ระยะสั้นอาจฟื้นตัว แต่ยังถูกกดดันจากเงินทุนไหลออก

ระยะสั้นอาจฟื้นตัว แต่ยังถูกกดดันจากเงินทุนไหลออก

ตลาดอ่อนแอกว่าคาด ทำให้กรอบการเคลื่อนไหวขยับมาอยู่ที่ 1450-1490

UOBKH แนวโน้มตลาดวันนี้ : ระยะสั้นอาจฟื้นตัว แต่ยังถูกกดดันจากเงินทุนไหลออก


เราคาดตลาดยังมีแรงกดดัน จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับขึ้นกดดันให้เงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ (Emerging market) และกดดันต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทย ทำให้ตลาดหุ้นเกิดใหม่ รวมทั้งประเทศกลุ่ม TIP (ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์) อาจเคลื่อนไหวแย่กว่า (Underperform) ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และหุ้นโลก อย่างไรก็ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ระดับ 2.20-2.40% เป็นระดับที่ความเร็วของการปรับขึ้นน่าจะเริ่มชะลอตัวลงและเราอาจเห็นตลาดตั้งหลักหรือเริ่มทรงตัว โดยมีปัจจัยการรายงานผลประกอบการของหุ้นจำนวนมากในช่วง 1-2 วันนี้ เป็นตัวหนุน

ปัจจัยที่สำคัญ : MSCI มีการปรับดัชนีในรอบ พ.ย. (รอบก่อนหน้านี้คือ ก.พ. พ.ค. ส.ค.) ซึ่งดัชนี MSCI Thailand Index มีหุ้นเข้า 2 ตัว ได้แก่ BJC และ KCE / สำหรับดัชนี MSCI Thailand Small Cap มีหุ้นถูกนำเข้า 4 ตัว (COM7, MALEE, TKN, TFG) และถูกนำออกจากการคำนวณ 8 ตัว (ASP, BJCHI, CBG, COL, CGD, DNA, ROJNA, KCE) ทั้งนี้พฤติกรรมของหุ้นที่ถูกนำเข้าคำนวณในดัชนี มักให้ผลตอบแทนเป็นบวกก่อนการประกาศ แต่มักเคลื่อนไหวด้อยลงหลังประกาศ ทั้งนี้ปริมาณซื้อขายหุ้นข้างต้นในวันที่ 30 พ.ย. อาจสูงผิดปกติได้

ปัจจัยติดตามอื่นๆ : จับตาการประมูลพันธบัตรไทย 10 ปี มูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท พุธนี้ / การหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกับว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ วันพฤหัส / ราคาทองแดงปรับขึ้น 19% ใน 2 สัปดาห์ เป็นลบต่อหุ้นในกลุ่มอิเล้กทรอนิกส์ / 15 พ.ย. – GDP เยอรมัน / 16 พ.ย. – US Crude Oil Invesntory

แนวรับ/แนวต้าน : 1450,1465 /1475, 1490 สัดส่วนการลงทุน : เงินสด 40% : พอร์ตหุ้น 60%

คำแนะนำทางกลยุทธ์ : ตลาดอ่อนแอกว่าคาด ทำให้กรอบการเคลื่อนไหวขยับมาอยู่ที่ 1450-1490 การเก็งกำไรเน้นหุ้นที่ไม่เสียเปรียบต้นทุน (ยังขึ้นไม่มาก) มีประเด็นเฉพาะตัว รวมทั้งหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น และมีฐานการผลิตหรือเติบโตอิงสหรัฐฯ ยังขอเลี่ยงหุ้นกลุ่มบันเทิงเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะถูกปรับลดประมาณการ

// หุ้น top pick เชิงกลยุทธ์ ERW, TU/ เก็งกำไร TTA*, BJCHI*

ประเด็นเก็งกำไรเชิงกลยุทธ์

- หุ้นที่ได้ประโยชน์จาก USD แข็งค่า: BH, ERW, IRPC, PTT, TU (รายละเอียดในรายงาน)

- หุ้นลงทุนในธุรกิจพลังงานเหมืองแร่: BJCHI*, STPI*, SQ*

- หุ้นที่มีธุรกิจ หรือฐานการผลิตในสหรัฐฯ: IVL, EPG, TU

- หุ้นลุ้น SET ทะลุ 1520: ธนาคาร - KBANK SCB/ พลังงาน - PTTGC PTT PTTEP/ Valuation ถูก – HANA* BCP

- หุ้นโภคภัณฑ์: TTA* PSL* STA* TRUBB* KBS*

- หุ้นได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น (เงินเฟ้อ): BLA*, TIP*, EASTW*

- หุ้นที่ได้รับแรงหนุนจากฤดูกาลปลายปี: TU, ROBINS, BCP, AP, BDMS, BH, BCH, DCC, DRT

หุ้นแนะนำ

ERW (6.25) : กำไรไตรมาส 2 และ 3/59 ซึ่งเป็น low season สามารถพลิกมาเป็นกำไรสุทธิได้ในรอบ 5 ปี จาก utilizationrate ที่ 80% เทียบปีก่อนหน้าที่ 72% ส่งสัญญาณถึงธุรกิจที่เป็นโรงแรมเท่านั้น (pure hotel) ฟื้นตัว

TU (24.50) : กำไรปี 2560 เติบโต 16.6% สูงสุดในกลุ่มอาหาร ได้ปรับประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อน และการเติบโตมีโอกาสดีกว่าคาดจากการเข้าซื้อกิจการเพิ่มเติมในอนาคต สำหรับดีลล่าสุด Red Lobster ซึ่งเป็นเครือข่ายร้านอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก คาดบริษัทสามารถพลิกให้ธุรกิจกลับมากำไรได้ในปี 2560

TTA* (11) : เก็งกำไร BDI และราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีที่ 11.76 บาท / ตัดขาดทุนที่ 9.10 บาท

BJCHI* (7) : เก็งกำไรประเด็นสหรัฐฯ หนุนลงทุนเพิ่มในธุรกิจพลังงาน / ตัดขาดทุนที่ 5.85 บาท
(* หุ้นที่ไม่อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH/หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์ ผู้ลงทุนควรพิจารณาจุดตัดขาดทุน ราว 3-5%)



ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุน

ปัจจัยภายในประเทศ

- ตลาดหุ้นไทยยังมีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากการไหลออกของเงินทุนอย่างต่อเนื่องจากการอ่อนค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ, ความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคมนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นจากนโยบายของ “ทรัมป์” ที่เริ่มชัดเจน ประกอบกับเป็นจังหวะที่ฝรั่งทยอยขนเงินออกช่วงปลายปี (UOBKH)

- นายกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน (THBA) ระบุว่า ภาพรวมการฟื้นตัวของตลาดบ้านสร้างเองยังคงฟื้นตัวแบบช้าๆ เนื่องจากผู้รับเหมาฯ ยังคงเปิดสงครามราคาใส่กันจนทำให้ราคาบ้านปรับตัวลดลงจากเดิมเฉลี่ย 3-5% เมื่อเทียบกับ 4Q58 ขณะเดียวกันวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้านพบว่าราคาปรับตัวลดลงไปในทางเดียวกันซึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อที่ฟื้นตัวช้าและตลาดมีการแข่งขันสูง (แนวหน้า)

+ ศูนย์วิจัยกสิกร คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 60 จะเติบโตใกล้เคียงกับปีนี้ที่ 3.3% โดยมีแรงหนุนจากการท่องเที่ยวและการลงทุนภาครัฐฯ พร้อมปรับเป้าส่งออกไทยปีนี้เหลือติดลบ 0.5% จากเดิมที่ติดลบ 1.8% ปีหน้าคาดบวก 0.8% หลังการส่งออก 2 เดือนที่ผ่านมากลับมาเป็นบวกได้ (โพสต์ทูเดย์)

+ ธนารักษ์ปรับเกณฑ์บ้านธนารักษณ์ประชารัฐไม่ต้องเป็นหลังแรก รายได้ไม่เกิน 2 หมื่น/เดือน เข้าโครงการได้รับคนเข้าเกณฑ์น้อย รีบชง ครม. พร้อมเปิดประมูลใหม่ปีหน้า เร่งสรุปพื้นที่สร้างที่พักอาศัยผู้สูงอายุ คิดค่าเช่าเดือนละ 1 บาท/ตร.วา ยกเว้นค่าเช่า 6 ปี เกษตรกรทำไร่ผสมผสานบนแปลง 15 ไร่ (มติชน)

+ นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกร เปิดเผยว่า ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะยืนอยู่ที่ระดับ 1.5% ต่อไปจนถึงปี 2561 แม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2560 อีก 2 ครั้ง ดอกเบี้ยก็จะยังต่ำกว่าดอกเบี้ยไทย (โพสต์ทูเดย์)

ปัจจัยต่างประเทศ

- ตลาดหุ้นสหรัฐปิดแทบไม่ขยับในวันจันทร์ หลังจากพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในสัปดาห์ที่แล้ว โดยการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีบดบังการพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งของหุ้นกลุ่มการเงิน ในขณะที่นักลงทุนคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับสูงขึ้น (รอยเตอร์)

- ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกในวันจันทร์ตามหุ้นกลุ่มเหมืองแร่และหุ้นกลุ่มการเงิน แต่ดัชนีลดช่วงบวกลงก่อนปิดตลาดโดยได้รับแรงกดดันจากการดิ่งลงของหุ้นกลุ่มที่มักปรับตัวตามราคาพันธบัตร (รอยเตอร์)

- ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 11 เดือนในวันจันทร์ โดยพุ่งขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ในขณะที่เทรดเดอร์คาดการณ์ว่า นโยบายการคลังและนโยบายการค้าของนายโดนัลด์ ทรัมป์จะส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐ (รอยเตอร์)

- นักวิเคราะห์กล่าวว่า ยูโรได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า หลังจากนายทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ฝ่ายชาตินิยมก็อาจจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในยุโรปเช่นกันในช่วงหลายเดือนข้างหน้า โดยความกังวลเรื่องกระแสชาตินิยมและมาตรการกีดกันทางการค้าทั่วยุโรปส่งผลลบต่อยูโร (รอยเตอร์)

- หยวนดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์ นับตั้งแต่เริ่มมีการเปิดตลาดต่างประเทศสำหรับหยวนในปี 2010 โดยหยวนได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า นายทรัมป์อาจจะออกข้อจำกัดที่เข้มงวดยิ่งขึ้นต่อสินค้านำเข้าจากจีน (รอยเตอร์)

- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงในวันอังคารจากความกังวลเรื่องอุปทานล้นตลาดจากการคาดการณ์ตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA) จะเปิดเผยตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐฯประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 พ.ย. ในวันพรุ่งนี้เวลา 21.30 น.ตามเวลาไทย โดยคาดว่า สต๊อกน้ำมันดิบอาจพุ่งขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล, สต๊อกน้ำมันกลั่นอาจดิ่งลง 1.9 ล้านบาร์เรล, สต๊อกน้ำมันเบนซินอาจทรงตัว และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันอาจพุ่งขึ้น 1.1% จาก 87.1% (รอยเตอร์+Investing.com)