กนง.มีมติ5ต่อ2หั่นดอกเบี้ยนโยบายลง0.25%

กนง.มีมติ5ต่อ2หั่นดอกเบี้ยนโยบายลง0.25%

Update กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 1.5% จากเดิมอยู่ที่ 1.75%

นายเมธี สุภาพงษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% จาก 1.75% เหลือ 1.50% ต่อปี โดยมีผลทันที ทั้งนี้ คณะกรรมการเห็นว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ในการประชุมครั้งก่อน แม้การเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น การท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีต่อเนื่อง แต่ไม่เพียงพอที่จะชดเชยการส่งออกสินค้าและการบริโภคภาคเอกชนที่อ่อนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก

“สำหรับการลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ยอมรับว่าส่งผลดีต่ออัตราแลกเปลี่ยน และเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกด้วย แต่ยืนยันว่าอัตราดอกเบี้ยคงไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนการส่งออกทั้งหมด”นายเมธี กล่าว

ทั้งนี้ ในวันที่ 10 มิถุนายน 2558 ธปท.จะแถลงตัวเลขการปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ลงจากปัจจุบันที่ 3.9% และปรับตัวเลขการส่งออกที่ปัจจุบันคาดการณ์ที่ 0.8% นอกจากนี้ยังจะปรับตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้ลงด้วย

อย่างไรก็ตาม ในระยะข้างหน้า มองว่าภาคการส่งออกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และโครงสร้างการค้าโลกและภูมิภาคที่เปลี่ยนอปลงโดยคู่ค้าหลักมีการพึ่งพาการนำเข้าลดลง รวมทั้งจากแรงกดดันจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ การหดตัวของการส่งออกอาจส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนและการบริโภคภาคครัวเรือนอ่อนแอลงตามกำลังซื้อและความเชื่อมั่นที่ลดลง

ส่วนสถานการณ์เงินเฟ้อลดต่ำลงสอดคล้องกับอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจที่มีน้อยกว่าคาด ขณะที่ต้นทุนโดยเฉพาะราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะติดลบต่อเนื่องเพิ่มสูงขึ้น ตามการคาดการณ์เงินเฟ้อที่มีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้คณะกรรมการเริ่มเห็นความเสี่ยงของภาวะเงินฝืด เนื่องจากเห็นการชะลอตัวของราคาสินค้าเริ่มกระจายตัวมากขึ้น นอกเหนือจากราคาน้ำมันตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งกนง.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

นายเมธี กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่าธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.จะประกาศมาตรการเงินทุนเคลื่อนย้ายนั้น ในวันพรุ่งนี้ (30 เม.ย.) ธปท.จะแถลงมาตรการผ่อนคลายเงินทุนไหลออก ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ ธปท.มีอยู่แล้ว แต่จะเป็นการผ่อนคลายเพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์ที่มีอยู่

อนึ่ง ประเด็นที่คณะกรรมการฯ ให้ความสาคัญในการตัดสินนโยบาย มีดังนี้

เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวในอัตราที่ต่ากว่าที่เคยประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน แม้การเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐที่ทาได้เพิ่มขึ้นและการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มดีต่อเนื่องช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ แต่ไม่เพียงพอที่จะชดเชยการส่งออกสินค้าและการบริโภคภาคเอกชนที่อ่อนแรงกว่าคาดมากในไตรมาสที่ 1 นอกจากนี้ ในระยะข้างหน้าภาคการส่งออกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และโครงสร้างการค้าโลกและภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงโดยคู่ค้าหลักมีการพึ่งพาการนาเข้าลดลง รวมทั้งจากแรงกดดันจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ การหดตัวของการส่งออกอาจส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนและการบริโภคภาคครัวเรือนอ่อนแอลงตามกาลังซื้อและความเชื่อมั่นที่ลดลง

แรงกดดันเงินเฟ้อลดต่าลงสอดคล้องกับอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจที่มีน้อยกว่าคาด ขณะที่ต้นทุนโดยเฉพาะราคาน้ามันอยู่ในระดับต่าต่อเนื่อง ซึ่งทาให้ความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะติดลบต่อเนื่องเพิ่มสูงขึ้นและการคาดการณ์เงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับลดลง

ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ เสียงส่วนใหญ่ประเมินว่านโยบายการเงินควรผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาวะที่มีความเสี่ยงด้านต่าเพิ่มขึ้น ตลอดจนดูแลการคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คณะกรรมการฯ เสียงส่วนน้อยเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ เนื่องจากการดาเนินนโยบายการเงินที่ผ่านมามีส่วนช่วยให้ภาวะการเงินผ่อนคลายมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับขีดความสามารถในการดาเนินนโยบายการเงินเพิ่มเติมมีจากัด ขณะที่แรงขับเคลื่อนด้านการคลังที่มากขึ้นจะช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ส่วนหนึ่ง จึงเห็นควรให้รอประเมินผลต่อเศรษฐกิจและเสถียรภาพการเงินก่อนที่จะดาเนินนโยบายเพิ่มเติม

ในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ จะดาเนินนโยบายการเงินเพื่อดูแลให้ภาวะการเงินอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายเพียงพอในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจะติดตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจการเงินของไทยและใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่อย่างเหมาะสมต่อไป