ยังถูกกดดันจากเงินทุนไหลออก แต่มีโอกาสฟื้น กลุ่มอาหาร/เกษตร

ยังถูกกดดันจากเงินทุนไหลออก แต่มีโอกาสฟื้น กลุ่มอาหาร/เกษตร

คาดเห็นการผลักดันหุ้นรายตัว ขณะที่ตลาดไม่ไปไหน เคลื่อนไหวในกรอบ 1465-1485

UOBKH แนวโน้มตลาดวันนี้ :  ยังถูกกดดันจากเงินทุนไหลออก แต่มีโอกาสฟื้น กลุ่มอาหาร/เกษตร น่าสนใจ

เราคาดการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยยังแกว่งตัวในกรอบ ความน่าจะเป็นที่ตลาดมองเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย ธ.ค.เพิ่มขึ้นสู่ 98% ส่งผลให้เงินเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว และ Dollar Index ปรับขึ้นสู่ 101. 22 ทำจุดสูงสุดในรอบ 2 ปี .แม้ภาพรวมยังคงมีแรงกดดันจากเงินทุนไหลออก แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปีที่ปรับขึ้นมาสู่ 2.37% อยู่ในระดับที่สะท้อนความเสี่ยงและเริ่มเห็นแรงซื้อคืน ทำให้การปรับลดลงของหุ้นไทยและหุ้นโลก น่าจะอยู่ในระดับที่ชะลอตัวลง ซึ่งจะสนับสนุนการผลักดันหุ้นเป็นรายตัวเช่นปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

กลุ่มอาหารและเกษตร มีความโดดเด่นต่อการเก็งกำไรระยะสั้นจาก 1) เกาหลีอนุมัติการนำเข้าไก่สดไทยในรปบ 12 ปี 2) กระทรวงแรงงานเดินทางไปชี้แจงสหภาพยุโรปเรื่องการแก้ไขปัญหาแรงงานประมงผิดกฎหมาย (IUU) วันที่ 22 พ.ย.นี้ และ 3) ราคายางที่ตลาด TOCOM เช้านี้ปรับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 220 เยน เรามอง หุ้นที่น่าสนใจได้แก่ GFPT CPF TFG TU STA TRUBB // ค้าปลีก - รัฐบาลเตรียมมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพและกระตุ้นการจับจ่ายของประชานชนช่วงสิ้นปี เป็นบวกต่อหุ้นบริโภคในประเทศ ROBINS // กลุ่มหล็ก – ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/59 เริ่มฟื้น ขณะไตรมาส 4/59 น่าจะดีทั้งจากราคาเหล็ก และมาตรการเอดีเหล็ก บวกต่อการเก็งกำไร AMC PAP SMIT THE TMT

ปัจจัยติดตามอื่นๆ: ข้อมูลบริษัทจาก Opportunity day: 21 พ.ย. – TASCO, GLOBAL, JSP, SPCG, GOLD, BJCHI / 22 พ.ย. – SELIC, MILL / 23 พ.ย. – TU, KOOL, CPN, CHO, KIAT, BA / 24 พ.ย. – BIZ, AH, TSR, BAFS, TK, PCSGH / 28 พ.ย. – BANPU, LHK, NDR, TMILL, TTA, K / โอเปคหารืออีกครั้งเกี่ยวกับการลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบ 30 พ.ย. / ประชุมเฟดวันที่ 13-14 ธ.ค. (ทราบผลเช้า 15 ธ.ค.)

แนวรับ/แนวต้าน : 1465 /1485 สัดส่วนการลงทุน : เงินสด 40% : พอร์ตหุ้น 60%

คำแนะนำทางกลยุทธ์ : คาดเห็นการผลักดันหุ้นรายตัว ขณะที่ตลาดไม่ไปไหน เคลื่อนไหวในกรอบ 1465-1485 กลยุทธ์วันนี้ขอเลือกหุ้นรายตัวที่มีประเด็นเฉพาะ และมีฐานการผลิตหรือเติบโตอิงสหรัฐฯ ยังขอเลี่ยงหุ้นกลุ่มบันเทิงเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะถูกปรับลดประมาณการ // หุ้น top pick เชิงกลยุทธ์ TU, PTTGC, EPG*/ เก็งกำไร TTA*, DTAC*, STA*

ประเด็นเก็งกำไรเชิงกลยุทธ์

- กลุ่มอาหาร/เกษตร/ยาง/เรือ: GFPT*, CPF, TFG*, TU, STA*, TRUBB*, TTA*, PSL*, RCL*

- หุ้นที่ได้ประโยชน์จาก USD แข็งค่า: BH, ERW, IRPC, PTT, TU / ยูโรอ่อน: THAI, TPIPL

- หุ้นที่มีธุรกิจ หรือฐานการผลิตในสหรัฐฯ: IVL, EPG, TU

- หุ้นได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น (เงินเฟ้อ): BLA*, TIP*, EASTW*

- หุ้นที่ได้รับแรงหนุนจากฤดูกาลปลายปี: TU, ROBINS, BCP, AP, BDMS, BH, BCH, DCC, DRT

หุ้นแนะนำ

TU (24.50) : กำไรปี 2560 เติบโต 16.6% สูงสุดในกลุ่มอาหาร ได้ปรับประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อน และการเติบโตมีโอกาสดีกว่าคาดจากการเข้าซื้อกิจการเพิ่มเติมในอนาคต สำหรับดีลล่าสุด Red Lobster ซึ่งเป็นเครือข่ายร้านอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก คาดบริษัทสามารถพลิกให้ธุรกิจกลับมากำไรได้ในปี 2560

PTTGC (70) : ผลประกอบการรายไตรมาสยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่องจากจุดต่ำสุดไตรมาส 2/59 ขณะที่ earnings momentum ระยะกลางโดดเด่น โดยคาดกำไรปี 2560 เติบโตถึง 29.5%

EPG (16) : หุ้นขนาดกลางที่มีผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรม (ฉนวนกันความร้อน แผ่นปูรองพื้นรถกระบะ และบรรจุภัณฑ์) คาดผลการเข้าซื้อธุรกิจในออสเตรเลียเริ่มส่งผลบวก ขณะที่ฐานการผลิตในสหรัฐฯ มีโอกาสได้รับผลดีหากมีการลดภาษีนิติบุคคล

TTA* (11) : เก็งกำไร BDI และราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีที่ 11.76 บาท / ตัดขาดทุนที่ 9.10 บาท

DTAC (38) : ราคาหุ้นปรับลดลงมากเกินไป ซื้อขายที่เพียง 36% ของ market cap TRUE ในขณะที่มีมูลค่าของลูกค้าหนึ่งราย (EV/Subscriber) ที่ 4,481 บาท ต่ำกว่า TRUE ที่ 13,313 บาท ทั้งที่ยังคงมีลูกค้า 25.7 ล้านราย (TRUE ที่ 22.6 ล้านราย) / ตัดขาดทุนที่ 35.25 บาท

STA (17) : ราคายางเริ่มกลับเป็นขาขึ้น ขณะที่ราคาหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีที่ 16.54 บาท
(* หุ้นที่ไม่อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH/หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์ ผู้ลงทุนควรพิจารณาจุดตัดขาดทุน ราว 3-5%)



ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุน

ปัจจัยภายในประเทศ

+ “สมคิด” เผยปีหน้าเศรษฐกิจยังไม่ฟื้น เร่งลงทุนเพื่อประคองเศรษฐกิจในประเทศ นักวิเคราะห์ชี้ 3 ปัจจัยเสี่ยง “นโยบายสหรัฐ-สินค้าเกษตร-ผลปราบทัวร์ศูนย์เหรียญ” ขณะกลุ่มรถยนต์มองตลาดกระเตื้อง หลังครบกำหนดรถยนต์คันแรก ด้านอสังหาฯ คาดโต 5% (กรุงเทพธุรกิจ)

+ รถไฟฟ้าหนุน 11 ทำเลทอง แจ้งเกิดย่านธุรกิจใหม่-ที่อยู่อาศัยชนชั้นกลาง ดันราคาที่ดินทั่วกรุงเทพฯ ก้าวกระโดด สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย “หัวลำโพง-บางแค” ทะลุ 9 แสนบาท สายสีเขียวเหนือ “หมอชิต-สะพานใหม่” เพิ่ม 2 เท่า เป็น 3.6 แสนบาทต่อ ตร.ว. (กรุงเทพธุรกิจ)

+ “พาณิชย์” เตรียมจับมือห้าง ร้านค้าส่งค้าปลีกกว่า 1.35 หมื่นสาขาทั่วประเทศ ลดราคาขายสินค้าพร้อมกันทั้งประเทศ ช่วงปลายปีนี้ 20-80% หวังลดค่าครองชีพและกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงปลายปี พร้อมดึงโชห่วยร่วมลดราคาให้ชาวบ้านด้วย (ไทยรัฐ)

- กฝผ. โอดรัฐบาลหั่นงบลงทุน 60 เหลือ 50,000 ล้านบาท หลังเผยผุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน กระบี่-เทพาไม่คืบ พร้อมเดินหน้าพัฒนาระบบสายส่ง ฟุ้งไตรมาสแรกปีหน้า สามารถเบิกจ่ายไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (ไทยโพสต์)

- นักลงทุนต่างชาติ เทขาย “หุ้น-บอนด์ไทย” ต่อเนื่อง เผยตลาดบอนด์สัปดาห์เดียวถล่มขายร่วม 5.4 หมื่นล้าน “ไทยบีเอ็มเอ” ระบุบอนด์ยีลด์ระยะสั้นไม่กระทบ ขณะรุ่นระยะยาวอายุ 10 ปี พุ่งแตะ 2.6% ทุบสถิติรอบปี ส่อกระทบแผนระดมทุนยาว ด้านนักวิเคราะห์ ฟันธงทุนนอกส่อไหลออกต่อเนื่องถึงสิ้นปี (กรุงเทพธุรกิจ)

ปัจจัยต่างประเทศ

- ตลาดหุ้นสหรัฐปิดลดลงในวันศุกร์ โดยหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์นำตลาดปรับตัวลง เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรจากการทะยานขึ้นหลังการเลือกตั้ง และตลาดรอความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดลบ 35.89 จุดหรือ 0.19% สู่ 18,867.93, ดัชนี S&P 500 ปิดลดลง 5.22 จุดหรือ 0.24% สู่ 2,181.90 และดัชนี Nasdaq ปิดปรับตัวลง 12.46 จุดหรือ 0.23% สู่ 5,321.51(รอยเตอร์)

- ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะสามารถหาหนทางในการจำกัดปริมาณการผลิตน้ำมันในการประชุมวันที่ 30 พ.ย. ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนธ.ค.ปรับขึ้น 27 เซนต์ หรือ 0.6 % มาปิดตลาดที่ 45.69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (รอยเตอร์)

- ดัชนี FTSE 100 ที่ตลาดหุ้นอังกฤษปิดร่วงลงในวันศุกร์ โดยหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ถ่วงตลาดร่วงลง หลังจากราคาโลหะพื้นฐานและราคาโลหะมีค่าได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ ทั้งนี้ ดัชนี FTSE 100 ปิดร่วงลง 18.94 จุด หรือ 0.28 % สู่ 6,775.77 อย่างไรก็ดี ดัชนีปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนบวกเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว และถือเป็นการปิดตลาดรายสัปดาห์ในแดนบวกเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน (รอยเตอร์)

+ ดัชนีนิกเกอิที่ตลาดหุ้นโตเกียวปิดตลาดเพิ่มขึ้นมาที่ระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือนครึ่งในวันศุกร์ ขณะที่เยนอ่อนค่าลงอีกเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มแนวโน้มสำหรับผลประอบการที่ดีเกินคาดของผู้ส่งออก ทั้งนี้ ดัชนีนิกเกอิปิดตลาดบวก 104.78 จุด หรือ 0.59% ที่ 17,967.41 ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.(รอยเตอร์)