ดิจิทัล “กลืนตลาด”

ดิจิทัล “กลืนตลาด”

ข้ามผ่านสู่ยุค “ปฏิวัติอินเตอร์เน็ต” เปลี่ยนประสบการณ์ผู้บริโภคสิ้นเชิง Culture shock ! "ขี่กระแส"อย่างไรให้ชนะใจผู้บริโภค

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุมูลค่าการค้าขายในโลกออนไลน์ของไทย (E-Commerce) ในปี 2556 มีมูลค่าการขายรวม 768,014 ล้านบาท แยกเป็นธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) มููลค่า 238,486 ล้านบาท ธุรกิจขายตรงกับผู้บริภค(B2C) มูลค่า 182,033 ล้านบาท และธุรกิจกับรัฐบาล (B2G) มูลค่า 347,495 ล้านบาท

มูลค่าการค้าออนไลน์ระดับ “แสนล้าน” สะท้อนพลังการค้าผ่านช่องทางดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการ “หน้าร้าน” ต่างเร่งปรับตัว รุกสู่ช่องทางค้าออนไลน์ ก่อนจะถูก “กลืนตลาด”

อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ และผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ทีซีดีซี) มองว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นพื้นฐานเดียวกับเศรษฐกิจดิจิทัล ถือเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ เป็นอนาคตของโลกที่หนีไม่พ้น จึงต้อง “ยกระดับ” คุณค่าชีวิตผู้ประกอบการไทยไปอยู่บนช่องทางการค้าด้วยระบบดิจิทัล ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลมหาศาล (Big Data) เข้าไปพัฒนากระบวนการคิดและองค์ความรู้ นำไปสู่การสร้างผู้ประกอบการใหม่ (New Entrepreneur)

เช่นเดียวกับ มนู อรดีดลเชษฐ์ คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัล อีโคโนมี ที่มองว่า ธุรกิจดิจทัลจะทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ หรือ Start Up โดยนำเทคโนโลยีไปสร้างธุรกิจ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ และคิดนอกกรอบ สร้างคุณค่าใหม่ที่แตกต่างจากยุคเดิม

โดยในไม่ช้าจะเกิด "2 เทรนด์ธุรกิจ" มาแรง คือ ผู้ประกอบการขนาดใหญ่จะรุกขยายธุรกิจ “แข่งขันด้านราคา”

ขณะที่อีกกลุ่มเป็นการรวมพลังของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) จะเน้นผนึกกำลัง “สร้างคุุณค่า” เช่น เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)

“ธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทันสมัยจะแข่งขันราคา เช่น ซูเปอร์สโตร์ และร้านสะดวกซื้อ กำลังมาแย่งชิงธุรกิจพ่อค้าแและแม่ค้า เช่น ทำโจ๊กตอนเช้า ส่วนธุุรกิจเอสเอ็มอีจะไม่แข่งราคา แต่เน้นคุณค่า”

เขายังบอกว่า เศรษฐกิจดิจิทัล ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ แต่เป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยง !!

เขาบอกว่า ไม่ต้องถามว่ามูลค่าการเติบโตธรกิจออนไลน์จะมีอยู่เท่าไหร่ เพราะไม่ในช้า โลกการค้าหรือมูลค่าทั้งหมดที่เคยอยู่ในตลาดทั้งแบบเดิม มาอยู่ในระบบการค้าออนไลน์ หรือดิจิทัลที่เกี่ยวพันกับเทคโนโลยีไม่มากก็น้อย หากผู้ประกอบการไม่ถอดวิธีคิด ธุรกิจก็จะถูกลืนไปจากวงจรตลาด

**“อาเซียน”กองทุนสตาร์ทอัพรุมจีบ

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ Tarad.com ประสบความสำเร็จในการขายหุ้นเว็บไซด์ดังกล่าว ให้กับกลุ่ม Rakuten จากญี่ปุ่น ถือเป็นตำนานอีกบทหนึ่งของวงการเว็บไทย ตำแหน่งล่าสุดของเขาคือ ประธานกรรมการและผู้ก่อตั้ง บริษัท อีฟราสตรัคเจอร์ จำกัด ประเมินสถานการณ์ธุรกิจในยุคเปลี่ยนผ่านนี้ว่า สถิติของโลกการค้าออนไลน์เริ่มเข้ามามีบทบาทสูงขึ้นจากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเติบโต แม้จะเติบโตอย่างเนิบนาบค่อยเป็นค่อยไป
แต่ในปีนี้ พบว่า “สมาร์ทโฟน” เริ่มทรงอิทธิพลกับชีวิตประจำวันของคน จากสถติคนไทยใช้มือถือเข้าอินเตอร์เน็ต 44 .6 ล้านคน เป็นยอดการใช้ที่แซงหน้าคนใช้อินเตอร์เน็ทผ่านคอมพิวเตอร์ที่มีสัดส่วน 31.2 ล้านคน ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อ ยอดการค้าออนไลน์

ขณะที่อัตราผู้ใช้โซเชียลมิเเดียของไทยมีการเติบโตอย่างมาก แซงหน้าหลายประเทศที่มีประชากรสูง และเทคโนโลยีเติบโต ด้วยรายชื่อผู้ใช้เฟซบุ๊คคนไทยมีถึง 34 ล้านบัญชีรายชื่อ หรือคิดเป็นกว่า 50% ของประชากร ติดอันดับ 7 ของโลก  

ภาพของธุุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ภาวุธ ให้นิยามไว้เป็นแลนด์สเคปที่กว้างและครบวงจรมากกว่าขายของและจ่ายเงิน แต่องคายยพธุุรกิจอีคอมเมิร์ซ กำลังเคลื่อนพลนำพาโลการค้าเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่เชื่อมต่อกันครบวงจรตั้งแต่ กาบริการเทคโนโลยี ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล การสื่อสารและการตลาด ค้นหาข้อมูล ค้าขาย ทุกธุรกกิจที่กล่าวมากำลังกระดกหัวเชิดหน้าปลายเส้นกราฟโกยรายได้

รูปแบบการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ จึงมีหลากหลายทางเลือกมากขึ้น ตั้งแต่ ค้าปลีก มีหลากหลายรายการสินค้า หรือร้านค้าสินค้าพิเศษ บริการด้านข้อมูล เกม หนัง เพลง ขายตั๋วและท่องเที่ยว ตลอดจนการค้าขายข้ามพรมแดน ที่เป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดต้องเตรียมรับมือจากคู่แข่งนอกบ้าน ที่จะเข้ามาเจาะตลาดไทยโดยไม่ต้องลงทุนจดทะเบียนเปิดร้านขายสินค้า

นอกจากกลุุ่มบริการข้อมูล ขายสินค้าแล้วยังมีธุรกิจ 2 Tiers เกิดขึ้นตามมารองรับการเติบโตของการค้าโลกออนไลน์จำนวนมาก อาทิ โลจิสติกส์ เว็บไซด์เปรียบเทียบราคา รวมถึงบริการชำระสินค้า ฯลฯ

ภาวุธ บอกว่า แม้รัฐบาลจะคลอดนโยบายเศรษฐกิจดิจทัล (Digital Economy) มาเอื้ออำนวยให้คนใช้โอกาสจากโลกจิจิทัลก็ตาม แต่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดที่เห็นเด่นชัดในปีนี้ทั้งหมดทั้งมวลเกิดจากแรงผลักของดีมานด์ในตลาดที่เริ่มกว้างมากขึ้นเมื่อเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนให้คนเใช้งานอินเตอร์เน็ตง่ายขึ้น

เกิดปรากฎการณ์อาเซียน กำลังเนื้อหอม เป็นที่หมายปองของ “กองทุนด้านสตาร์ทอัพ” ที่กำลังหาแหล่งลงทุนที่เป็นดาวรุ่ง เริ่มฉายสปอร์ตไลท์เล็งมาที่อาเซียน

แต่ก็เปิดโอกาสให้ไทยข้ามไปลงทุนนอกบ้านได้เช่นเดียวกัน หลังจากที่มีต่างชาติเข้ามาทยอยซื้อกิจการสตาร์ทอัพไปหลายราย

**โมเดลตลาด..เปลี่ยนโลกธุรกิจ

การตลาดที่มาแรงจะอยู่ในรูปผสมผสานทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เข้าด้วยกัน เรียกว่า ออมนิ ชาแนล (Omni Channel) ยังเป็นการหล่อหลอมธุรกิจร้านค้าเข้าไว้กับออนไลน์ บางคนมีพฤติกรรมไปเดินห้างเพื่อดูรุ่นและของจริงแต่กลับไปเข้าตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านออนไลน์

ที่สำคัญอนาคตเมื่อผู้ผลิตสามารถเข้าถึงผู้บริโภค (B2C) ได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว “พ่อค้าคนกลาง” จะเริ่มถูกลดบทบาท หรือเตรียมสูญพันธุ์ เพราะจะเริ่มมีการพบผู้บริโภคแบบสั่งซื้อได้โดยตรง ไม่ต้องอาศัยหน้าร้าน
เทรนด์ที่พบตามมา คือ กลุ่มบริษัทใหญ่ๆ เริ่มกระโดดเข้ามาในธุุรกิจออนไลน์ เป็นการผนึกกำลังระหว่างผู้ค้าออนไลน์กับ บริษัทใหญ่ เช่น เทสโก้ ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกในอังกฤษ ที่เข้าไปซื้อหุ้นในเว็บไซด์ขายสินค้าออนไลน์ชื่อดังอย่าง ลาซาด้า เพื่อนำสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอื่นๆ เข้าไปจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์

ขณะเดียวกัน ก็เปิดซูเปอร์มาเก็ตจำหน่ายสินค้าสดในตลาดออนไลน์ เว็บไซด์ของตัวเอง หรือแม้แต่ค้าปลีก และผู้ผลิตสินค้าคอนซูเมอร์รายใหญ่ในไทยอย่าง เซ็นทรัล สหพัฒน์ ก็ยังหันมารุกธุรกิจออนไลน์ชิงเค้กที่กำลังเติบโต เป็นต้น
"ค้าปลีกในไม่นาน ร้านค้าปลีกไม่จำเป็นต้องมีคนขายสินค้า (store without staff) เพราะเทคโนโลยีที่สะดวก ง่าย รวดเร็ว ทำให้ลูกค้าเข้าร้านซื้อของ ทำบริการเอง ซื้อสินค้าสแกนบาร์โค้ด จ่ายบิลได้ แบบไม่ต้องมีพนักงาน"
หรือระบบการสั่งซื้อสินค้าแบบบอกรับสมาชิก (subcription Model) จะเริ่มมีในกลุุ่มสินค้าที่ซื้อประจำทุกเดือน ขายของไม่มีหน้าร้าน ทุกๆ สัปดาห์หรือทุกๆ เดือนจะมีสินค้าบริการส่ง เช่น บริการส่งน้ำ ส่งข้าว สินค้าที่ใช้ประจำทั่วไป กลุุ่มอุปโภคบริโภค ไม่จำเป็นต้องไปซื้อ เพราะช็อปปิ้งในแบบเดิม ก็มีบริการประหยัดเวลา

โดยเฉพาะการรุกเข้ามาทำธุรกิจจำหน่ายสินค้าจากต่างประเทศ ที่เป็นคู่แข่งด้วยการมาเช่าคลังสินค้าตามชายแดน หรือใกล้ท่าเรือ เพื่อรองรับคำสั่งซื้อจากออนไลน์ โดยไม่จำเป็นต้องเปิดหน้าร้าน ลงทะเบียน (Cross Border) จะเริ่มถูกต่างชาติเข้ามารุกมากขึ้น เป็นอัตราการเติบโตที่น่ากลัว ฉะนั้นผู้ประกอบการไทยจึงต้องมองลู่ทางออกไปรุกเพื่่อนบ้าน

“แบรนด์ต่างประเทศจะเข้ามาขยายธุรกิจในไทยโดยไม่ต้องเปิดบริษัท โดยการเปิดรับคำสั่งซื้อผ่านออนไลน์ จากการเปิดเว็บหรือและขายผ่านมาร์เก็ตเพลส โดยเก็บสินค้าไว้ในคลังสินค้า โรงงานส่งของแต่ละประเทศจะส่งออเดอร์สินค้าและจัดนำส่งไปยังลูกค้าปลายทาง” 

สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างน่าตกใจ เกิดขึ้นกับเว็บไซต์จีนที่เห็นคือ ปรากฎการณ์ทำเว็บไซต์ค้าออนไลน์ มีคำอธิบายเป็นภาษาไทย 

ขณะที่เทคโนโลยี 3 Dprinting ซื้อเทคโนโลยีที่ผลิตสินค้าได้ตามสั่ง จะเป็นการซื้อสินค้าเพื่อพัฒนาสินค้าได้เอง เช่น พลาสติก โต๊ะ เก้าอี้ รูปทรงและสีต่างๆ ตามการออกแบบของลูกค้า 

โมเดลธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายอาทิ เทรนด์ Personomic ที่มาจากคำว่า (Personal +Economic) หรือเรียกว่า เศรษฐศาสตร์ส่วนบุุคคล เป็นการนำเสนอการบริการตลาดส่วนบุคคลมากขึ้น เช่น บิลลดราคาสินค้าที่ส่งให้เฉพาะลูุกค้าคนเดียว หรือแม้กระทั่งเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) นำสินค้าส่วนตัวมาขาย หรือให้เช่า เช่น รถ เรือ บ้าน รีสอร์ท 

ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง Vice President, Head of Online Marketing บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ฟันธงว่า นับจากนี้ต่อไป ทุกธุรกิจจะถูกธุรกิจออนไลน์แย่งชิงพื้นที่และเข้าไปแแทนที่มากขึ้น (Distruption) ทั้งหมดเกิดจากเทคโนโลยีที่เข้าไปให้พลังกับธุรกิจและลูกค้า ฉะนั้นผู้บริหารธุรกิจจะต้องมองให้ขาดถึงสถานการณ์และวางแผนให้ถูกจุด สิ่่งสำคัญจะต้องไม่ทิ้งโอกาสของโลกดิจิทัล ที่มีความสะดวกสบายจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาเชื่อมต่อธุุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้า การสื่อสาร

ทิ้งความหมายของนักการตลาดในแบบเดิมๆ ที่หลงทางว่า นักการตลาดเป็นนักโฆษณา เพราะแท้จริงแล้ว นักการตลาดเป็นมากกว่านั้น ทั้งนักคิด นักสื่อสารสร้างความสัมพันธ์ โดยจัดการเนื้อหาให้สอดรับกับลูกค้า
นอกจากนี้ ยังต้องใช้ประโยชน์จาก “ฐานของข้อมูลมหาศาล (Big Data)” ที่สั่งสม พื้นฐานการอ่านใจผู้บริโภค ตัวอย่างเเด่นชัดที่นำข้อมูลมาใช้พัฒนาการตลาดเกิดขึ้นในญี่ปุ่น เมื่อบริษัทยาแนะนำประชากรและลูกค้าที่เป็นหวัดให้ติดแท็กบนทวิตเตอร์โชว์ข้อมูล ภาพกว้างของสถิติจำนวนคนเป็นหวัดในเมืองต่างๆ ในแผนภาพเป็นสีแดง กลายเป็นตัวช่วยให้ฝ่ายการตลาดได้ส่งยาในสัดส่วนตามความเข้มสอดคล้องตามจำนวนผู้ป่วยที่โชว์ในสถิติ
เป็นการพึ่งพาข้อมูลกับการตลาดได้อย่าง “ชาญฉลาด”

**ยุคทอง...สตาร์ทอัพ
เรืองโรจน์ พูนผล หุ้นส่วนนักลงทุน 500 สตาร์ทอัพ กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันสตาร์ทอัพเริ่มกิจการได้ในต้นทุนที่ต่ำมากและในช่วงเวลาเพียง 2-3 ปีที่สตาร์ทอัพถือกำเนิดธุรกิจขึ้นในเมืองไทยกลับพัฒนาธุรกิจมูลค่าจากเริ่มต้นร้อยล้าน ถือว่าใหญ่แล้ว มีบางธุรกิจขายกิจการไปในมููลค่า 500 ล้านบาทในเวลา 2 ปี และปัจจุุบันสตาร์ทอัพบางบริษัทมีมูลค่ากระโดดขึ้นไปถึง 2,000 ล้านบาท
เขาบอกว่า ช่วงนี้ถือเป็น “ยุคทอง” ของสตาร์ทอัพในการเริ่มธุรกิจ เพราะเริ่มได้ในต้นทุนที่ต่ำจากอดีตลงทุนหลักสิบล้าน ณ วันนี้ เริ่มต้นเพียง 2 แสน บวกกับความคิดที่แตกต่าง สร้างคุณค่า และเป็นไปได้ สื่อสารให้นักลงทุนเข้าใจ มีโอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดดสูง แต่หากหลังจากนี้เมื่อธุรกิจขยายตัว เมื่อคิดจะเข้ามา มูลค่าธุรกิจอาจจะมีราคาสูงเกินไปที่ลงทุน

“ที่ผ่านมาจำนวนคนทำสตาร์ทอัพมีมากแต่มีสัดส่วนของคนที่ไปถึงฝั่งน้อยมาก เพราะขาดคุณสมบัติที่นอกเหนือจากความรู้ คือ กัดไม่ปล่อยไม่ลดละความพยายาม”

ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ประธานกรรมการบริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท Ookbee จำกัด ร้านขายหนังสือ นิตยสาร ออนไลน์ ที่พัฒนาธุุรกิจเติบโตจากการเป็นผู้เชื่อมธุุรกิจในเวลาเพียง 2-3 ปี เล่าถึงความสำเร็จของ อีบุ๊ค ว่า เกิดจาก การพัฒนาราคาต่ำให้แตกต่างจากอ่านหนังสือฉบับจริง 30-40% และแบ่งรายได้ให้กับพันธมิตรธุรกิจ ร้านหนังสือในราคาที่เท่ากัน

เริ่มต้นจากการดึงให้สมาชิกเข้ามาโหลดแอพลิเคชั่น ด้วยการแจกหนังสือฟรี จากการไปกว้านซื้อหนังสือเก่าๆ แถมออฟชั่นเพิ่มเงินอีกนิดได้หนังสือใหม่ไปอ่าน นำเสนอกลยุทธ์การตั้งราคา และบอกรับสมาชิกที่คุ้มค่าด้วยการเพิ่มมีการจูงใจให้หนังสือทั่วประเทศเข้ามาใช้แพลตฟอร์มแอพฯตัวนี้เพื่อโปรโมทสินค้าตัวเองแบบไม่เสียเงิน แม้ไม่มีการสั่งก็ไม่เสียหายอะไร แต่เมื่อมียอดซื้อขายเข้ามาจึงได้ส่วนแบ่งการขาย ในกลยุุทธ์อีกขั้้นอุ๊คบียังได้โปรโมทแอพสโตร์ของตัวเองผ่านแมกกาซีนหรือหนังสือเหล่านี้ เมื่อบนหน้าโฆษณามีการระบุดาวน์โหลดแอพฯฟรี

ปัจจุบันอุ๊คบี สร้างชุมชนคนอ่านหนังสือออนไลน์ที่ใหญ่มากสามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจเป็นมากกว่าร้านหนังสือ แต่ยังสั่งพิมพ์ได้ในกรณีที่ความต้องการมาก ที่สำคัญลูกค้าเก่าไม่หนีไปไหนและมีลูกค้าใหม่เพิ่มเข้ามาอ่านหนังสือในอุ๊คบีทุกปี ทำให้ธุรกิจยังคงอยู่ช่วงขาขึ้น

จอมทรัพย์ สิทธิพิทยา ประธานกรรมการบริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท Exzy จำกัด เล่าประสบการณ์สตาร์ทอัพว่า โมเดลธุุรกิจของเขาเป็นรูปแบบวางแผนพัฒนาโปรแกรมให้กับลูกค้าบริษัท (B2B) ฉะนั้นต้องเริ่มต้นจากความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ของตัวเองก่อนว่จะเข้าไปพัฒนาธุรกิจให้กับลูกค้าได้จริง จากนั้นพัฒนาทีมเซลล์ให้คัดเเลือกลูกค้าที่ตรงกับโจทย์ แบ่งเป็น 2 ทีม คือ ทีมคัดลูกค้า และทีมออกไปนำเสนอบริการ ซึ่งส่วนใหญ่สามารถปิดการขายได้ ทำให้บริษัทมีรายได้เข้ามาอย่างก้าวกระโดด

เขามองว่า สิ่งสำคัญของบริษัทอยู่ที่ทีมงานเริ่่มต้น 10 แรกที่ต้องมองหาคนที่คิดถึงคนอื่น หรือส่วนร่วมมากกว่าตัวเอง จะมีผลทำให้ทุกคนมองเป้าหมายเดียวกันคือการทำเพื่อบริษัท จากนั้นสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้วยการกินข้าวด้วยกัน เป็นช่องทางการแบ่งปันประสบการณ์ข้ามสายงาน สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกดการหลอมรวมวัฒนธรรมองค์กรคนทำสตาร์ทอัพที่ไม่เหมือนใครให้สร้างทีมเวิร์ค ที่เข้าใจกันและมีไลฟ์สไตล์ใกล้เคียงกัน
--------------------------------------
ค้าออนไลน์ ให้ซัคเซส !!

วรรณา สวัสดิกูล ประธานกรรมการบริหารฝ่ายธุรกิจออนไลน์ บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (เทสโก้ โลตัส) เล่าถึงการพัฒนาแผนออนไลน์ขึ้นมาใหม่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาว่า เพราะมองว่าเป็นความแตกต่างที่ยังมีความต้องการของคนซื้ออยู่มากพอสมควร เริ่มต้นจากสินค้าอาหารสด ส่วนสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอื่นถูกนำไปจำหน่ายช่องทาง ลาซาด้า ที่ถือว่าร่วมกันได้ประโยชน์เพราะลาซาด้า ต้องการสินค้า ขณะที่เทสโก้ต้องการลูกค้าออนไลน์ โดยเริ่มต้นที่กรุงเทพฯ พัทยา นำร่อง เริ่มต้นยอดเพียงเล็กน้อย แต่ปีที่ 2 และ 3 ยอดขายโตเป็นเท่าตัว สะท้อนให้เห็นว่าความต้องการสินค้าเหล่านี้

"เราเริ่มจากของสดแม้ตลาดไม่น่าจะขายของสดออนไลน์ได้ เพราะลูกค้าต้องการจับดูคุุณภาพสินค้าด้วยตัวเอง ดังนั้น หากสร้างความมั่นใจและส่งมอบได้ตรงเวลา มีระบบขนส่งที่มีคุณภาพและรวดเร็ว ก็มีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ต้องการไปยืนต่อคิวซื้อสินค้าแถวยาว ลูุกค้าจึงยอมจ่ายเงินเพิ่ม 60 บาท แล้วรออรับสินค้าอยู่บ้าน

โอกาสสำคัญที่จะเพิ่่มยอดขายได้ในพื้นที่สาขาที่เทสโก้ยังไม่ได้ไปเปิด เห็นได้จากยอดสั่งซื้อเข้ามาส่วนใหญ่เป็นพื้นทที่ห่างไกล เช่น เกาะ หรือ พื้นที่ที่ไม่มีสาขาเทสโก้ฯ ไปตั้ง รวมถึง ออนไลน์ยังเป็นพื้นที่ขายสินค้าที่เคลียร์สต็อกสินค้าตกรุ่นหมดลงอย่างรวดเร็ว เช่น เกมนินเทนโด้ คนต่างจังหวัดนิยมสั่งซื้อให้กับลูกไว้เล่น

ขณะที่ ทิวา ยอร์ค ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดีเอฟ มาร์เก็ตเพลส จำกัด แหล่งรวมสินค้ามือสอง ลูกค้าเจอลูกค้า (C2C) ทำหน้าที่สร้างตลาดให้คนปล่อยของขาย เช่น เสื้อผ้า พระเครื่อง มือถือ รถยนต์ และอสังหา มีคนเข้าหน้าเว็บถึง 1.2 ล้านรายการสินค้า

เขายังพบว่า ยอดสั่งซื้อที่เข้ามาจำนวนมากมา ส่วนใหญ่อัตราส่วน 70% ของยอดสั่งซื้อและยอดการวางขาย มาจากช่องทางโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น ใครคิดทำการค้า ควรนึกถึง Mobile First

สมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เพล์สบาย จำกัด มองว่า สังคมไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้นให้ความรู้ทำให้กลุ่มผู้ถือบัตรเครดิต ที่ยังไม่กล้ารูดบัตรซื้อสินค้า จึงต้องพัฒนาช่องการเงินในหลากหลายรูปแบบ อาทิ การเงินเงินสดปลายทาง การชำระเงินในร้านสะดวกซื้อใกล้บ้าน เป็นต้น

นอกจากนี้ สิ่่งที่พบในสถานการณ์อีคอมเมิร์ซในไทยคือ ตัวเลขพุ่งขึ้นเกือบเท่าตัว สำหรับ ขายดีดอทคอม อัตราการเติบโตยอดขายปีที่ผ่านมาโต 220% มีสินค้าทั้งหมด 6.5 ล้านรายการ กระจายไปทั่วประเทศ สัดส่วนต่างจังหวัดในหัวเมืองใหญ่ๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่เพย์สบายมียออดคนสมัครเข้ามาเปิดบัญชีสำหรับเริ่มต้นเก็บเงินออนไลน์จากวันละ 50 คนปัจจุบันเพิ่มเป็น 200 คน สะท้อนให้เห็นว่่าคนสนใจจำนวนมาก

ทิวา ยังเล่าถึงปัญหาที่พบว่า อุปสรรคอยู่ที่อารมณ์คนไทยยังพร้อมเปลี่ยนใจได้เสมอ แม้จะสั่งซื้อสินค้าไปแล้วก็พร้อมที่จะปฏิเสธได้เช่นเดียวกัน เพราะเป็นการเก็บเงินปลายทาง ดังนั้นประเมินว่า จากยอดสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ต เป็นคาดซื้อขายจริงเพียง 30% แต่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ทำให้คนเริ่มคุ้นชินกับการซื้อของออนไลน์มากขึ้น ขณะที่เทสโก้ โลตัส กลับไม่เจอปัญหาดังกล่าว นั่นเพราะ เป็นสินค้าที่จำเป็น อาหารสด และของใช้ในชีวิตประจำวัน มากกว่าสินค้าทีต้องพึ่งพาอารมณ์ชั่วครู่ จึงมีอัตราส่วนการยกเลิกสั่งสินค้าน้อยมาก

ทิวา แนะนำรายใหม่ที่อยากเข้าไปในตลาดว่า ควรจับมือกับ “ผู้เชี่ยวชาญ” ในด้านออนไลน์และผนึกกำลังกัน ดีกว่าทำคนเดียวทั้งหมด เช่น we love shopping หรือ ลาซาด้า เขามองสิ่งกำลังจะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้าว่า อัตรการใช้มือถือจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นไม่สำคัญว่าโลกออนไลน์คืออะไร เพราะจะมีลูกค้าหน้าใหม่ที่ใช้อีเมล์ไม่เป็น หรือล็อกอินไม่เป็น แต่สั่งซื้อสินค้าได้จากโซเชียล หรือช่องทางอื่น เช่น ไลน์ โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัดสัดส่วนการเติบโตมากขึ้นอย่างชัดเจน

สมหวังเสริมทิวา ว่าส่วนใหญ่ธุรกิจจะผนึกกำลังและเป็นลูกครึ่งทั้งหมดไม่ได้ทำคนเดียว ดังนั้นคนไทยต้องรีบผนึกกำลังหา "พาร์ทเนอร์” ที่ร่วมกันพัฒนาธุรกิจได้ดีกว่าปล่อยให้ต่างชาติเข้ามาบุกประเทศฝ่ายเดียว
ผู้บริหารเทสโก้ฯ ทิ้งท้ายว่า การพัฒนาระบบให้เป็นรูปธรรมนั้นไม่สามารถอาศัยเครื่องมือเพียงออนไลน์อย่างเดียว แต่จะต้องทำควบคู่ เช่น โฆษณาทีวี จากที่ทำให้คนไม่รู้จัก จะทำให้คนมั่นใจ รูู้จัก และเพิ่มยอดขายได้อย่างก้าวกระโดด แม้วิธีคิดจะย้อนศร สำหรับบริบทไทยๆ การผสมผสาน ช่องทางใหม่กับช่องทางเก่า ยังต้องวางแผนไปพร้อมกัน

สิ่งสำคัญคือ “การพัฒนาประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้เข้าใจและประทับใจการบริการ” เมื่อสินค้าไปส่งถึงบ้านก็ต้องได้รับความไว้วางใจ ไม่ใช่การลังเลที่จะไม่ยอมให้เข้าบ้าน รวมถึงการผนึกกำลังกันกับลาซาด้ากกับเทสโก้ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้า รวมถึงการมีศูนย์ซ่อมอุปกรณ์จะเป็นการเพิ่มมููลค่าสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับ