'ผอ.รพ.ตากใบ' คว้าแพทย์ดีเด่นชนบท59

'ผอ.รพ.ตากใบ' คว้าแพทย์ดีเด่นชนบท59

“นพ.สมชาย ศรีสมบัณฑิต” ผอ.รพ.ตากใบ คว้าแพทย์ดีเด่นชนบท59 หลังทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัยร่วม 30 ปี

นพ.สมุทร จงวิศาล ประธานคณะกรรมการคัดเลือกแพทย์ดีเด่นในชนบท ประจำปี 2559 กล่าวว่า ในปีนี้มีการเสนอชื่อแพทย์ที่ปฏอบัติงานในชนบท จำนวน 10 ราย หลังจากคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาคุณสมบัติทั้งการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข การบริหาร มนุษยสัมพันธ์ ความเสียสละ ความใฝ่รู้ในวิชาการ ความเป็นผูนำที่ดี และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม รวมทั้ง ระยะเวลาในการปฏอบัติงานในพื้นที่ชนบทติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี และได้เดินทางไปเยี่มและสัมภาษณ์ในพื้นที่ 

 ในที่สุดได้คัดเลือกแพทย์ดีเด่นในชนบทคนที่ 43 ประจำปี 2559 ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ นพ.สมชาย ศรีสมบัณฑิต ผู้อำนวยการรพ.ตากใบ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส โดยเป็นแพทย์ที่เกิด เติบโต ศึกษาและกลับมาพัฒนาบ้านเกิด เป็นทั้งแพทย์และผู้อำนวยการรพ.ตากใบมาถึง 29 ปี มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุรภาพโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และมุ่งมั่นรักษาผู้ป่วยให้มีคุรภาพชีวิตที่ดีขึ้น สนับสนุนให้คนในชุมชนรักสุขภาพ และส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีความรู้และทักษะในการให้บริการ เป็นตัวอย่างที่ดียิ่งให้แพทย์ที่จบใหม่เห็นคุณค่าของการทำงานในโรงพยาบาลชุมชน และเรียนรู้ถึงความสุขของชีวิตแพทย์ในชนบท

ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า นพ.สมชายเป็นผู้ที่มีความสามารถ เป็นผู้นำการพัฒนา แม้จะอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ก็สามารถปรับการบริการและปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และนำทีมผู้ให้บริการจนมีความพร้อมและมั่นคงในการดูแลประชาชนผู้ด้อยโอกาสอย่างต่อเนื่องยาวนาน เป็นแพทย์ที่เสียสละควาามสุขส่วนของตนเพื่อส่วนรวม เพื่อเกื้อกูลแก่เพื่อนมนุษย์ เป็นที่น่านับถือยกย่อง โดยผู้ได้รับรางวัลจะได้รับโล่เกียริตยศและเงินรางวัลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน 200,000 บาท บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) จำนวน 100,000 บาท และบริษัทเทอรูโม(ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 20,000 บาท

“ คนไทยยังมีคนดีและแพทย์ที่ดีอยู่อีกมาก ถ้าเราหมั่นทำความดี ความดีสะสมเรื่อยๆก็จะมีบารมี ภูมิคุ้มกันก็จะตามมา ความกลัวก็จะลดลง ก็จะมีความสุขและอยากทำความดีไปเรื่อยๆ เป็นวัฏจักรง่านๆแบบนี้”ศ.นพ.ประสิทธิ์กล่าว

นพ.สมชาย กล่าวว่า การที่ทำงานในชนบทได้นานเพราะรู้สึกว่าถูกจริตกับตนเอง เพราะได้ทำงานใน 2 ส่วน คือ การทำงานบริหารจัดการและการเป็นแพทย์ตรวจคนไข้จนปัจจุบันยังออกตรวจคนไข้ มิเช่นนั้นจะรู้สึกเสียดายที่ได้เรียนแพทย์มา โดยหลักการทำงายยึดตามพระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 9 เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา ซึ่งจะต้องเข้าถึงก่อนจึงจะสามารถเข้าใจได้ เนื่องจากบางครั้งคิดว่าเข้าใจแต่ไม่ได้เข้าถึงก็อาจเป็นการเข้าใจทีาผิด จากนั้นจึงเป็นการพัฒนา ซึ่งเป็นพระราชดำรัสที่ไม่มีใครชนะ แต่เกิดการชนะร่วมกัน เหมาะอย่างยิ่งต่องานด้านสาธารณสุข ส่วนคติในการใช้ชีวิต คือ อยู่ให้มีความสุข ใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย และการทำงานในพื้นที่ที่มีทั้งชาวไทยมุสลิมและไทยพุทธก็ต้องทำงานแบบไม่แบ่งแยก

“การทำงานด้านสาธารณสุขเป็นการทำสิ่งดีๆให้กับชาวบ้าน และไม่ใช่เป้าหมาย การทำงานก็ต้องพยายามเลี่ยงในจึกที่เป็นเป้าหมาย และการทำงานก็เป็นไปในลักษณะเข้าถึง เข้าใจและพัฒนาร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมาได้รับการชักชวนจากผู้บริหารหลายครั้งให้ย้ายออกนอกพื้นที่ ไปรับตำแหน่งอื่น แต่ผมไม่ไป เพราะทำงานในพื้นที่แล้วมีความสุข ไม่ต้องไปเอาใจผู้ใหญ่มาก เอาใจมากๆแค่ 2 ส่วนคือเจ้าหน้าที่รพ.และชาวบ้านในพื้นที่”นพ.สมชายกล่าว

วันเดียวกัน นพ.สมชาย แสดงปาฐกถาอุดม โปษะกฤษณะ เรื่อง ความสุข และความหวัง ที่ปลายด้ามขวาน แก่นักศึกษาแพทย์ศิริราช ตอนหนึ่งว่า การทำงานด้านสาธารณสุขใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ท่ามกลางพหุวัฒนธรรม ปกติก็ยากลำบากอยู่แล้วเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นๆของประเทศ เมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงและไม่สงบขึ้น ยิ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินงาน เกิดภาวะขาดแคลนแพทย์ พยาบาล ควาไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความหวาดระแวงต่างๆนานาน การทำงานเชิงรุกด้านสาธารณสุขเป็นไปได้ยาก และเต็มไปด้วยอุปสรรค หลายคนเลือกที่จะโยกย้ายออกนอกพื้นที่ไปทำงานที่อื่น แต่โรงพยาบาลตากใบเป็นโรงพยาบาลชุมชนแห่งเดียวใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่ไม่ประสบภาวะขาดแคลนแพทย์ ท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรง บุคลากรสหวิชาชีพอื่นๆโยกย้ายออกจากโรงพยาบาลน้อยมาก แต่กลับมีการขอโยกย้ายเข้ามาทำงานมากกว่ามาก

“ความสุขที่รพ.ตากใบ หมายถึงการได้ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่น สะอาด มีสุขภาพกายและใจที่ดี ได้ำงานที่มีความหมาย มีอิสระที่จะคิดค้นการดำเนินงานและได้รับการสนับสนุน เป็นการใช้ชีวิตอย่างมีความหมายกับเพื่อนร่วมงานอันเป็นที่รักและประชาชนชาวตากใบ และผมเชื่อมั่นว่าไม่ว่าใต้จะลุกเป็นไฟ ยาวนานเพียงใดก็ตาม ผลงาน ความสุข และความหวัง สู่สันติภาพยังเป็นไปได้เสมอ”นพ.สมชายกล่าว

อนึ่ง นพ.สมชาย เกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2503 เป็นชาวอ.เมือง จ.นราธิวาส เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้อง 9 คนของคุณพ่อยก และคุณแม่สุภรณ์ ศรีสมบัณฑิต สมรสกับคุณอาภาพรรณ ศรีสมบัณฑิต มีบุตรธิดา 3 คน สำเร็จแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มต้นการทำงานเป็นแพทย์ฝึกหัดที่รพ.มหาราชนครราชสีมา แพทย์รพ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ผอ.รพ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด ก่อนย้านมาเป็นผอ.รพ.ตากใบ เมื่อปี 2531 จนถึงปัจจุบัน