งัดม.44 สั่ง8ข้อ ป้องกันนําช้างป่ามาสวมสิทธิเป็นช้างบ้าน

งัดม.44 สั่ง8ข้อ ป้องกันนําช้างป่ามาสวมสิทธิเป็นช้างบ้าน

ลุยเจ้าของช้าง! "ประยุทธ์" งัดม.44 สั่ง8ข้อ มาตรการป้องกันนําช้างป่ามาสวมสิทธิเป็นช้างบ้าน

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ (๒๘ กันยายน ๒๕๕๙) คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๐/๒๕๕๙ เรื่อง มาตรการป้องกันการนําช้างป่ามาสวมสิทธิเป็นช้างบ้าน

โดยที่ประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES)) จึงมีความจําเป็นต้องกําหนดมาตรการในการเร่งรัดดําเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการงาช้างแห่งชาติ โดยเฉพาะการป้องกัน ระงับ และปราบปรามการนําช้างป่ามาสวมสิทธิเป็นช้างบ้านให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อมิให้ประเทศไทยถูกระงับการนําเข้าและส่งออกสัตว์ป่าและพืชป่าตามบัญชีอนุสัญญา CITES อันจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมและความน่าเชื่อถือของประเทศได้

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในคําสั่งนี้
“ช้าง” หมายความว่า ช้างที่เป็นสัตว์พาหนะตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ และให้หมายความรวมถึงช้างที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของช้างดังกล่าว
“ตั๋วรูปพรรณ” หมายความว่า ตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ
“นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ

ข้อ ๒ ให้เจ้าของช้างนําช้างที่อยู่ในความครอบครองทั้งที่ได้จดทะเบียนทําตั๋วรูปพรรณแล้วและยังไม่ได้จดทะเบียนทําตั๋วรูปพรรณ ไปทําการเก็บตัวอย่างเลือดสําหรับตรวจสอบรหัสพันธุกรรม (DNA) ณ ท้องที่ที่ช้างนั้นอยู่ ทั้งนี้ ตามสถานที่และระยะเวลาที่นายทะเบียนประกาศกําหนด และให้นายทะเบียนออกหนังสือรับรองให้แก่เจ้าของช้างเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้นําช้างมาเก็บตัวอย่างเลือดแล้วให้กรมการปกครอง กรมปศุสัตว์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดส่งเจ้าหน้าที่เพื่อดําเนินการเก็บตัวอย่างเลือดตามวรรคหนึ่ง และจัดทําเครื่องหมายประจําตัวช้างที่ยังไม่มีเครื่องหมายประจําตัวในกรณีที่ช้างเชือกใดยังไม่มีตั๋วรูปพรรณแต่เจ้าของช้างมีหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าช้างเชือกนั้นเป็นช้างที่ได้มาจากการสืบพันธุ์จากช้างที่เป็นสัตว์พาหนะ ให้นายทะเบียนดําเนินการจดทะเบียนทําตั๋วรูปพรรณให้แก่ช้างเชือกนั้น

ข้อ ๓ ให้กรมการปกครอง กรมปศุสัตว์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชดําเนินการเก็บตัวอย่างเลือดให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับและให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชดําเนินการตรวจสอบรหัสพันธุกรรม (DNA) ของช้างให้แล้วเสร็จและส่งผลการตรวจสอบรหัสพันธุกรรม (DNA) ให้กรมการปกครองนําไปบันทึกในทะเบียนตั๋วรูปพรรณช้างภายในสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ

ข้อ ๔ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันพิจารณายกร่างกฎหมาย เพื่อกําหนดมาตรการในการคุ้มครองช้างไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ กฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ให้เป็นระบบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ

ข้อ ๕ เจ้าของช้างผู้ใดไม่นําช้างมาเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจสอบรหัสพันธุกรรม (DNA) ภายในระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่คําสั่งนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าช้างเชือกนั้นเป็นช้างตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และให้ตกเป็นของแผ่นดิน โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองช้างต้องส่งมอบช้างให้แก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ข้อ ๖ ในกรณีที่ตรวจพบว่าช้างที่นํามาขึ้นทะเบียนตั๋วรูปพรรณตามข้อ ๒ วรรคสามไม่ได้สืบพันธุ์มาจากช้างตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ ให้ช้างเชือกนั้นตกเป็นของแผ่นดิน และให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองช้างส่งมอบช้างให้แก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ข้อ ๗ ในกรณีเห็นสมควรนายกรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอาจเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้
ข้อ ๘ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๙
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ