'ซีพีเอฟ' ประณามรุนแรงผู้ค้าแรงงานทาส ยันพิทักษ์สิทธิมนุษยชน

'ซีพีเอฟ' ประณามรุนแรงผู้ค้าแรงงานทาส ยันพิทักษ์สิทธิมนุษยชน

รองผจก.อาวุโส "ซีพีเอฟ" ลั่นประณามอย่างรุนแรงไม่เอาค้าแรงงานทาส ยันพิทักษ์สิทธิมนุษยชน แจงคดีเกี่ยวปลาป่นที่เกิดขึ้นในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ

นายโฆษิต โลหะวัฒนะกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ ขอยืนยันว่า บริษัทฯ ประณามอย่างรุนแรงที่สุดต่อการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานทาสทุกรูปแบบ และขอย้ำด้วยว่า บริษัทฯ ยังคงยึดมั่นอย่างแน่วแน่ในการส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ตลอดจนการสนับสนุนความยั่งยืน ในห่วงโซ่การผลิต

จากกรณีการเผยแพร่ข่าวในสื่อเมื่อเร็วๆ นี้ เกี่ยวกับการยื่นฟ้องในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ซีพีเอฟ ขอถือโอกาสนี้ชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งเน้นระบบตรวจสอบย้อนกลับ มีมนุษยธรรม และส่งเสริมความยั่งยืนอยู่แล้วตลอดทั้งกระบวนการผลิตกุ้งของบริษัทฯ

ก่อนอื่น บริษัทฯ ขอเรียนว่า ข้อกล่าวหาครั้งนี้ไม่มีมูลความจริงแต่ประการใด โดยบริษัทฯ เองมีมาตรการกำกับดูแลที่เคร่งครัดชัดเจนอยู่แล้วเพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทฯ มิได้ดำเนินธุรกิจ ในลักษณะที่ปรากฏตามข้อกล่าวหาเลย

นอกจากนั้น บริษัทฯ ขอย้ำว่า ระบบที่บริษัทฯ ใช้ในปัจจุบันช่วยให้บริษัทฯ มั่นใจว่า กระบวนการผลิตของเราสอดคล้องกับมาตรฐานสากล และบริษัทฯ มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะสนับสนุน การขจัดปัญหาแรงงานต่างๆ ในอุตสาหกรรมประมงไทยต่อไปอย่างเต็มที่ ในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจของบริษัทฯ มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมประมงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะบริษัทไม่ได้เป็น เจ้าของเรือ ธุรกิจประมงหรือโรงงานปลาป่นแต่อย่างใด

ข้อกล่าวหาที่ปรากฏในคำฟ้องร้องมีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับปลาป่น ซึ่งนอกจาก เป็นวัตถุดิบเพียงส่วนน้อยในการผลิตอาหารสำหรับใช้เลี้ยงกุ้งในฟาร์มของบริษัทฯ แล้ว ปัจจุบันยังเป็นวัตถุดิบที่บริษัทฯ ใช้น้อยลงเรื่อย ๆ อีกด้วย ปัจจุบัน บริษัทฯ ใช้ปลาป่นเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตอาหารกุ้งในสัดส่วนเพียง ร้อยละ 10 ของวัตถุดิบทั้งหมดเท่านั้น และเรามีเป้าหมายที่จะลด สัดส่วนนี้ลงไปอีกให้เหลือร้อยละ 5 ในอีก 5 ปีข้างหน้า

บริษัทฯ ขอเรียนเป็นข้อมูลสำคัญด้วยว่า ปลาป่นนั้นล้วนผลิตมาจากวัตถุดิบที่มิฉะนั้น ก็ถูกทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ และขณะเดียวกัน ปลาป่นทั้งหมดที่บริษัทฯ ซื้อมาใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ ก็เป็นปลาป่นที่มาจากผลผลอยได้จากโรงงานแปรรูป (By-product) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน IFFO Responsible Supply (IFFO RS) ซึ่งเป็นมาตรฐานการใช้ปลาป่นอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับ Code of Conduct for Responsible Fisheries ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ สำหรับสัดส่วนปริมาณการใช้ปลาป่นซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการจับปลาที่ไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ (By-Catch) นั้น ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับถึงความถูกต้องของแหล่งที่มาของปลาป่นเหล่านี้ ตั้งแต่เรือประมงจนถึงโรงงานปลาป่น ขณะเดียวกัน บริษัทยังได้ลดจำนวนคู่ค้าและผู้จัดหาปลาป่น ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อช่วยให้ตรวจสอบย้อนกลับ และกำกับดูแลมิให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ องค์กรอิสระจากภายนอก (Third Party) ที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศจะเข้ามา ตรวจรับรองระบบการตรวจสอบย้อนกลับของบริษัทฯ ในเร็ว ๆ นี้อีกด้วย

การทำฟาร์มกุ้ง ถือเป็นกระบวนการผลิตอาหารทะเลอย่างยั่งยืนที่สำคัญในการเลี้ยงดู ประชากรโลกต่อไป และในฐานะที่บริษัทฯ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งคณะทำงานเพื่อสร้างห่วงโซ่การผลิตกุ้งที่ยั่งยืน (The Shrimp Sustainable Supply Chain Task Force) กับลูกค้าในต่างประเทศ บริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย และองค์กรเอกชน (NGO) บริษัทฯ จึงขอยืนยันความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วม เดินหน้าผลักดันการปรับปรุงมาตรฐานการดำเนินงานในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิตกุ้งไทยอย่างจริงจัง การดำเนินงานของบริษัทฯ ที่ผ่านมา จึงแสดงให้มั่นใจได้ว่าห่วงโซ่การผลิตกุ้งของบริษัทฯ ไม่กระทบ สิ่งแวดล้อมและเคารพกฎหมายแรงงาน อีกทั้งยังตอกย้ำความเคารพ ในหลักการพื้นฐาน ด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ อย่างชัดเจน.