สธ.กําหนดเงื่อนไขนําเข้าอาหารเสี่ยงกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่น

สธ.กําหนดเงื่อนไขนําเข้าอาหารเสี่ยงกัมมันตรังสีจากญี่ปุ่น

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข กําหนดเงื่อนไขนําเข้าอาหารเสี่ยงปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี อย่างเนื้อหมูป่า,เนื้อไก่ฟ้าญี่ปุ่นและเนื้อกวางซิกะ

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ (28เม.ย.) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๗๑) พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง กําหนดเงื่อนไขการนําเข้าอาหารที่มีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงเงื่อนไขการนําเข้าอาหารที่มีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี จากประเทศญี่ปุ่นให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น และตามความในข้อ ๕ ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ลงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ กําหนดให้รัฐมนตรี ประกาศประเภท ชนิดของอาหาร พื้นที่และประเทศ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๗๐) พ.ศ. ๒๕๕๗ เรื่อง กําหนดเงื่อนไขการนําเข้าอาหารที่มีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ลงวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ข้อ ๒ ให้เนื้อหมูป่า (boar meat) เนื้อไก่ฟ้าญี่ปุ่น (copper pheasant meat) เนื้อกวางซิกะ (sika deer meat) จากประเทศญี่ปุ่นในเขตพื้นที่จังหวัดฟุกูชิมะ จังหวัดกุมมะ และจังหวัดมิยางิ ที่นําเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องเป็นไปตามมาตรฐานอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ซึ่งตรวจพบได้ไม่เกินปริมาณที่กําหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรฐานอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ลงวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยผู้นําเข้าต้องจัดให้มีหลักฐานระบุประเภท ชนิดอาหาร ปริมาณกัมมันตรังสี และพื้นที่ที่ผลิตอาหาร จากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดังต่อไปนี้ แสดงที่ด่านนําเข้าทุกครั้งที่นําเข้า
(๑) หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบของประเทศญี่ปุ่น
(๒) หน่วยงานอื่นที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบของประเทศญี่ปุ่น
(๓) ห้องปฏิบัติการของหน่วยงานของรัฐ
(๔) ห้องปฏิบัติการที่ได้รับมอบหมายหรือได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ
(๕) ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานสากล
ข้อ ๓ ให้ผู้นําเข้าเนื้อหมูป่า (boar meat) เนื้อไก่ฟ้าญี่ปุ่น (copper pheasant meat)
เนื้อกวางซิกะ (sika deer meat) จากประเทศญี่ปุ่นที่นอกเหนือจากเขตพื้นที่จังหวัดตามข้อ ๒ ต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกําเนิดของสินค้าในเขตพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งออกโดยหน่วยงานของรัฐของประเทศญี่ปุ่นหรือหน่วยงานอื่นที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบของประเทศญี่ปุ่น หรือสภาหอการค้าและอุตสาหกรรม (Chamber of Commerce and Industry) ของประเทศญี่ปุ่น แสดงที่ด่านนําเข้าทุกครั้งที่นําเข้า
กรณีไม่มีหนังสือรับรองแหล่งกําเนิดของสินค้าตามวรรคหนึ่ง ผู้นําเข้าอาจใช้หลักฐานแสดงผลการตรวจวิเคราะห์ระบุประเภท ชนิดอาหารและปริมาณกัมมันตรังสีจากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งตามข้อ ๒ (๑) ถึง ๒ (๕) แทนได้
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘
ศาสตราจารย์รัชตะ รัชตะนาวิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข