สิ่งเล็กๆ ที่เปลี่ยนโลก 'พฤหัส พหลกุลบุตร'

สิ่งเล็กๆ ที่เปลี่ยนโลก 'พฤหัส พหลกุลบุตร'

ณ วันนี้ การศึกษานอกกรอบ ที่เคยถูกมองว่า อุดมคติเกินไป ได้กลายมาเป็นเทรนด์ ถ้าเชื่อว่า มันเปลี่ยนโลกได้จริง ก็ลองตามอ่าน...



เคยถูกมองว่า "นอกกรอบ อุดมคติเกินไป ช่างฝัน แล้วจะเอาอะไรกิน...." 

นั่นเป็นการมองเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว แต่ ณ วันนี้ งานที่เขาทำในสื่อรากหญ้าเล็กๆ ที่เรียกว่า มะขามป้อม โดยใช้ละครเป็นเครื่องมือในการสื่อสารเรียนรู้ชุมชน ตนเอง และสังคม รวมถึงการจัดกระบวนการให้คนหลากหลายอาชีพ กลายเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ให้สังคมได้ 

พฤหัส พหลกุลบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) หนึ่งในฟันเฟืองของสื่อกลุ่มเล็กๆ ที่เรากล่าวถึง 
ในช่วงที่ค้นหาสิ่งที่ชอบ และใช่ในชีวิต เขาเริ่มจากการเป็นอาสาสมัครในมะขามป้อม ทำทุกอย่างที่คนหนุ่มอยากทำ เล่นละคร เขียนบท ยกฉาก ลงชุมชนทำงานกับเด็กๆ ขึ้นเหนือไปอยู่กับคนบนดอย ล่องใต้ ไปอยู่กับชาวเล นั่นทำให้เขาได้เรียนรู้และค้นพบคำตอบให้ตัวเองว่า "การเรียนรู้ที่แท้จริง คือ การลงมือทำ" 
ณ วันนี้ พฤหัส พาตัวเองมาไกลเกินฝัน เขาได้ทำงานที่ตัวเองรัก และเห็นว่า สิ่งเล็กๆ ที่ทำนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมได้ 25 ปีที่เขาได้รู้และเห็นว่า กระบวนการเรียนรู้แบบนี้ ทำให้คนได้เรียนรู้และนำไปใช้กับชีวิตได้อย่างไร 

ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) คนนี้ กลายเป็นทั้งโค้ช กระบวนกรให้คนหลากหลายอาชีพ แพทย์ พยาบาล ครู หมอ ต่างก็มาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และนั่นทำให้เขาเรียกตัวเองว่า นักการศึกษา 

และที่อาจหาญกว่านั้น คือ ร่วมกับเพื่อนๆ หลากหลายอาชีพ ตั้งมหาวิทยาลัยเถื่อน โดยเพื่อนยกให้เขาเป็นอธิการบดี เพื่อรวมพลผู้ก่อการดี โดยใช้สถานที่ของมะขามป้อมอาร์ตสเปซ กลางท้องนาที่อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เป็นแหล่งเรียนรู้ 

ที่น่าสนใจกว่านั้น ก็คือ เขาบอกว่า โลกในศตวรรษหน้า ต้องเรียนรู้แบบนี้แหละ ครูเป็นแค่โค้ช ส่วนวิธีการหาความรู้เป็นหน้าที่ของผู้เรียน 
แบบนี้จะเรียกว่า สิ่งเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้ไหม ... 

เรื่องใดที่ทำให้คุณทำงานมะขามป้อม ได้ยาวนานถึง 25 ปี 

เรื่องเรียนรู้ครับ เราถือว่า ทำงานทุกวันได้เรียนรู้ไปเรื่อยๆ ได้ทำสิ่งที่ตัวเองรัก ได้เรียนรู้จากละคร พอทำงานไป เราก็รู้สึกว่า เรื่องนั่นเรื่องนี้ยังรู้ไม่ จึงต้องเรียนรู้เพิ่ม 

แรกๆ ที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครมะขามป้อม ตอนนั้นคิดยังไง 
เป็นความสนใจที่ได้ทำละครเร่ ตอนนั้นถือว่าเป็นประสบการณ์ใหม่ของคนหนุ่มสาวที่ได้เริ่มต้นทำงาน เพื่อค้นหาศักยภาพบางด้าน จริงๆ แล้วมีอยู่แล้ว แต่เราไม่เคยเจอมัน ก็คือ เรื่องการแสดง และการจัดกระบวนการ เพื่อให้คนได้เรียนรู้เข้าใจตนเองและเติบโตขึ้น เราเรียนรู้ผ่านละคร เพื่อเป็นกระบวนการเรียนรู้เรื่องชุมชน จากนั้นก็เรียนรู้เรื่องอื่นๆ อีก สิ่งแวดล้อม เรื่องเอดส์ ฯลฯ 

ตอนนั้นฝันเหมือนคนหนุ่มสาวที่อยากทำงานเพื่อสังคมสักช่วงหนึ่งของชีวิต ? 
ไม่ได้คิดมาก เพราะเราชอบละคร แต่พอผมทำเรื่องพวกนี้ ยิ่งทำ ยิ่งท้าทาย และน่าค้นหา เราทำกันกลุ่มเล็กๆ แต่พอทำแล้ว คนสนใจ ก็เริ่มเชื่อมโยง ทำให้เรารู้ว่า นี่แหละคือการเรียนรู้ที่สำคัญกับชีวิต ซึ่งน่าจะเป็นการเรียนรู้ที่แท้ เพราะการเรียนรู้ในระบบการศึกษาไม่ได้ตอบโจทย์ให้ชีวิต ไม่ทำให้เราเติบโตด้านใน ซึ่งกระบวนการที่เราทำช่วยเรื่องนี้ได้ 

ที่ผ่านมา การศึกษาในระบบสามารถตอบโจทย์ให้ชีวิตคุณไหม 
ผมเรียนคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ แต่ผมก็รู้ภาคทฤษฎี แม้เราจะเข้าใจทฤษฎี แต่มันไม่แตกฉาน และไม่ได้เข้าใจจริงๆ แต่ผมผพบทั้งหมดในกระบวนการทำงานที่มะขามป้อม เราก็เลยเชื่อการเรียนรู้ที่ผ่านการลงมือทำ 

การศึกษาในความคิดของคุณ ต้องเป็นอย่างไร 
ต้องทำให้เรางอกงาม เติบโต เรียนรู้ไปเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุด ถ้าเราคิดว่า เราเป็นนักเรียนรู้ ก็จะทำให้เราแข็งแรงและแข็งแกร่งจากการสะสมความรู้และประสบการณ์ 

ในมุมของคุณกระบวนการเรียนรู้แบบไหน สามารถทำให้คนเปลี่ยนแปลงตัวเอง 
ยกตัวอย่างเด็กขี้อายคนหนึ่ง ไม่นับถือตัวเอง เห็นตัวเองเป็นแมลงวี่แมลงวัน มาเรียนรู้กับพวกเรา เรามีกระบวนการต่างๆ เพื่อให้เขามองเห็นตัวเอง เขาก็ค่อยๆ เห็นคุณค่าตัวเอง ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ และตอนหลังก็เป็นผู้นำในชุมชน อีกกรณีที่ผมยกตัวอย่างอาจไม่ชัดนัก คือ ในหมู่บ้านปางแดงบนดอยที่เราไปทำงานอย่างต่อเนื่อง เราไปปลูกฝังเรื่องสิทธิและสัญชาติ เราใช้ละครเป็นตัวเริ่ม สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ซึ่งเราบอกไม่ได้ว่ากรณีนี้เป็นความสำเร็จจากที่เราเข้าไปทำงาน ก แต่เป็นความสำเร็จในเรื่องการเรียนรู้ พวกเขาได้ต่อสู้เรื่องอื่นๆ ต่อไปด้วยตัวเอง 

และคงไม่ใช่แค่กระบวนการละครที่ใช้เป็นสื่อ พวกเขาต้องมีประสบการณ์ด้วยตัวเอง และสกัดประสบการณ์นั้นเป็นความรู้เฉพาะ ซึ่งผมสนใจอันนี้ เพราะมาจากประสบการณ์จริง มีคุณค่ามากกว่าทฤษฎีที่จำคนอื่นมา พอทำงานในหมู่บ้านก็เห็นว่า หมู่บ้านนี้มันสวย ก็ค่อยๆ สร้างผลิตภัณฑ์บางอย่าง ก็ค่อยๆ ต่อยอด ความรู้แบบนี้มีคุณค่ามากกว่า จริงๆ แล้วละครที่เราทำ ก็คือ การสร้างบทสนทนาจากคนที่แตกต่างหลากหลาย เพื่อสร้างการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพราะเราเชื่อเรื่องความเท่าเทียมกันของมนุษย์ และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นปรัชญาขององค์กรเราอยู่แล้ว 

ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น คุณคิดว่า ปมปัญหาอยู่ตรงไหน 
ทัศนะต่อชีวิตและโลกของคนไทย เพราะวิธีคิดของคนไทย พวกเขาต้องการอำนาจบางอย่าง เพื่อดูแลตัวเขา อาจเป็นอำนาจจากเจ้านาย หรือ เบื้องบน ผมมองว่า ถ้าเราปลดปล่อยสิ่งเหล่านี้ได้ พวกเขาก็จะเป็นอิสระ คนจำนวนมากมีลักษณะนี้ วัฒนธรรมอำนาจนิยมมีอยู่ทุกหน่วยในสังคม อำนาจนิยมในครอบครัว อำนาจนิยมที่มีต่อกัน เราพูดเรื่องปฎิรูปการศึกษา โดยให้เด็กมีส่วนร่วม แต่เด็กคิดเองไม่ได้ เพราะเด็กต้องคิดตามแบบเรียน มีเรื่องโอเน็ต เอเน็ต เข้ามาเกี่ยวอีก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษา ทั้งครู ผู้อำนวยการ กระทรวงศึกษาธิการ ไม่กล้าขยับ เพราะระบบ 

องค์กรเล็กๆ อย่างมะขามป้อม จึงอยากมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสังคม ? 
ผมไม่ได้แก้ไข และไม่คิดว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไร ข้อแรกผมทำใหม่ ชวนเพื่อนที่ไม่เชื่อกับระบบนี้สร้างทางเลือกใหม่ อยากให้เกิดการเรียนรู้แบบไหน หรือต้องการสร้างชุมชนแบบไหน คุณก็สร้างเลย อีกส่วนที่ผมทำคือ มหาวิทยาลัยเถื่อน และไปช่วยเพื่อนๆ ที่ทำงานในระบบ ทำงานกับครู 

นอกเหนือจากงานที่มะขามป้อม คุณยังทำมหาวิทยาลัยเถื่อน ? 
เดี๋ยวนี้พ่อแม่หันมาจัดการศึกษาให้ลูก นักกิจกรรมจัดการศึกษากันเอง พวกเขาคิดว่า ดีกว่าเรียนในระบบโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เพราะมันตายเลย ใครชอบแบบไหนก็อยู่กันไป แต่ถ้าใครไม่พอใจก็หาทางออกร่วมกัน ผมกับเพื่อนๆ นักกิจกรรม ก็มีองค์ความรู้ จึงมาจัดเวิร์คช้อป นัดเจอกันที่อ.เชียงดาว พลังเล็กๆ ยี่สิบกว่าคน มีกราฟฟิคดีไซเนอร์ นักกระบวนกร พี่อ้อย -โลกสีเขียว มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ ฯลฯ ปีแรกก็แลกกันเรียนคนละวิชาที่ทำอยู่ จัดระบบว่า ภาคเช้าเป็นเถื่อนทอล์ค ภาคบ่ายเป็นเถื่อนทำ เวิร์คชอปลงมือปฎิบัติ บางห้องใช้ท้องนาเป็นที่เรียนรู้ ค่ำๆ ก็ดื่มน้ำชาพูดคุย อยู่กันห้าวันสี่คืน เป็นอะไรที่สนุกมาก เพราะทุกคนอยากรู้ในสิ่งที่คนอื่นรู้และสอนเราให้ลงมือทำ ผลัดกันเรียน เปลี่ยนกันสอน ซึ่งทุกคนมีความสุข และพอปีที่สอง มีคนร่วมกลุ่ม 80 คน หลากหลายทั้งวัยรุ่นและวัยทำงาน ซึ่งไม่มีพรมแดนเรื่องวัย มีคนสนใจเยอะขึ้น 

เพราะอะไรถึงตอบโจทย์คนเรียนได้ 
ผมรู้สึกว่า วิชาเหล่านี้หาเรียนไม่ได้ในระบบ อย่างอาจารย์เดชรัตน์ สุขกำเนิด สอนเรื่องเศรษฐศาสตร์กลับทาง ถ้าเราไม่ได้เป็นเด็กเศรษฐศาสตร์ เราก็ไม่ได้เรียน แต่อาจารย์พูดเรื่องเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เล่าให้ฟังว่า เขาสอนในห้องเรียนอย่างไร หรือลูกสาวของอาจารย์ น้องกระติ๊บมาคุยเรื่อง การศึกษาเพื่อความเป็นไทในมุมมองวัยรุ่น เด็กมองยังไงเรื่องการศึกษา ถ้าผู้ใหญ่ฟังจริงๆ ก็มีสาระ อย่างพี่อ้อย- ดร.สรณรรัชฎฺ์ สอนเรื่องการสำรวจสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้น การได้มองแมลงเล็กๆ เหมือนการมองตัวเอง ได้นิ่งและช้าเป็นไปตามธรรมชาติ ผมว่าห้องเรียนแบบนี้มีชีวิต 

จะมีมหาวิทยาลัยแบบนี้ในอนาคตไหม 
ก็ฝันไปไกลเหมือนกัน อยากให้มีแบบนี้เยอะๆ เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ เพื่อเป็นทางเลือกให้คน อีกอย่างคนเก่งๆ ไม่จำเป็นต้องไปเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยอย่างเดียว คนเก่งๆ ที่อยู่ในวิชาชีพต่างๆ พวกเขาคือ ตัวจริง บางคนอยู่ในวิชาชีพนั้นยี่สิบสามสิบปี ซึ่งไม่เหมือนอาจารย์ที่จบวิชาชีพนั้น ทั้งๆ ที่่บางคนเป็นด็อกเตอร์ ไม่ได้ลงมือทำ ก็รู้แค่ทฤษฎี 

จะเรียกว่าการศึกษาในโลกยุคใหม่ได้ไหม 
โลกยุคใหม่เป็นแบบนี้ คือ เข้าถึงความรู้ได้ง่ายมาก แต่สิ่งที่คนเข้าถึงไม่ได้คือ ทัศนะต่อชีวิตต่อโลก เพราะครูได้เแต่พ่นความรู้ แต่ไม่ได้สอนทัศนะต่อโลก ครูน่าจะเป็นโค้ชชีวิตให้ลูกศิษย์ 

การเรียนในระบบเก่า ล้าสมัยไปแล้ว ? 
ใช้ไม่ค่อยได้ ตั้งแต่อนุบาลถึงมหาวิทยาลัย เพราะเด็กๆ ไม่ได้ลงมือทำ ทฤษฎีที่เรียนเป็นการวัดประเมินเพื่อสอบ ในชีวิตจริง ถ้าคนเราทำงานไม่ได้ ก็โดนไล่ออกหรือไม่มีกิน ซึ่งต้องใช้ชีวิตแลก ณ วันนี้โลกเปลี่ยนไปมาก ต้องแสวงหา สิ่งที่เราเรียนตอนนี้เป็นวิธีคิดเมื่อ 200 ปีที่แล้ว ก็คือ จับคนมานั่งเรียนในห้อง แล้วบั๊มออกมาเหมือนกัน ซึ่งไม่ใช่ยุคนี้แล้ว เราก็เลยเชื่อว่า เรื่องเล็กๆ แล้วต่อเนื่องเป็นเครือข่ายมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง กลายเป็นเทรนด์ของโลก เรื่องใดที่ใหญ่โตเข้าถึงยากก็จะล่มสลายไป แล้วอะไรที่เล็กๆ เชื่อมโยงกับเซลล์เล็กๆ ผมคิดว่าเป็นแนวโน้มองค์กรในอนาคต ซึ่งเทรนด์ทางเลือกในอเมริกา ยุโรปค่อยๆ กระเตื่อง เหมือนเทรนด์คนดูแลสุขภาพ ที่เห็นว่า กินอาหารสารเคมีเยอะๆ ไม่ไหวแล้ว ต้องหาทางเลือกใหม่ 

ตอนนี้มหาวิทยาลัยเถื่อนอยู่ในจุดไหน 
เป็นแค่มูฟเม้นท์ องค์ความรู้ไม่ถึงกับเป็นมหาวิทยาลัย ไม่ขนาดนั้น เราใช้ชื่อนี้ เพราะอยากเห็นรูปแบบใหม่ๆ ของมหาวิทยาลัย เราก็ค่อยๆ เดินไป ถ้าเพื่อนๆ ในเครือข่ายบอกว่า เลิก...ก็เลิก 

นอกจากเรียนรู้ร่วมกัน ยังมีจุดเด่นเรื่องอื่นไหม 
อยากให้การศึกษาเข้าถึงได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องเป็นคณะ เพราะบางทีเราก็อยากเรียนวิชาของแพทย์ หรือเศรษฐศาสตร์ แต่ในมหาวิทยาลัยบล็อกว่า ต้องเรียนวิชาชุดนี้ เราจึงชวนเพื่อนๆ ต่างสาขาที่ทำงานหลากหลายมาเรียนรู้ร่วมกัน อย่างปีที่แล้วมีอาจารย์หมอ 4-5 คนมาเรียนรู้ พวกเขาอยู่ในโลกวิทยาศาสตร์ พอมาเจอเรื่องศิลปะ ซึ่งเมื่อก่อนมีคนบอกเขาว่า เป็นหมอวาดรูปไม่ได้หรอก ในความเป็นจริง มนุษย์มีสิ่งนี้ทุกคน พวกเขาวาดภาพได้ เวลาพวกหมอลุกขึ้นเต้นรำ แววตาพวกเขาเปลี่ยนเลย 

ถ้าอย่างนั้น อาจได้เรียนวิชาอนาโตมี่ในมหาวิทยาลัยเถื่อน 
ใช่ แต่ต้องเป็นอนาโตมี่ที่คนทั่วไปเข้าใจได้ เดือนมกราคมปี 2559 ก็จะเปิดอีก แต่มีที่พักจำกัด อยากรู้ข้อมูลดูในเฟสบุ๊คได้ 

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเถื่อน (เพื่อนๆ ตั้งให้) ต้องทำอะไรบ้าง 
ผมมีบทบาทเป็นภารโรง ประสานงานคอยผลักดันกระตุ้นให้มาเจอกัน มีคนสนใจเยอะ แต่ผมไม่กล้าทำเป็นกลุ่มเปิด มีหลายคนไม่รู้ว่ามีแบบนี้ด้วย ผมอยากให้สิ่งที่เรียนรู้เอาไปใช้ได้จริงในชีวิต บางวิชาสอนให้คนเติบโตด้านใน บางอย่างใช้กับวิชาชีพได้ อย่างน้องที่สอนวิชาแอนิเมชั่น โดยใช้ดินน้ำมัน เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ 

ณ วันนี้อะไรที่ตอบโจทย์ให้ชีวิตคุณ 
ผมเรียกตัวเองว่านักการศึกษาที่ใช้รูปแบบหลากหลาย ผมสามารถมีรายได้อยู่ได้ ผมเคยทำเวิร์คชอปเรื่อง การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในศตวรรษที่ 21 มีครู นักธุรกิจ มาเรียนรู้กระบวนการ เราเป็นโค้ชคอยกระตุ้น ผมคิดว่า วิธีการเรียนรู้ที่ได้ประโยชน์มาก คือ เราต้องทำมันเอง จนค้นพบด้วยตัวเอง จริงๆ แล้วครูต้องทำหน้าที่โค้ช กระตุ้นยั่วยุให้เด็กอยากเรียนรู้ ครูในโลกยุคใหม่ไม่ต้องตอบคำถามด้วยตัวเอง แต่ครูต้องจัดกระบวนการให้เด็กเรียนรู้ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น ครูจะรู้สึกว่า แล้วฉันจะทำอะไรล่ะ แล้วเด็กจะเอาความรู้มาจากไหน ครูไม่เคยเจอโครงการแบบนี้ 

เราเคยทำงานร่วมกับทางบริษัทซัมซุง เพื่อทำห้องเรียนในอนาคต เขามีเป้าหมายสร้างห้องเรียนทั่วประเทศ 60 แห่ง ตอนนี้สร้างไป 45 แห่ง มีอุปกรณ์เทคโนโลยี และหนังสือพร้อม เราก็มีส่วนเข้าไปฝึกครูให้ใช้กระบวนการเรียนรู้ เพื่อไปสอนเด็กให้ลงชุมชนทำสารคดี ตอนแรกๆ ครูนึกว่าเด็กทำไม่ได้ แต่ในที่สุดครูก็ไว้ใจเด็ก นี่คือการศึกษาที่ทำให้คนค้นพบด้วยตัวเอง พอค้นพบด้วยตัวเอง ก็รู้ว่า ความรู้บางอย่างไม่ต้องรอให้ใครมาสอน หรือบางด้านที่ไม่มีทักษะก็ต้องฝึกฝนเพิ่ม 

กระบวนการแบบนี้ไม่ง่ายเลย ? 
ใช่ ไม่ง่าย ทำไมเด็กไทยสู้เด็กสิงคโปร์ไม่ได้ เพราะเด็กสิงคโปร์ฝึกมาให้เรียนรู้เอง กลุ่มมะขามป้อมจัดเวิร์คชอปให้เด็กทั่วโลก เด็กบินมาจากอังกฤษ ออสเตรเลีย ฮ่องกง ฯลฯ เราทำมากว่าสิบปี เด็กโรงเรียนอินเตอร์จากต่างชาติ 30-40 คน จะมีโจทย์บังคับเรื่องการเรียนรู้สังคม ซึ่งเด็กๆ เหล่านั้นมาทำสารคดีโดยไม่ต้องให้ครูสอน เขาเรียนรู้ด้วยตัวเอง ขณะที่เด็กไทยเรียนรู้แบบนี้ไม่เป็น ต้องรอให้ครูสอน เราประสานกับสองมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย เด็กมาเรียนกับเราสามอาทิตย์ แล้วได้หน่วยกิจวิชา Social study เคยมีเด็กมหาวิทยาลัยในเมืองไทยมาเรียนรู้กับเรา แล้วถามว่าทำไมในมหาวิทยาลัยไม่สอนแบบนี้ 

ให้เด็กๆ ลงมือทำอย่างไร 
วิธีการแบบนี้ต้องใช้แรงเยอะ ลงทุนและใช้เวลาเยอะ ใช้ครูห้าคนต่อเด็กยี่สิบคน การเรียนรู้เป็นการลงทุน ตอนนั้นพวกผมอบรมให้เด็กของโครงการซัมซุงหนึ่งเทอม เด็กพวกนี้เปลี่ยนเลย มีความสามารถเหมือนเด็กอเมริกา เด็กอังกฤษ แต่เด็กไทยไม่มีโอกาส อย่างเด็กทำสารคดีเรื่องประมง แม่น้ำ เขาก็ทำได้ เมื่อทำด้วยตัวเอง ทัศนะที่มีต่อชีวิตก็เปลี่ยน ที่สำคัญคือต้องให้โอกาสเรียนรู้ในเหตุการณ์ที่เหมาะสม 

อย่างวันนี้ (22 เมษายน) ทางเราทำเวิร์คชอป เรื่องกระบวนการละครเพื่อความเป็นมนุษย์ โดยสสส.เชิญคนทำงานเพื่อสังคม พยาบาล หมอ รวมสามสิบกว่าคนมาเรียนกับพวกเรา เพื่อให้พวกเขาเอาเครื่องมือพวกนี้ไปใช้ อย่างหมอก็เอาไปใช้กับนักเรียนแพทย์ พวกผมให้หมอเล่าประสบการณ์คนในครอบครัวที่ป่วยเป็นมะเร็ง จากเดิมที่รักษามะเร็ง ก็คิดแต่เรื่องโรค ไม่ได้สนใจคน เพราะเราพูดเรื่องมนุษย์ 

ไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็ต้องรู้ เพราะในสังคมเอเชียจะมีเรื่องวัฒนธรรมอำนาจ วัฒนธรรมชนชั้น ซึ่งทางอเมริกาก็มีปัญหาเรื่องชนชั้น แต่เรื่องสิทธิและเสรีภาพของพวกเขาชัดเจนกว่าเรา พวกเขารู้ว่า แม้จะรวยก็ไม่มีสิทธิข่มคนอื่น แต่ถ้าเป็นคนไทยเรื่องการข่มคนอื่น มันมีอยู่ 

ความไม่เท่าเทียมทำให้เกิดปัญหามากมาย คุณคิดว่ามีเหตุปัจจัยจากอะไร 
มันอยู่ในดีเอ็นเอของคนไทย คุณไม่ต้องดูอื่นไกล คนมีอาชีพทำความสะอาด ทำไมเขาไม่ภูมิใจในตัวเอง ขณะที่คนทำความสะอาดชาติอื่น เขาจะคิดว่า นี่เป็นการดูแลช่วยเหลือคนอื่น ซึ่งในสังคมไทยไม่ได้ปลูกฝังเรื่องความเท่าเทียม ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่เคารพคนอื่น จริงๆ แล้วคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน ไม่ว่าเขาจะเป็นพนักงานทำความสะอาด หรือ นักการเมืองที่ร่ำรวยต่างเป็นมนุษย์เหมือนกัน 

เรื่องเหล่านี้เกี่ยวกับการศึกษาไหม 
เกี่ยวโดยตรง เพราะไม่มีใครสอน และไม่อยู่ในระบบ อย่างคนทำความสะอาดก็จะคิดว่า ตัวเองต่ำต้อยกว่าคนรวย พวกคนรวยเหนือกว่า ซึ่งผมเห็นว่ามีปัญหามาก หรือการขับรถแซงกัน โดยไม่สนกฎกติกา ในสังคมไทยเห็นเยอะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมพยายามทำในกระบวนการเรียน คุณเคารพคนอื่นหรือเปล่า เพราะเรื่องเหล่านี้ลากมาสู่ปัญหาความขัดแย้งมากมายในสังคมไทย 



เคยถูกมองว่า "นอกกรอบ อุดมคติเกินไป ช่างฝัน แล้วจะเอาอะไรกิน...." 

นั่นเป็นการมองเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว แต่ ณ วันนี้ งานที่เขาทำในสื่อรากหญ้าเล็กๆ ที่เรียกว่า มะขามป้อม โดยใช้ละครเป็นเครื่องมือในการสื่อสารเรียนรู้ชุมชน ตนเอง และสังคม รวมถึงการจัดกระบวนการให้คนหลากหลายอาชีพ กลายเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ให้สังคมได้ 

พฤหัส พหลกุลบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) หนึ่งในฟันเฟืองของสื่อกลุ่มเล็กๆ ที่เรากล่าวถึง 
ในช่วงที่ค้นหาสิ่งที่ชอบ และใช่ในชีวิต เขาเริ่มจากการเป็นอาสาสมัครในมะขามป้อม ทำทุกอย่างที่คนหนุ่มอยากทำ เล่นละคร เขียนบท ยกฉาก ลงชุมชนทำงานกับเด็กๆ ขึ้นเหนือไปอยู่กับคนบนดอย ล่องใต้ ไปอยู่กับชาวเล นั่นทำให้เขาได้เรียนรู้และค้นพบคำตอบให้ตัวเองว่า "การเรียนรู้ที่แท้จริง คือ การลงมือทำ" 
ณ วันนี้ พฤหัส พาตัวเองมาไกลเกินฝัน เขาได้ทำงานที่ตัวเองรัก และเห็นว่า สิ่งเล็กๆ ที่ทำนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมได้ 25 ปีที่เขาได้รู้และเห็นว่า กระบวนการเรียนรู้แบบนี้ ทำให้คนได้เรียนรู้และนำไปใช้กับชีวิตได้อย่างไร 

ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) คนนี้ กลายเป็นทั้งโค้ช กระบวนกรให้คนหลากหลายอาชีพ แพทย์ พยาบาล ครู หมอ ต่างก็มาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และนั่นทำให้เขาเรียกตัวเองว่า นักการศึกษา 

และที่อาจหาญกว่านั้น คือ ร่วมกับเพื่อนๆ หลากหลายอาชีพ ตั้งมหาวิทยาลัยเถื่อน โดยเพื่อนยกให้เขาเป็นอธิการบดี เพื่อรวมพลผู้ก่อการดี โดยใช้สถานที่ของมะขามป้อมอาร์ตสเปซ กลางท้องนาที่อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เป็นแหล่งเรียนรู้ 

ที่น่าสนใจกว่านั้น ก็คือ เขาบอกว่า โลกในศตวรรษหน้า ต้องเรียนรู้แบบนี้แหละ ครูเป็นแค่โค้ช ส่วนวิธีการหาความรู้เป็นหน้าที่ของผู้เรียน 
แบบนี้จะเรียกว่า สิ่งเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้ไหม ... 

เรื่องใดที่ทำให้คุณทำงานมะขามป้อม ได้ยาวนานถึง 25 ปี 

เรื่องเรียนรู้ครับ เราถือว่า ทำงานทุกวันได้เรียนรู้ไปเรื่อยๆ ได้ทำสิ่งที่ตัวเองรัก ได้เรียนรู้จากละคร พอทำงานไป เราก็รู้สึกว่า เรื่องนั่นเรื่องนี้ยังรู้ไม่ จึงต้องเรียนรู้เพิ่ม 

แรกๆ ที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครมะขามป้อม ตอนนั้นคิดยังไง 
เป็นความสนใจที่ได้ทำละครเร่ ตอนนั้นถือว่าเป็นประสบการณ์ใหม่ของคนหนุ่มสาวที่ได้เริ่มต้นทำงาน เพื่อค้นหาศักยภาพบางด้าน จริงๆ แล้วมีอยู่แล้ว แต่เราไม่เคยเจอมัน ก็คือ เรื่องการแสดง และการจัดกระบวนการ เพื่อให้คนได้เรียนรู้เข้าใจตนเองและเติบโตขึ้น เราเรียนรู้ผ่านละคร เพื่อเป็นกระบวนการเรียนรู้เรื่องชุมชน จากนั้นก็เรียนรู้เรื่องอื่นๆ อีก สิ่งแวดล้อม เรื่องเอดส์ ฯลฯ 

ตอนนั้นฝันเหมือนคนหนุ่มสาวที่อยากทำงานเพื่อสังคมสักช่วงหนึ่งของชีวิต ? 
ไม่ได้คิดมาก เพราะเราชอบละคร แต่พอผมทำเรื่องพวกนี้ ยิ่งทำ ยิ่งท้าทาย และน่าค้นหา เราทำกันกลุ่มเล็กๆ แต่พอทำแล้ว คนสนใจ ก็เริ่มเชื่อมโยง ทำให้เรารู้ว่า นี่แหละคือการเรียนรู้ที่สำคัญกับชีวิต ซึ่งน่าจะเป็นการเรียนรู้ที่แท้ เพราะการเรียนรู้ในระบบการศึกษาไม่ได้ตอบโจทย์ให้ชีวิต ไม่ทำให้เราเติบโตด้านใน ซึ่งกระบวนการที่เราทำช่วยเรื่องนี้ได้ 

ที่ผ่านมา การศึกษาในระบบสามารถตอบโจทย์ให้ชีวิตคุณไหม 
ผมเรียนคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ แต่ผมก็รู้ภาคทฤษฎี แม้เราจะเข้าใจทฤษฎี แต่มันไม่แตกฉาน และไม่ได้เข้าใจจริงๆ แต่ผมผพบทั้งหมดในกระบวนการทำงานที่มะขามป้อม เราก็เลยเชื่อการเรียนรู้ที่ผ่านการลงมือทำ 

การศึกษาในความคิดของคุณ ต้องเป็นอย่างไร 
ต้องทำให้เรางอกงาม เติบโต เรียนรู้ไปเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุด ถ้าเราคิดว่า เราเป็นนักเรียนรู้ ก็จะทำให้เราแข็งแรงและแข็งแกร่งจากการสะสมความรู้และประสบการณ์ 

ในมุมของคุณกระบวนการเรียนรู้แบบไหน สามารถทำให้คนเปลี่ยนแปลงตัวเอง 
ยกตัวอย่างเด็กขี้อายคนหนึ่ง ไม่นับถือตัวเอง เห็นตัวเองเป็นแมลงวี่แมลงวัน มาเรียนรู้กับพวกเรา เรามีกระบวนการต่างๆ เพื่อให้เขามองเห็นตัวเอง เขาก็ค่อยๆ เห็นคุณค่าตัวเอง ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ และตอนหลังก็เป็นผู้นำในชุมชน อีกกรณีที่ผมยกตัวอย่างอาจไม่ชัดนัก คือ ในหมู่บ้านปางแดงบนดอยที่เราไปทำงานอย่างต่อเนื่อง เราไปปลูกฝังเรื่องสิทธิและสัญชาติ เราใช้ละครเป็นตัวเริ่ม สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ซึ่งเราบอกไม่ได้ว่ากรณีนี้เป็นความสำเร็จจากที่เราเข้าไปทำงาน ก แต่เป็นความสำเร็จในเรื่องการเรียนรู้ พวกเขาได้ต่อสู้เรื่องอื่นๆ ต่อไปด้วยตัวเอง 

และคงไม่ใช่แค่กระบวนการละครที่ใช้เป็นสื่อ พวกเขาต้องมีประสบการณ์ด้วยตัวเอง และสกัดประสบการณ์นั้นเป็นความรู้เฉพาะ ซึ่งผมสนใจอันนี้ เพราะมาจากประสบการณ์จริง มีคุณค่ามากกว่าทฤษฎีที่จำคนอื่นมา พอทำงานในหมู่บ้านก็เห็นว่า หมู่บ้านนี้มันสวย ก็ค่อยๆ สร้างผลิตภัณฑ์บางอย่าง ก็ค่อยๆ ต่อยอด ความรู้แบบนี้มีคุณค่ามากกว่า จริงๆ แล้วละครที่เราทำ ก็คือ การสร้างบทสนทนาจากคนที่แตกต่างหลากหลาย เพื่อสร้างการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพราะเราเชื่อเรื่องความเท่าเทียมกันของมนุษย์ และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นปรัชญาขององค์กรเราอยู่แล้ว 

ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น คุณคิดว่า ปมปัญหาอยู่ตรงไหน 
ทัศนะต่อชีวิตและโลกของคนไทย เพราะวิธีคิดของคนไทย พวกเขาต้องการอำนาจบางอย่าง เพื่อดูแลตัวเขา อาจเป็นอำนาจจากเจ้านาย หรือ เบื้องบน ผมมองว่า ถ้าเราปลดปล่อยสิ่งเหล่านี้ได้ พวกเขาก็จะเป็นอิสระ คนจำนวนมากมีลักษณะนี้ วัฒนธรรมอำนาจนิยมมีอยู่ทุกหน่วยในสังคม อำนาจนิยมในครอบครัว อำนาจนิยมที่มีต่อกัน เราพูดเรื่องปฎิรูปการศึกษา โดยให้เด็กมีส่วนร่วม แต่เด็กคิดเองไม่ได้ เพราะเด็กต้องคิดตามแบบเรียน มีเรื่องโอเน็ต เอเน็ต เข้ามาเกี่ยวอีก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษา ทั้งครู ผู้อำนวยการ กระทรวงศึกษาธิการ ไม่กล้าขยับ เพราะระบบ 

องค์กรเล็กๆ อย่างมะขามป้อม จึงอยากมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสังคม ? 
ผมไม่ได้แก้ไข และไม่คิดว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไร ข้อแรกผมทำใหม่ ชวนเพื่อนที่ไม่เชื่อกับระบบนี้สร้างทางเลือกใหม่ อยากให้เกิดการเรียนรู้แบบไหน หรือต้องการสร้างชุมชนแบบไหน คุณก็สร้างเลย อีกส่วนที่ผมทำคือ มหาวิทยาลัยเถื่อน และไปช่วยเพื่อนๆ ที่ทำงานในระบบ ทำงานกับครู 

นอกเหนือจากงานที่มะขามป้อม คุณยังทำมหาวิทยาลัยเถื่อน ? 
เดี๋ยวนี้พ่อแม่หันมาจัดการศึกษาให้ลูก นักกิจกรรมจัดการศึกษากันเอง พวกเขาคิดว่า ดีกว่าเรียนในระบบโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เพราะมันตายเลย ใครชอบแบบไหนก็อยู่กันไป แต่ถ้าใครไม่พอใจก็หาทางออกร่วมกัน ผมกับเพื่อนๆ นักกิจกรรม ก็มีองค์ความรู้ จึงมาจัดเวิร์คช้อป นัดเจอกันที่อ.เชียงดาว พลังเล็กๆ ยี่สิบกว่าคน มีกราฟฟิคดีไซเนอร์ นักกระบวนกร พี่อ้อย -โลกสีเขียว มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ ฯลฯ ปีแรกก็แลกกันเรียนคนละวิชาที่ทำอยู่ จัดระบบว่า ภาคเช้าเป็นเถื่อนทอล์ค ภาคบ่ายเป็นเถื่อนทำ เวิร์คชอปลงมือปฎิบัติ บางห้องใช้ท้องนาเป็นที่เรียนรู้ ค่ำๆ ก็ดื่มน้ำชาพูดคุย อยู่กันห้าวันสี่คืน เป็นอะไรที่สนุกมาก เพราะทุกคนอยากรู้ในสิ่งที่คนอื่นรู้และสอนเราให้ลงมือทำ ผลัดกันเรียน เปลี่ยนกันสอน ซึ่งทุกคนมีความสุข และพอปีที่สอง มีคนร่วมกลุ่ม 80 คน หลากหลายทั้งวัยรุ่นและวัยทำงาน ซึ่งไม่มีพรมแดนเรื่องวัย มีคนสนใจเยอะขึ้น 

เพราะอะไรถึงตอบโจทย์คนเรียนได้ 
ผมรู้สึกว่า วิชาเหล่านี้หาเรียนไม่ได้ในระบบ อย่างอาจารย์เดชรัตน์ สุขกำเนิด สอนเรื่องเศรษฐศาสตร์กลับทาง ถ้าเราไม่ได้เป็นเด็กเศรษฐศาสตร์ เราก็ไม่ได้เรียน แต่อาจารย์พูดเรื่องเศรษฐศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เล่าให้ฟังว่า เขาสอนในห้องเรียนอย่างไร หรือลูกสาวของอาจารย์ น้องกระติ๊บมาคุยเรื่อง การศึกษาเพื่อความเป็นไทในมุมมองวัยรุ่น เด็กมองยังไงเรื่องการศึกษา ถ้าผู้ใหญ่ฟังจริงๆ ก็มีสาระ อย่างพี่อ้อย- ดร.สรณรรัชฎฺ์ สอนเรื่องการสำรวจสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้น การได้มองแมลงเล็กๆ เหมือนการมองตัวเอง ได้นิ่งและช้าเป็นไปตามธรรมชาติ ผมว่าห้องเรียนแบบนี้มีชีวิต 

จะมีมหาวิทยาลัยแบบนี้ในอนาคตไหม 
ก็ฝันไปไกลเหมือนกัน อยากให้มีแบบนี้เยอะๆ เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ เพื่อเป็นทางเลือกให้คน อีกอย่างคนเก่งๆ ไม่จำเป็นต้องไปเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยอย่างเดียว คนเก่งๆ ที่อยู่ในวิชาชีพต่างๆ พวกเขาคือ ตัวจริง บางคนอยู่ในวิชาชีพนั้นยี่สิบสามสิบปี ซึ่งไม่เหมือนอาจารย์ที่จบวิชาชีพนั้น ทั้งๆ ที่่บางคนเป็นด็อกเตอร์ ไม่ได้ลงมือทำ ก็รู้แค่ทฤษฎี 

จะเรียกว่าการศึกษาในโลกยุคใหม่ได้ไหม 
โลกยุคใหม่เป็นแบบนี้ คือ เข้าถึงความรู้ได้ง่ายมาก แต่สิ่งที่คนเข้าถึงไม่ได้คือ ทัศนะต่อชีวิตต่อโลก เพราะครูได้เแต่พ่นความรู้ แต่ไม่ได้สอนทัศนะต่อโลก ครูน่าจะเป็นโค้ชชีวิตให้ลูกศิษย์ 

การเรียนในระบบเก่า ล้าสมัยไปแล้ว ? 
ใช้ไม่ค่อยได้ ตั้งแต่อนุบาลถึงมหาวิทยาลัย เพราะเด็กๆ ไม่ได้ลงมือทำ ทฤษฎีที่เรียนเป็นการวัดประเมินเพื่อสอบ ในชีวิตจริง ถ้าคนเราทำงานไม่ได้ ก็โดนไล่ออกหรือไม่มีกิน ซึ่งต้องใช้ชีวิตแลก ณ วันนี้โลกเปลี่ยนไปมาก ต้องแสวงหา สิ่งที่เราเรียนตอนนี้เป็นวิธีคิดเมื่อ 200 ปีที่แล้ว ก็คือ จับคนมานั่งเรียนในห้อง แล้วบั๊มออกมาเหมือนกัน ซึ่งไม่ใช่ยุคนี้แล้ว เราก็เลยเชื่อว่า เรื่องเล็กๆ แล้วต่อเนื่องเป็นเครือข่ายมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง กลายเป็นเทรนด์ของโลก เรื่องใดที่ใหญ่โตเข้าถึงยากก็จะล่มสลายไป แล้วอะไรที่เล็กๆ เชื่อมโยงกับเซลล์เล็กๆ ผมคิดว่าเป็นแนวโน้มองค์กรในอนาคต ซึ่งเทรนด์ทางเลือกในอเมริกา ยุโรปค่อยๆ กระเตื่อง เหมือนเทรนด์คนดูแลสุขภาพ ที่เห็นว่า กินอาหารสารเคมีเยอะๆ ไม่ไหวแล้ว ต้องหาทางเลือกใหม่ 

ตอนนี้มหาวิทยาลัยเถื่อนอยู่ในจุดไหน 
เป็นแค่มูฟเม้นท์ องค์ความรู้ไม่ถึงกับเป็นมหาวิทยาลัย ไม่ขนาดนั้น เราใช้ชื่อนี้ เพราะอยากเห็นรูปแบบใหม่ๆ ของมหาวิทยาลัย เราก็ค่อยๆ เดินไป ถ้าเพื่อนๆ ในเครือข่ายบอกว่า เลิก...ก็เลิก 

นอกจากเรียนรู้ร่วมกัน ยังมีจุดเด่นเรื่องอื่นไหม 
อยากให้การศึกษาเข้าถึงได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องเป็นคณะ เพราะบางทีเราก็อยากเรียนวิชาของแพทย์ หรือเศรษฐศาสตร์ แต่ในมหาวิทยาลัยบล็อกว่า ต้องเรียนวิชาชุดนี้ เราจึงชวนเพื่อนๆ ต่างสาขาที่ทำงานหลากหลายมาเรียนรู้ร่วมกัน อย่างปีที่แล้วมีอาจารย์หมอ 4-5 คนมาเรียนรู้ พวกเขาอยู่ในโลกวิทยาศาสตร์ พอมาเจอเรื่องศิลปะ ซึ่งเมื่อก่อนมีคนบอกเขาว่า เป็นหมอวาดรูปไม่ได้หรอก ในความเป็นจริง มนุษย์มีสิ่งนี้ทุกคน พวกเขาวาดภาพได้ เวลาพวกหมอลุกขึ้นเต้นรำ แววตาพวกเขาเปลี่ยนเลย 

ถ้าอย่างนั้น อาจได้เรียนวิชาอนาโตมี่ในมหาวิทยาลัยเถื่อน 
ใช่ แต่ต้องเป็นอนาโตมี่ที่คนทั่วไปเข้าใจได้ เดือนมกราคมปี 2559 ก็จะเปิดอีก แต่มีที่พักจำกัด อยากรู้ข้อมูลดูในเฟสบุ๊คได้ 

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเถื่อน (เพื่อนๆ ตั้งให้) ต้องทำอะไรบ้าง 
ผมมีบทบาทเป็นภารโรง ประสานงานคอยผลักดันกระตุ้นให้มาเจอกัน มีคนสนใจเยอะ แต่ผมไม่กล้าทำเป็นกลุ่มเปิด มีหลายคนไม่รู้ว่ามีแบบนี้ด้วย ผมอยากให้สิ่งที่เรียนรู้เอาไปใช้ได้จริงในชีวิต บางวิชาสอนให้คนเติบโตด้านใน บางอย่างใช้กับวิชาชีพได้ อย่างน้องที่สอนวิชาแอนิเมชั่น โดยใช้ดินน้ำมัน เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ 

ณ วันนี้อะไรที่ตอบโจทย์ให้ชีวิตคุณ 
ผมเรียกตัวเองว่านักการศึกษาที่ใช้รูปแบบหลากหลาย ผมสามารถมีรายได้อยู่ได้ ผมเคยทำเวิร์คชอปเรื่อง การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในศตวรรษที่ 21 มีครู นักธุรกิจ มาเรียนรู้กระบวนการ เราเป็นโค้ชคอยกระตุ้น ผมคิดว่า วิธีการเรียนรู้ที่ได้ประโยชน์มาก คือ เราต้องทำมันเอง จนค้นพบด้วยตัวเอง จริงๆ แล้วครูต้องทำหน้าที่โค้ช กระตุ้นยั่วยุให้เด็กอยาก