบริเวณ รอบเกาะลิบง เกาะมุกด์ โดยเริ่มสำรวจตั้งแต่วันที่ 25-31 มีนาคม 2560 เพื่อสำรวจนับจำนวนประชากรพะยูนที่มีในแต่ละปี เพื่อนำข้อมูลมาพยากรณ์ว่าจำนวนของพะยูนที่พบหรือหายไปจะสามารถบอกสถานการณ์ของพะยูนในอนาคตได้ว่า จะมีแนวโน้มเป็นอย่างไรเนื่องจากพะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก โดยมีพะยูนฝูงใหญ่ที่สุด อยู่ที่จังหวัดตรัง
โดยจากการสำรวจประชากรพะยูนวันแรกของปีนี้ ซึ่งเป็นที่น่ายินดีพบฝูงพะยูนเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นรวมฝูงใหญ่ขึ้น อีกทั้งยังพบพะยูนคู่แม่ลูก เพิ่มจำนวนขึ้นด้วยมากกว่า 10 คู่ โดยจะส่งผลดีต่อจำนวนประชากรพะยูนในจังหวัดตรัง ที่มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น

ด้านนักบินชาวต่างชาติ Mr.Eduardo Loigorri Flying-Scout Pllot กล่าวว่า วันนี้ได้บินสำรวจพะยูนที่เกาะลิบง พบพะยูนแม่ลูก และมีจำนวนเพิ่มขึ้น ตนเองมีความสุข คิดว่าคนตรังดูแลดี เกี่ยวกับพะยูน และ ตนเองก็ช่วยสำรวจพะยูนมาโดยตลอดซึ่งปีนี้เป็นอีกครั้งที่สำคัญครบรอบ 10 ปีในการสำรวจพะยูน และทุกๆปีที่ผ่านมาเราเจอพะยูนในแต่ละเที่ยวบิน ระหว่าง 60 ตัว ถึง 150 ตัว

จากการสำรวจในแต่วันพบพะยูนจำนวนมาก ตนคิดว่า พะยูนที่อาศัยที่เกาะลิบงและเกาะมุกด์ คงจะมีความสุข มาก เพราะธรรมชาติสะอาดไม่มีปัญหา และมีแหล่งหญ้าทะเลอาหารของพะยูนที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพะยูนที่จะออกลูกหลานได้อย่างปลอดภัยและมีความสุขดีที่สุดในโลก

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจบินพะยูนทางอากาศติดต่อกันปีนี้เป็นปีที่ 10 แล้ว ที่ผ่านมาสามารถพบจำนวนประชากรพะยูนอยู่ที่มากกว่า 150 ตัว แต่สำหรับปีนี้ จากการขึ้นบินสำรวจในวันแรก ได้พบพะยูนหลายฝูง และฝูงพะยูนก็มีขนาดใหญ่ขึ้น พะยูนบางฝูงอยู่รวมกันมากกว่า 30 ตัว และที่สำคัญได้พบพะยูนคู่แม่ลูกเพิ่มจำนวนขึ้น ไม่น้อยกว่า 10 คู่
ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีเป็นข้อมูลที่ดีว่าพะยูนมีการเจริญเติบโตของประชากร และได้รับความร่วมจากหลายภาคส่วนทั้งทางภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนชาวตรังที่ร่วมอนุรักษ์ สำนึกอนุรักษ์ในทรัพยากรพะยูน จนทำให้ปีนี้เกิดเป็นรูปธรรมให้เห็นชัดเจนขึ้น จากจำนวนประชากรพะยูนมีปริมาณเพิ่มขึ้น

ซึ่งอยู่ร่วมกับชาวประมงพื้นที่บ้านจังหวัดตรัง อย่างมีความสุขและรู้สึกปลอดภัย มีอาหารหญ้าทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือร่วมแรงรวมใจจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชาวประมงพื้นบ้านเจ้าของพื้นที่ ได้ดูแล การเฝ้าระวังพื้นที่ในการดูแลปกป้องและป้องกันพะยูน และอยู่ร่วมกับพะยูนได้อย่างลงตัว