เปิดสาระร่างรธน.ฉบับสปช.ตัดสิทธิ'ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์'

เปิดสาระร่างรธน.ฉบับสปช.ตัดสิทธิ'ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์'

เปิดสาระร่างรธน.ฉบับที่เสนอขอความเห็นชอบจากสปช. ตัดสิทธิ"ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์"ชั่วชีวิตในทางการเมือง กรรมการยุทธศาสตร์อำนาจล้น

ผู้สื่อข่าวรายงานถึงสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่เสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่อลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้น ปรากฏว่ามียอดรวมทั้งสิ้น285มาตรา ซึ่งได้ลดลงจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่เสนอเพื่อขอความเห็นของสปช. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ม315มาตรา ถึง 30 มาตรา  ซึ่งมีสาระที่เป็นบทแก้ไขและเปลี่ยนแปลงจากโครงร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอเพื่อขอความเห็น ดังนี้ 1.ประเด็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานของรัฐกำหนดให้เป็นกระบวนการที่ประชาชนสามารถดำเนนิการได้ภายใต้สมัชชาพลเมืองระดับพื้นที่และระดับอื่น เพื่อร่วมจัดการชุมชน บริหารท้องถิ่น และท้องที่ ได้

ทั้งนี้ได้มีการแก้ไขโดยการตัดสิทธิบุคคลต่อกระบวนการมีส่วนร่วมยกร่างกฎหมาย กฎ โครงการ กิจกรรมที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทัพยากรธรรมชาติ สุขภาพ ที่เขียนไว้ในร่างรัฐธรรมนูญออก ส่วนการมีส่วนรวมของการออกเสียงประชามติในกิจการที่มีผลกระทบต่อประชาชนนั้นยังคงไว้ แต่ได้ตัดประเด็นการใช้เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเป็นสิ่งที่ยุติปัญหาที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติออก ขณะนี้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบ ได้เพิ่มบทบัญญัติให้บุคคลมีสิทธิเฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้ 

2.การสร้างความโปร่งใสของกิจการสื่อมวลชนต่อการรับเงินสนับสนุนจากรัฐ กำหนดให้มีการเปิดเผยการจัดสรรงบประมาณของรัฐที่ให้กับสื่อมวลชนทุกรายด้วย ขณะที่สิทธิความเป็นเจ้าของกิจการสื่อมวลชน ได้ยืนให้สิทธิดังกล่าวเป็นของบุคคลสัญชาติไทย แม้จะมีการบังคับเป็นอย่างอื่นตามหนังสือสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการเปิดเสรีทางการค้าหรือการลงทุนภายใต้กรอบองค์กรการค้าโลกหรือการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 

3.บทว่าด้วยการตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้เพิ่มบทที่ครอบคลุมไปถึงบุคคลที่เข้ารับการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกประเภท และกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกประเภทต้องยื่นแสดงสำเนาแบบรายการเสียภาษีย้อนหลัง3ปี ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการตรวจสอบ พร้อมกำหนดให้อำนาจคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีอำนาจในการขอให้กรมสรรพากรตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้ของผู้ได้รับเลือกตั้งหรือรับการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งได้ พร้อมกำหนดบทลงโทษตามกฎหมายป.ป.ช. ต่อผู้ที่ไม่ยื่นหรือยื่นแจ้งสำเนาแบบแสดงรายการเสียภาษีอันเป็นเท็จ, จงใจไม่ยื่นภาษี หรือจงใจเสียภาษีที่ไม่ถูกต้อง ส่วนการกำกับการทำกิจกรรมของพรรคการเมือง ได้เขียนข้อกำหนดที่ต้องไม่ยอมให้บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลเข้ามาครอบงำหรือชี้นำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

4.ประเด็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 450 –470 คนนั้นได้ปรับให้มีส.ส.เขต จำนวน300คนและมีส.ส.บัญชีรายชื่อ150- 170คน โดยยังยึดระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม สำหรับคุณสมบัติของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง มีบทบัญญัติเพิ่มใหม่ คือ ห้ามผู้ที่หลบหนีคดีอยู่ในระหว่างพิจาณา หรือหลบหนีคดีที่มีโทษตามคำพิพากษา หรือกระทำการดังกล่าวจนขาดอายุความดำเนินคดีหรืออายุความลงโทษแล้วห้ามลงเลือกตั้ง และรวมถึงบุคคลที่ถูกถอดถอนเพราะส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวจะมีผลทำให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่หลบหนีคดี ที่ศาลฎีกานักการเมืองพิพากษาให้จำคุก2ปี จากกคดีทุจริตซื้อที่ดินรัชดาและ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่ถูกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ถอดถอนออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมีพฤติกรรมส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญละเลยการกำกับจนทำให้เกิดการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งหรือเป็นรัฐมนตรี หรือนายกฯ ได้อีก 

5.ประเด็นของสมาชิกวุฒิสภา จำนวนไม่เกิน200คน ที่มาจากการเลือกตั้ง77จังหวัด จำนวน77คน และมาจากการสรรหา จำนวน123คน กำหนดข้อห้ามในส่วนของส.ว.ต้องไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ข้าราชการการเมือง หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พร้อมกำหนดไม่ให้ อดีต ส.ส. อดีตส.ว. และอดีตรัฐมนตรี ที่พ้นจากตำแหน่ง ส.ส. ไม่ถึง5ปีลงสมัครเข้ารับการสรรหาหรือลงสมัครเป็นส.ว. ทั้งนี้ได้ตัดสิทธิส.ว.ในการตรวจสอบประวัติของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรี 

6.ประเด็นรัฐมนตรี ยังคงบทบัญญัติของผู้ที่ไม่ได้เป็นส.ส. ให้ได้รับการเสนอชื่อและลงมติเลือกให้เป็นนายกฯ ได้ ด้วยเสียงไม่น้อยกว่า2ใน3ของจำนวนสมาชิกฯ แต่หากเสียงเห็นชอบไม่ถึงเกณฑ์จะหมดสิทธิการได้รับการเสนอชื่อทูลเกล้าฯ เป็นนายกฯ นอกจากนั้นแล้วยังเขียนข้อความด้วยว่ากรณีที่เมื่อพ้นเวลา30วันนับแต่วันเลือกนายกฯ แล้วไม่มีผู้ใดได้รับความเห็นชอบ ให้สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุและให้มีการเลือกตั้งใหม่ ภายใน45วัน อย่างไรก็ตามบทบัญญัติเกี่ยวกับคุณสมบัติของรัฐมนตรีและนายกฯ นั้น จะนำบทบัญญัติของคุณสมบัติของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งมากำกับด้วย

 7.คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ  โดย กรรมการยุทธศาสตร์และการปรองดองแห่งชาติ จะมี 23 คน คน แบ่งเป็นสามกลุ่ม ประกอบด้วย 1.กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ นายกฯ ,ประธานรัฐสภา, ประธานวุฒิสภา ,ผบ.สส. , ผบ.ทบ. , ผบ.ทร., ผบ.ทอ. และ ผบ.ตร. โดยกลุ่มนี้จะเป็นผู้เลือกผู้ที่เหมาะสมเป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ

กลุ่มที่ 2 ได้แก่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งจากผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา นายกฯ ประธานศาลฎีกา ซึ่งเลือกกันเองในแต่ละประเภทประเภทละ 1 คน

และกลุ่มที่ 3 ได้แก่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน 11 คน แต่งตั้งตามมติรัฐสภาจากผู้ที่เชี่ยวชาญในการปฏิรูปด้านต่างๆ และการสร้างความปรองดอง

ทั้งนี้ได้มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ 11 หัวข้อประกอบด้วย 1.แต่งตั้งกรรมการปฏฺิรูปด้านต่างๆและคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองเพื่อเสนอแนะเรื่องการฏิรูปและสร้างความปรองดองต่อคณะกรรมการยุทธศาตร์ 2.ขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูป รวมทั้งทำข้อเสนอจัสรรงบประมาณที่จำเป็นต่อรัฐสภาและ ครม. หรือหนวยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาประเทศลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรม 3.นำข้อเสนอของ สปช. และแผนงานยุทธศาสตร์การปฏิรูปของทุกภาคส่วนมาบูรณาการเพื่อให้สามารถพัฒนาประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำแะสร้างความเป็นธรรมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืรน รวมทั้งปรับแผนได้ตามความเหมาะสม

4.ดำเนินการที่จำเป็นเพื่อสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ระหว่างคู่ขัดแย้ง แบะสร้างความปรองดองในหมู่ประชาชนตามหลักความยุติธรรมเปลี่ยนผ่าน 5.ดำเนินการหรือสั่งให้ดำเนินการที่จำเป็นเพื่อป้องกันและระงับความขัดแย้งหรือความรุนแรงและระงับยับยั้งการกระทำที่มีผลเป็นการขัดขวางการปฏิรูปหรือสร้างความปรองดอง

6.ตรวจสอบและไต่สวนการไม่ปฏฺิบัติตามแผนงานหรือขั้นตอนที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์กำหนด 7.เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหากพบว่าไม่มีการปฏิบัติตามแผนงานที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์กำหนด หรือในกรณีกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ ส.ส ส.ว. รัฐสภา ครม. องค์กรตามรธน, หรือในกรณีมีปัญหากับอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ครมหรือคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ 

8.ส่งเสริมการวิจัยการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการปฏิรูปและการปรองดอง 9.ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของประชาชนเพื่อเป็นพลเมืองที่ดี 10.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปฏิรูปที่สอดคล้องและเป็นไปตามบทบัญญัติ และ 11.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติ 

ทั้งนี้มีการระบุด้วยว่าเมื่อคณะรัฐมนตรีได้รับข้อเสนอของกรรมการยุทธศาสตร์ฯ แล้วไม่ดำเนินการตาม ต้องชี้แจงเหตุผลให้รัฐสภาและคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯทราบ ซึ่งหากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯยืนยันด้วยเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ ให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้เป็นไปตามมติ 

นอกจากนี้ในบทเฉพาะกาลยังระบุว่า “หากภายในห้าปีนับแต่ใช้่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถ้ามีความจำเป็นเพื่อรักษาเอกราชของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดนหรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือกรณีที่เกิดความขัดแย้งอันอาจนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงในประเทศ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ทั้งการดำเนินการตามปกติของสถาบันทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญและคณะรัฐมนตรีไม่อาจดำเนินการเพื่อยุติกรณีดังกล่าวได้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ ซึ่งมีมติด้วยคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ มีอำนาจใช้มาตรการที่จำเป็นสำหรับจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าวแทนได้ ภายหลังจากที่ได้มีการปรึกษากับประธานศาลรัฐะรรมนูญและประธศานศาลปกครองสูงสุดแล้วทั้งนี้เพื่อให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว” 

“และเมื่อมีการดำเนินการตามวรรสองดังกล่าวแล้วให้ประธานกรรมการยุทธศาสตร์ฯโดยความเห็นชอบของกรรมการยุทธศาสร์ฯมีอำนาจสั่งการ ระงับ ยับยั้ง หรือกระทำการใดๆ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ หรือในทางบริหาร และให้ถือว่าคำสั่ง หรือการกระทำและการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายและเป็นที่สุด”  

 8.ในประเด็นของบทเฉพาะกาล กำหนดให้สนช. อยู่ปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าจะมีวุฒิสภาเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกำหนดให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ที่แต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557แก้ไขเมเติม (ฉบับที่1) พ.ศ.2558ปฏิบัติหน้าที่จนถึงวันเปิดประชุมรัฐสภานัดแรก ยกเว้นนายกฯ จะประกาศให้สภาขับเคลื่อนฯ สิ้นสุดก่อนเวลาได้ นอกจากนั้นมีบทกำหนดห้ามกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรี, ส.ส. , ส.ว., ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือ เจ้าหน้าที่หรือผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง ภายใน2ปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง แต่ได้กำหนดให้กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็น สนช. อยู่ปฏิบัติหน้าที่สนช. ได้ต่อไปโดยได้กำหนดให้สภาขับเคลื่อน ร่วมยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่จำเป็น พร้อมได้ปรับระยะเวลาการทำกฎหมายสำคัญ คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. ,พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ทำให้เสร็จภายใน90วัน จากเดิมที่กำหนดให้ทำให้เสร็จภายใน60วัน 

ส่วนข้อกำหนดให้จัดการเลือกตั้ง ส.ส. นั้น กำหนดให้จัดการให้แล้วเสร็จภายใน90วันนับตั้งแต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. ,พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองแล้วเสร็จ โดยมีข้อยกเว้น ห้ามไม่ให้นำการหยั่งเสียงสมาชิกพรรคในเขตเลือกตั้งมาบังคับใช้ ขณะที่การเลือกตั้งและสรรหา ส.ว. นั้น กำหนดให้ทำภายใน150วันนับแต่วันที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ3ฉบับแล้วเสร็จ และเขียนให้สิทธิอดีต ส.ว. ที่พ้นสมาชิกสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งและสรรหาเป็นส.ว.ได้ ส่วนวาระของ คสช. และครม. นั้นกำหนดให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อมี ครม.ชุดใหม่ปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งในระหว่างที่คสช. ปฏิบัติหน้าที่นั้น ให้คณะคสช. มีอำนาจตามที่ตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม 

ขณะที่ข้อกำหนดว่าด้วยกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ในบทเฉพาะกาล เขียนให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการฯ ได้ ยกเว้นตำแหน่งประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา และนายกฯ จนกว่าจะมีบุคคลที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 

ส่วนบทบัญญัตัติมาตราสุดท้าย ว่าด้วยการนิรโทษกรรมให้ คณะคสช. ได้เพิ่มบทบัญญัติวรรคสอง ที่รับรองประกาศ หรือคำสั่งของคสช. หรือหัวหน้าคสช. ที่มีอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้ ทั้งประกาศหรือคำสั่งที่มีผลบังคับทางรัฐธรรมนูญ ทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร หรือทางตุลาการ ให้ถือเป็นประกาศหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และมีผลบังคับใช้โดยชอบตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หากจะมีการยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงประกาศหรือคำสั่งต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โดยพ.ร.บ.ดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติงานของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้กระทำไปตามประกาศ หรือคำสั่ง และให้บุคคลหรือคณะบุคคลนั้นได้รับความคุ้มครอง ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องในทางใดไม่ได้