เปิด '24ผู้ลี้ภัย' คดีมาตรา112 ซ่อนตัวใน10ประเทศ?

เปิด '24ผู้ลี้ภัย' คดีมาตรา112 ซ่อนตัวใน10ประเทศ?

(รายงาน) เปิด "24ผู้ลี้ภัย" คดีมาตรา112 ซ่อนตัวใน10ประเทศ?

14 กรกฎาคม ตรงกับ วันชาติฝรั่งเศส ซึ่งทุกปีสถานทูตฝรั่งเศสได้จัดงานเฉลิมฉลองวันชาติฝรั่งเศส เชิญแขกเหรื่อเข้าร่วมงาน โดยกลุ่มคนไทยที่รู้สึกตื่นเต้นกับการเข้าร่วมงานวันชาติฝรั่งเศสคือ แกนนำ นปช. และอดีต ส.ส.เพื่อไทย

ดังที่ทราบกัน จรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตแกนนำ นปช., ศรัณย์ ฉุยฉาย หรือ “อั้ม เนโกะ” อดีตนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่เคลื่อนไหวร่วมกับ “แดงฮาร์ดคอร์” และ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการอิสระ ได้สถานะ “ผู้ลี้ภัย” จากรัฐบาลฝรั่งเศสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เนื่องจากทั้งสามคนเป็นผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เข้าพบ ตีแยรี วีโต้ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เพื่อทำความเข้าใจหลายเรื่อง โดยเฉพาะประเด็นความผิดมาตรา 112 ซึ่งต้องการให้ฝรั่งเศสเข้าใจและแยกแยะ ระหว่างคดีความมั่นคงทางการเมืองกับความมั่นคงที่เกี่ยวพันกับสถาบัน

พร้อมกันนั้น พล.อ.ไพบูลย์ จึงมอบรายชื่อผู้ต้องหาตามหมายจับคดีความมั่นคง ที่เกี่ยวพันกับสถาบันจำนวน 3 ราย พร้อมข้อมูลยืนยันพฤติการณ์และถิ่นที่อยู่ว่าหลบหนีหมายจับไปอาศัยอยู่ในฝรั่งเศส

อย่างไรก็ตาม พล.อ.ไพบูลย์ ให้ความสำคัญกับการตามตัวผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ที่หลบหนีอยู่ต่างประเทศมากที่สุด เพราะถือเป็นภัยความมั่นคงที่รัฐบาลต้องจับตา

แหล่งข่าว ฝ่ายความมั่นคงเปิดเผยว่า ขณะนี้มีผู้กระทำผิดตามคดีความมั่นคง มาตรา 112 ที่หลบหนีอยู่ต่างประเทศจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นการกระทำความผิดในการกล่าวพาดพิงสถาบันฯ และวิจารณ์สถาบันฯ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์

โดยเฉพาะกลุ่ม “เซเลบแดง” ที่หลบหนีคดีมาตรา 112 อยู่ในสหรัฐอเมริกา, ภาคพื้นยุโรป และประเทศเพื่อนบ้าน มีรายชื่อดังนี้

สหรัฐอเมริกา : 7 ราย

1.ชูพงศ์ ถี่ถ้วน ดีเจวิทยุออนไลน์ มหาวิทยาลัยประชาชน

2.เสน่ห์ ถิ่นแสน หรือ เพียงดิน รักไทย ประธานภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนแกนนำมหาวิทยาลัยประชาชน

3.มนูญ ชัยชนะ หรือ เอนก ซานฟราน ประธานบอร์ดภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนแกนนำมหาวิทยาลัยประชาชน

4.ริชาร์ด สายสมร หรือ “อเมริลาว” ดีเจวิทยุออนไลน์

5.จุติเทพ (เลอพงษ์) วิไชยคำมาตย์ หรือ “โจ กอร์ดอน” ดีเจวิทยุออนไลน์

6.พิษณุ พรหมศร หรือ “แอนดี้” ดีเจวิทยุออนไลน์

7.สุดา รังกุพันธุ์ หรือ “อาจารย์หวาน” แกนนำกลุ่มไผ่แดง

ออสเตรเลีย : 1 ราย

องอาจ ธนกมลนันท์ หรือ “อาคม ซิดนีย์” ดีเจวิทยุออนไลน์

ญี่ปุ่น : 1 ราย

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการอิสระ

ฝรั่งเศส : 3 ราย

1.จรัล ดิษฐาอภิชัย ผู้ประสานงานองค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย

2.ศรัณย์ ฉุยฉาย หรือ “อั้ม เนโกะ”

3.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการอิสระ

นิวซีแลนด์ : 1 ราย

เอกภาพ เหลือรา หรือ ตั้ง อาชีวะ

ฟินแลนด์ : 1 ราย

จรรยา ยิ้มประเสริฐ เอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยชน

สวีเดน : 1 ราย

จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการองค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย

เดนมาร์ก : 1 ราย

“โด่ง” อรรถชัย อนันตเมฆ แกนนำแดงอิสระ

กัมพูชา : 2 ราย

1.จักรภพ เพ็ญแข ผู้ประสานงานองค์กรเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย

2.วุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ “โกตี๋ เรดการ์ด” แกนนำแดงวิทยุชุมชนปทุมธานี

ลาว : 6 ราย

1.สุรชัย แซ่ด่าน แกนนำแดงสยาม

2.วัฒน์ วรรลยางกูร อดีตเลขาธิการเครือข่ายเดือนตุลา

3.นิธิวัต วรรณศิริ แกนนำเครือข่ายเสรีราษฎร

4.ชฤต โยนกนาคพันธุ์ หรือ “โยนก ไฟเย็น”

5.ชัยอนันต์ ไผ่สีทอง หรือ “อุ๊ ไฟเย็น”

6.ไตรรงค์ สินสืบวงศ์ หรือ “ขุนทอง ไฟเย็น”


อย่างไรก็ตาม กระทรวงการต่างประเทศของไทยได้ดำเนินการประสานงานทางการทูตกับประเทศที่ “ผู้ต้องหา” ใช้เป็นพื้นที่หลบหนี แต่ก็ไม่ได้รับความร่วมมือจากประเทศเหล่านั้นเท่าที่ควร