บันทึกความเชื่อมโยง ไทย-ยูนนาน ผ่านเส้นทาง R3A และแม่น้ำโขง

บันทึกความเชื่อมโยง ไทย-ยูนนาน ผ่านเส้นทาง R3A และแม่น้ำโขง

เส้นทาง R3A เป็นเส้นทางเศรษฐกิจสำคัญเชื่อมโยงภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนกับไทย โดยมีความยาว 1,888 กม. จากกรุงเทพฯ ผ่านลาว ไปถึงคุนหมิง

เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2551 แต่ในช่วงเวลานั้น การเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างฝั่งเชียงของของไทยกับฝั่งห้วยทรายของลาว ต้องพึ่งพาเรือและ

แพขนานยนต์ จนกระทั่งวันที่ 11 ธ.ค. 2556 จึงได้มีการเปิดใช้สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อย่างเป็นทางการ ทำให้เส้นทาง R3A มีความสมบูรณ์เชิงกายภาพ และถูกใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางด้านการค้า การขนส่ง และการท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 22 – 25 ส.ค. 2559 นายพรภพ อ่วมพิทยา กงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง ได้นำคณะหน่วยงานทีมประเทศไทยที่ดูแลมณฑลยูนนาน เดินทางเยือนเขตฯ สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน และจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย เพื่อสำรวจพัฒนาการ ศักยภาพ ปัญหาและอุปสรรคของการใช้เส้นทาง R3A และแม่น้ำโขง ในการเชื่อมโยงมณฑลยูนนานกับประเทศไทย

การสำรวจเส้นทางครั้งนี้ ห่างจากการสำรวจเส้นทางครั้งก่อนหน้านี้ถึง 2 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลามากพอที่กระแสการพัฒนาอย่างรวดเร็วจะทำให้หลายสิ่งเปลี่ยนแปลงไปจนแทบจำไม่ได้ นับว่าเป็นการกล่าวถึงศักยภาพในการพัฒนาประเทศของจีนได้อย่างไม่เกินเลยไปจากความเป็นจริง

2 ปีก่อน คณะสำรวจเดินทางโดยรถยนต์จากคุนหมิงไปเมืองจิ่งหง ใช้เวลาประมาณ 7 ชั่วโมง และตลอดเส้นทางเป็นถนนทางด่วน 4 – 8 ช่องจราจร ซึ่งมีสภาพดีใช้ได้ ครั้งนี้จึงเดินทางโดยเครื่องบินเพื่อประหยัดเวลา โดยออกเดินทางจากคุนหมิงตั้งแต่เช้าตรู่ของวันที่ 22 ส.ค. 2559 สนามบินฉางสุ่ยคุนหมิงยามเช้าคราคร่ำไปด้วยผู้คน คนมากจนคณะสำรวจจวนเจียนจะตกเครื่อง สะท้อนว่า การเดินทางทางอากาศเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมจากชาวจีนมากขึ้น ซึ่งจำนวนผู้โดยสารเครื่องบินของจีน มีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดในโลก

เมื่อเดินทางถึงเมืองจิ่งหง เขตฯ สิบสองปันนา นอกจากได้สัมผัสถึงอากาศร้อนชื้นเหมือนประเทศไทยแล้ว ยังได้เห็นสภาพเมืองที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งการขยายถนนหนทาง และการก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ 2 โครงการ ได้แก่ เก้าจอมสิบสองเชียง และ Wanda สิบสองปันนา ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนนับแสนล้านบาท

คณะสำรวจได้ใช้เวลาช่วงเช้าหารือกับหน่วยงานภาครัฐของเขตฯ สิบสองปันนา ประกอบด้วย สำนักงานการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจ สำนักงานพาณิชย์ คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูป สำนักงานการท่องเที่ยว และสมาคมนำเข้า-ส่งออก ซึ่งฝ่ายสิบสองปันนาแสดงความกระตือรือล้นที่จะมีความร่วมมือกับไทย ทั้งในด้านการค้า การลงทุน วัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชน โดยเฉพาะการพัฒนาความเชื่อมโยงซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือ

ช่วงบ่าย คณะออกจากเมืองจิ่งหงใช้เส้นทาง R3A เพื่อไปยังท่าเรือกวนเหล่ยในแม่น้ำโขง (“แม่น้ำล้านช้าง” ในภาษาจีน) คนขับรถต้องใช้ความระมัดระวังเพราะมีการขยายถนนตลอดเส้นทาง จากทางหลวง 2 ช่องจราจรเป็นทางด่วน 4 ช่องจราจร คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน เม.ย. 2560

เมื่อถึงเขตหมู่บ้านเหมิ่งเยวี่ยน ซึ่งเป็นเวลาค่อนข้างเย็นแล้ว รถต้องเลี้ยวออกจากเส้นทาง R3A วิ่งตรงไปยังทิศตะวันตก ระยะทางจากนี้ไปจนถึงท่าเรือกวนเหล่ย คนขับรถต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะสภาพถนน 2 ช่องจราจรเป็นหลุมบ่อลึก บางช่วงรถไม่สามารถแล่นสวนกันได้ นอกจากนี้ ยังพบเห็นรถบรรทุกทรายจำนวนมาก โดยมีรถสินค้าบ้าง จึงทำให้ถนนมีสภาพเช่นนี้

ใช้เวลาเกือบ 4 ชั่วโมงตั้งแต่ออกมาจากเมืองจิ่งหง คณะสำรวจก็เดินทางถึงท่าเรือกวนเหล่ยโดยมีหัวหน้าคณะกรรมการบริหารเขตกวนเหล่ยให้การต้อนรับ ทั้งนี้ ท่าเรือกวนเหล่ยเป็นจุดตรวจคนเข้าเมืองสำหรับผู้ใช้เส้นทางแม่น้ำโขง (ท่าเรือจิ่งหงไม่มีจุดตรวจคนเข้าเมือง) สินค้าเข้า-ออกท่าเรือกวนเหล่ยส่วนมากเป็นการขนส่งจาก/ไปยังท่าเรือเชียงแสนของไทย จากการหารือกับหัวหน้าคณะกรรมการบริหารเขตกวนเหล่ย ทำให้ทราบถึงความสำคัญที่รัฐบาลยูนนานมอบให้แก่ท่าเรือกวนเหล่ย และอนาคตของการค้าในแม่น้ำโขงที่จะเจริญเติบโตขึ้น โดยรัฐบาลยูนนานมีแผนพัฒนาท่าเรือกวนเหล่ยโดยการสร้างห้องเย็น/ต่อเรือรองรับคอนเทนเนอร์แช่เย็น เพื่อรองรับการที่ท่าเรือกวนเหล่ยถูกกำหนดเป็นด่านนำเข้าชิ้นส่วนจากสัตว์เพียงด่านเดียวในยูนนาน และมีแผนพัฒนาทางด่วนเหมิ่งเยวี่ยน–กวนเหล่ย 4 ช่องจราจร ตลอดจนแผนขยายร่องน้ำโขง เพื่อรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ช่วงเช้าของวันที่ 23 ส.ค. 2559 คณะสำรวจได้พบหารือกับคณะกรรมการบริหาร Key pilot development and opening up zone อำเภอเหมิ่งล่า (ด่านบ่อหาน) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเร่งพัฒนาพื้นที่ชายแดนตามแนวคิด One Belt One Road ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เพื่อส่งเสริม

การพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ชายแดนแต่ละแห่งและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งอำเภอเหมิ่งล่า (ด่านบ่อหาน) มีความสำคัญด้านยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงกับลาว และไทย เนื่องจากเป็นจุดผ่านของเส้นทาง R3A ซึ่งอยู่ระหว่างการขยายช่องจราจร และเส้นทางรถไฟจีนลาวไทย ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างเส้นทางรถไฟจากคุนหมิงไปถึงด่านบ่อหาน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564 เพื่อเชื่อมต่อไปยังเวียงจันทน์ของลาว

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรองรับปริมาณคน พาหนะ และสินค้าที่จะผ่านเข้า-ออก ที่อาจเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ด่านบ่อหานจึงดำเนินการก่อสร้างจุดผ่านแดนสำหรับสินค้าด่านบ่อหาน (จีน)-ด่านบ่อเต็น (ลาว) แยกออกจากจุดผ่านแดนสำหรับประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดของด่านชายแดนจีน-ลาว ที่เกิดจากการที่ประชาชนและสินค้ายังใช้จุดผ่านแดนร่วมกัน

เมื่อข้ามไปยังด่านบ่อเต็นของลาวในช่วงสายของวันที่ 23 ส.ค. 2559 คณะสำรวจได้พบหารือกับตัวแทนหน่วยงานภาครัฐของลาวประจำด่านบ่อเต็น และได้สำรวจจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าและบริเวณโดยรอบ พบว่า มีอาคารบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นจากเมื่อ 2 ปีที่แล้วอย่างชัดเจน มีรถหัวลากบรรทุกคอนเทนเนอร์ป้ายทะเบียนจีน ลาว และไทยจำนวนมากจอดเปลี่ยนถ่ายสินค้า เนื่องจากรถขนสินค้าจีนและไทยยังวิ่งถึงกันไม่ได้ จึงต้องจอดถ่ายสินค้าที่ลาว ดังนั้น เพื่อไม่ให้ลาวเป็นเพียงทางผ่านสำหรับสินค้าและนักท่องเที่ยวไทย-จีน ลาวจึงจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็น โดยให้สัมปทาน 90 ปี แก่เอกชนจีนเพื่อพัฒนาสาธารณูปโภครองรับธุรกิจการท่องเที่ยว อาทิ ร้านค้าปลอดภาษี โรงแรม 5 ดาว สนามกอล์ฟ ทะเลสาบจำลอง หมู่บ้านวัฒนธรรม การแสดงพื้นเมือง ตลาดนัดกลางคืน และแหล่งบันเทิง ปัจจุบันมีการลงทุนไปแล้ว 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยร้านค้าปลอดภาษีได้เปิดให้บริการแล้ว รวมทั้งกลุ่มอาคารพาณิชย์โดยรอบที่ประกอบกิจการร้านอาหาร และโรงแรมขนาดเล็ก

จากชายแดนจีน (บ่อหาน) ไปจนถึงชายแดนไทย (เชียงของ) ผ่านดินแดนลาวมีระยะทางเพียง 247 กิโลเมตร แต่ถนน 2 ช่องจราจรที่มีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อและคดเคี้ยว ทำให้ต้องใช้เวลาเดินทางไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะเมื่อฝนตก ก็จำเป็นต้องชะลอความเร็ว เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ อย่างไรก็ตาม เส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้าระหว่างไทย-ยูนนาน จึงมีรถหัวลากบรรทุกคอนเทนเนอร์ ขนาด 40 ฟุตจำนวนมาก และเกิดอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำเป็นประจำ ซึ่งอาจจัดเป็นต้นทุนอีกประการหนึ่งในการใช้เส้นทาง R3A นอกเหนือจากต้นทุนเวลาและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเปลี่ยนถ่ายสินค้า ณ ด่านบ่อเต็น

คณะสำรวจเดินทางถึงด่านเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในช่วงเย็นของวันที่ 23 ส.ค. 2559 โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากผู้กำกับการด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงแสน และรักษาการนายด่านศุลกากรเชียงของ โดยได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการค้า การท่องเที่ยว และความมั่นคง

ด่านเชียงของนอกจากเป็นด่านการค้าสำคัญของไทยกับลาวและจีน ยังเป็นประตูต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนที่นิยมขับรถยนต์มาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยผ่านเส้นทาง R3A ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการเปิดใช้สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2556 แต่พฤติกรรมการขับรถของนักท่องเที่ยวจีนบางคนและกฎจราจรของจีนที่แตกต่างกับไทย ก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและการใช้ถนนหนทางของประชาชนในพื้นที่พอสมควร และมักเกิดอุบัติเหตุอยู่เนืองๆกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศหลักเกณฑ์การอนุญาตรถต่างชาติข้ามแดนเข้ามาในไทย โดยมีผลในวันที่ 28 มิ.ย. 2559

ทั้งนี้ ในช่วงแรกซึ่งตรงกับที่คณะสำรวจเดินทางไป พบว่า ด่านเชียงของมีจำนวนนักท่องเที่ยวจีนและรถยนต์จีนลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยนักท่องเที่ยวจีน ใช้วิธีจอดรถยนต์ที่ฝั่งห้วยทรายของลาว แล้วข้ามฝั่งมาไทยโดยใช้บริการรถท่องเที่ยว โดยอาจเป็นเพราะนักท่องเที่ยวจีนยังไม่เข้าใจกับกฎระเบียบใหม่ของไทย ที่เป็นเรื่องการกำหนดขั้นตอนการขออนุญาตล่วงหน้า มิใช้เป็นการห้ามเดินทางโดยรถยนต์ จึงเปลี่ยนเป็นการเดินทางโดยวิธีอื่นแทน

ช่วงเช้าของวันที่ 24 พ.ย. 2559 คณะสำรวจได้เยี่ยมชมท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนและหารือกับนายด่านศุลกากรเชียงแสน พบว่า การขนส่งทางแม่น้ำโขงเป็นอีกทางหนึ่งสำหรับการค้าระหว่างไทยกับจีน ลาว และเมียนมา สินค้านำเข้า ได้แก่ ผลไม้/ผักสด สินค้าส่งออก ได้แก่ ผลไม้อบแห้ง (ลำไย) ยางพารา และชิ้นส่วนไก่แช่แข็ง ทั้งนี้ ปัญหาระดับน้ำที่ไม่คงที่ตลอดทั้งปีเป็นอุปสรรคสำหรับการขนส่งสินค้าในแม่น้ำโขง ทำให้ในช่วงหน้าแล้งต้องใช้เรือระวางขนาดเล็ก (100-150 ตัน) แทนการใช้เรือระวางขนาดใหญ่ (300 ตันขึ้นไป) ซึ่งการควบคุมระดับน้ำให้เพียงพอต่อการเดินเรือจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากจีนในการปล่อยน้ำจากเขื่อนเก็บกักน้ำที่อยู่ต้นเส้นทางแม่น้ำโขงภายในดินแดนจีน รวมทั้งการดำเนินการขยายร่องน้ำในแม่น้ำโขงเพื่อให้สามารถรองรับเรือระวางขนาดใหญ่ได้

ช่วงบ่าย กงสุลใหญ่ฯ และนายประจญ ปรัชญ์สกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานร่วมในการประชุมหารือกับส่วนราชการและภาคเอกชนของจังหวัดเชียงราย ในหลายประเด็น อาทิ 1) การค้าไทย-จีนผ่านจังหวัดเชียงราย ร้อยละ 60 เป็นการนำเข้า-ส่งออกผ่านด่านเชียงของ และร้อยละ 40 ผ่านด่านเชียงแสน นอกจากนี้ สินค้าที่ส่งออกไปลาวกว่าร้อยละ 80 จะถูกส่งต่อไปยังจีน

2) ปัญหาอุปสรรคในเส้นทาง R3A ได้แก่ ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ซึ่งบริษัทขนส่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทจีน และการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ไม่แน่นอนในฝั่งลาว 3) สถานการณ์การท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะภายหลังการประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับการนำรถยนต์ต่างชาติเข้ามาในราชอาณาจักร

คณะสำรวจได้ใช้เวลา 3 วัน เดินทางผ่าน 3 ประเทศ โดยได้รับทราบถึงพัฒนาการ ศักยภาพ ปัญหาและอุปสรรคในการใช้เส้นทางR3Aและแม่น้ำโขง รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ การพัฒนาพื้นที่ชายแดนของจีน[1] ลาว และไทย โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์สำหรับการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาลู่ทางในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันต่อไป

ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยก็ต้องเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการพัฒนาดังกล่าว เพื่อเร่งเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยในอนาคต หากจีนขยายร่องน้ำในแม่น้ำโขงให้สามารถรองรับเรือสินค้าระวางขนาดใหญ่ขึ้น (500 ตัน) และพัฒนาท่าเรือกวนเหล่ยให้มีศักยภาพรองรับการค้าได้มากขึ้น โดยการต่อเรือรองรับคอนเทนเนอร์แช่เย็น สร้างห้องเย็น และสร้างทางด่วน 4 ช่องจราจรเหมิ่งเยวี่ยน–กวนเหล่ย รวมถึงหากโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมจีน-ลาว-ไทยแล้วเสร็จ โดยที่รถไฟรองรับการขนส่งสินค้าได้ด้วย การขนส่งทางน้ำและการขนส่งระบบรางก็อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการค้าระหว่างไทย-ยูนนาน นอกเหนือจากการขนส่งผ่านเส้นทาง R3A

ในกรณีที่ทั้งไทยและจีนให้ความสำคัญและมีนโยบายพัฒนาพื้นที่ชายแดน ซึ่งล้วนมีเป้าหมายในการดึงดูดนักลงทุนเพื่อให้พื้นที่ชายแดนเป็น hub ของกิจกรรม cross-border ในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของฝ่ายไทย โดยนโยบายของจีนในแง่หนึ่งจะสามารถช่วยส่งเสริมนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย ในลักษณะของการเป็นต้นทาง-ปลายทางของเส้นทาง R3A แต่อีกแง่หนึ่ง ก็อาจเป็นคู่แข่งในการดึงดูดนักลงทุน โดยหากพื้นที่ใดมีความพร้อมและมีสิทธิประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมมากกว่า ก็จะสามารถดึงดูดนักลงทุนได้มากกว่า และจะกลายเป็นศูนย์กลางของกิจกรรม cross-border ในอนุภูมิภาคต่อไป

ช่วงเช้าของวันที่ 24 พ.ย. 2559 คณะสำรวจได้เยี่ยมชมท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนและหารือกับนายด่านศุลกากรเชียงแสน พบว่า การขนส่งทางแม่น้ำโขงเป็นอีกทางหนึ่งสำหรับการค้าระหว่างไทยกับจีน ลาว และเมียนมา สินค้านำเข้า ได้แก่ ผลไม้/ผักสด สินค้าส่งออก ได้แก่ ผลไม้อบแห้ง (ลำไย) ยางพารา และชิ้นส่วนไก่แช่แข็ง ทั้งนี้ ปัญหาระดับน้ำที่ไม่คงที่ตลอดทั้งปีเป็นอุปสรรคสำหรับการขนส่งสินค้าในแม่น้ำโขง ทำให้ในช่วงหน้าแล้งต้องใช้เรือระวางขนาดเล็ก (100-150 ตัน) แทนการใช้เรือระวางขนาดใหญ่ (300 ตันขึ้นไป) ซึ่งการควบคุมระดับน้ำให้เพียงพอต่อการเดินเรือจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากจีนในการปล่อยน้ำจากเขื่อนเก็บกักน้ำที่อยู่ต้นเส้นทางแม่น้ำโขงภายในดินแดนจีน รวมทั้งการดำเนินการขยายร่องน้ำในแม่น้ำโขงเพื่อให้สามารถรองรับเรือระวางขนาดใหญ่ได้

                        ช่วงบ่าย กงสุลใหญ่ฯ และนายประจญ ปรัชญ์สกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานร่วมในการประชุมหารือกับส่วนราชการและภาคเอกชนของจังหวัดเชียงราย ในหลายประเด็น อาทิ 1) การค้าไทย-จีนผ่านจังหวัดเชียงราย ร้อยละ 60 เป็นการนำเข้า-ส่งออกผ่านด่านเชียงของ และร้อยละ 40 ผ่านด่านเชียงแสน นอกจากนี้ สินค้าที่ส่งออกไปลาวกว่าร้อยละ 80 จะถูกส่งต่อไปยังจีน

2) ปัญหาอุปสรรคในเส้นทาง R3A ได้แก่ ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ซึ่งบริษัทขนส่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทจีน และการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ไม่แน่นอนในฝั่งลาว 3) สถานการณ์การท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะภายหลังการประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับการนำรถยนต์ต่างชาติเข้ามาในราชอาณาจักร

                        คณะสำรวจได้ใช้เวลา 3 วัน เดินทางผ่าน 3 ประเทศ โดยได้รับทราบถึงพัฒนาการ ศักยภาพ ปัญหาและอุปสรรคในการใช้เส้นทาง R3A และแม่น้ำโขง รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ

การพัฒนาพื้นที่ชายแดนของจีน[1] ลาว และไทย โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์สำหรับการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาลู่ทางในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันต่อไป

ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยก็ต้องเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการพัฒนาดังกล่าว เพื่อเร่งเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยในอนาคต หากจีนขยายร่องน้ำในแม่น้ำโขงให้สามารถรองรับเรือสินค้าระวางขนาดใหญ่ขึ้น (500 ตัน) และพัฒนาท่าเรือกวนเหล่ยให้มีศักยภาพรองรับการค้าได้มากขึ้น โดยการต่อเรือรองรับคอนเทนเนอร์แช่เย็น สร้างห้องเย็น และสร้างทางด่วน

4 ช่องจราจรเหมิ่งเยวี่ยน–กวนเหล่ย รวมถึงหากโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมจีน-ลาว-ไทย

แล้วเสร็จ โดยที่รถไฟรองรับการขนส่งสินค้าได้ด้วย การขนส่งทางน้ำและการขนส่งระบบรางก็อาจเป็น

อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการค้าระหว่างไทย-ยูนนาน นอกเหนือจากการขนส่งผ่านเส้นทาง R3A

หรือในกรณีที่ทั้งไทยและจีนให้ความสำคัญและมีนโยบายพัฒนาพื้นที่ชายแดน ซึ่งล้วนมีเป้าหมายในการดึงดูดนักลงทุนเพื่อให้พื้นที่ชายแดนเป็น hub ของกิจกรรม cross-border ในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของฝ่ายไทย โดยนโยบายของจีนในแง่หนึ่งจะสามารถช่วยส่งเสริมนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย ในลักษณะของการเป็นต้นทาง-ปลายทางของเส้นทาง R3A แต่อีกแง่หนึ่ง ก็อาจเป็นคู่แข่งในการดึงดูดนักลงทุน

โดยหากพื้นที่ใดมีความพร้อมและมีสิทธิประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมมากกว่า ก็จะสามารถดึงดูดนักลงทุน

ได้มากกว่า และจะกลายเป็นศูนย์กลางของกิจกรรม cross-border ในอนุภูมิภาคต่อไป

[1] ตาม “แผนพัฒนาพื้นที่ชายแดนและเปิดกว้างสู่ภายนอกของมณฑลยูนนาน 2559-2563” และ “แผนสร้างเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอำเภอเหมิ่งล่า (บ่อหาน) 2558-2568” ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaibizchina.com