แถลงสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้กรณีการเสียชีวิต'ใช่ บุญทองเล็ก

แถลงสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้กรณีการเสียชีวิต'ใช่ บุญทองเล็ก

แถลงการณ์สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ กรณี การเสียชีวิตของ นายใช่ บุญทองเล็ก แกนนำผู้ก่อตั้งชุมชนคลองไทรพัฒนา อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี

แถลงการณ์สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ฉบับที่ ๑/ ๒๕๕๘
กรณี การเสียชีวิตของ นายใช่ บุญทองเล็ก

นายใช่ บุญทองเล็ก อายุ ๖๑ ปี เป็นสมาชิกของสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) และเป็นแกนนำผู้ก่อตั้งชุมชนคลองไทรพัฒนา อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอยู่อาศัยที่ชุมชนนี้มานับตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๑ โดยปกติ นายใช่ฯ จะกลับมาเยี่ยมบ้านเดิมซึ่งอยู่ห่างจากชุมชนคลองไทรฯ ประมาณ ๖-๗ กิโลเมตร เป็นประจำทุกๆ สัปดาห์

ครั้งสุดท้าย...... เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
นายใช่ บุญทองเล็ก ได้เดินทางออกจากชุมชนคลองไทรฯ เพื่อมาพักผ่อนอยู่ที่บ้านเดิมกับลูกและหลาน ซึ่งที่บ้านหลังนี้เปิดเป็นร้านขายของชำ ตั้งอยู่ริมถนนสาย บ้านควนสระ- ถ้ำหอม ต่อมา . เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ประมาณ ๑๘.๓๐ ได้มีคนร้าย ๒ คน อาศัยรถจักยานยนต์เป็นพาหนะมาจอดที่หน้าบ้านและเข้ามากระหน่ำยิงนายใช่ บุญทองเล็ก เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
จากกรณีดังกล่าว สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวและญาติมิตรของผู้เสียชีวิตเป็นอย่างยิ่ง และจะร่วมมืออย่างเต็มกำลังกับหน่วยงานต่างๆ ในการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับการสูญเสียในครั้งนี้

ในขั้นต้น สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) มีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลดังต่อไปนี้
๑. ให้นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เร่งปฏิบัติการติดตามสืบหาตัวฆาตกร และนำมาพิจารณาโทษตามกระบวนการยุติธรรม โดยไม่ชักช้า

๒. ให้รัฐบาลรับผิดชอบจ่ายเงินเป็นค่าชดเชยเยียวยาแก่ครอบครัวของ นายใช่ บุญทองเล็ก ซึ่งเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดทางอาญาของบุคคลอื่น ในอัตราที่เป็นธรรม

๓. ให้กรมบังคับคดีเร่งดำเนินการบังคับคดีต่อ บริษัทจิวกังจุ้ย จำกัด ซึ่งได้ตกเป็นฝ่ายแพ้คดีในศาลฎีกา ตั้งแต่ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เนื่องจากการยื่นฟ้องของโจทก์ คือ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)

๔. ให้เร่งดำเนินการปฏิรูปที่ดิน ให้กับเกษตรกรชุมชนคลองไทรพัฒนา โดยนำที่ดิน แปลงที่บริษัทจิวกังจุ้ย จำกัด ได้บุกรุกครอบครองทำประโยชน์มาอย่างยาวนาน มาสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินในรูปแบบสิทธิร่วมของชุมชนหรือโฉนดชุมชน ให้กับสถาบันเกษตรกร ซึ่งในกรณีนี้ สหกรณ์การเกษตรสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ได้ยื่นหนังสือขอรับการจัดสรรที่ดินแปลงนี้จากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มาตั้งแต่ วันที่ ๒๒ เดือนกันยายน ๒๕๕๗ แต่ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร

๕. ให้รัฐบาลกำหนดนโยบายและวางมาตรการอย่างเข้มงวดในการปราบปรามกลุ่มและเครือข่ายผู้มีอิทธิพลเหนือกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อสร้างหลักประกันให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

แถลง ณ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)

HUMAN RIGHTS DEFENDER ADVOCATING FOR LAND RIGHTS KILLED IN SOUTHERN

THAILAND

BANGKOK (13 FEBRUARY 2015) - The United Nations Human Rights Office for
South East Asia (OHCHR) urges the Government to promptly investigate the
killing of a land rights activist in the south of Thailand and increase
security measures for the members of his community.

On 11 February, Mr. Chai Bunthonglek, a land rights activist and a member
of Khlong Sai Pattana community in Surat Thani province was shot and killed
by two unidentified assailants at his residence. Reportedly, the two men
came to his residence, riding on a Honda motorcycle without a license
plate. The men asked for Mr. Chai. One of them allegedly shot him six times
at his chest and head. Mr. Chai passed away at the scene.

Mr. Chai is the fourth member of the Khlong Sai Pattana community murdered
since 2010. He had been involved in seeking community land title over land
that a company operating a large scale palm oil plantation continues to use
despite the expiry of the lease granting them the land. In November, the
Supreme Court ruled against the company in a case brought by the
Agricultural Land Reform Office. Allegedly in relation to these disputes,
three other land rights activists and members of the community were killed,
Mr. Somporn Pattanaphum in 2010 and Ms. Montha Chukaew and Ms. Pranee
Boonrat in 2012. Despite the police investigation, no one has been brought
to justice for these murders.

Alarmingly, Mr. Chai is also the fourth human rights defender who works on
land rights in the south of Thailand that has been killed since May 2014.
Mr. Krissada Jirapun, a lawyer who had been supporting landless farmers,
was shot dead in Phattalung province in May 2014. Mr. Pitan Thongpanang,
who had been leading protests against a mining operation in Nakhon Si
Thammarat province, was shot and killed on 30 November. Mr. Somsuk Kokrang
was fatally shot at a palm oil plantation on 3 December, while leading a
campaign to investigate the legality of the plantation in Krabi. These
murders exemplify the risks that human rights defenders advocating for land
rights are facing.

As a state party to the International Covenant on Civil and Political
Rights, Thailand is under an obligation to uphold the right to life and to
provide adequate protection to those at risk and to investigate any
violation. As a member of the United Nations, the Royal Thai Government
should take all necessary measures to protect everyone against violence,
threats, retaliation and other abuses because of his or her legitimate work
as a human rights defender, in line with the United Nations Declaration on
Human Rights Defenders. OHCHR calls for a prompt and impartial
investigations of this latest death, as well as the previous cases in which
human rights defenders have been killed in Thailand. OHCHR further
reiterates its call to relevant authorities to implement protection
measures for human rights defenders working on land rights in the country,
who appear to be particularly vulnerable to attacks and killing.

ENDS

The Regional Office for South-East Asia in Bangkok represents the High
Commissioner for Human Rights within South East Asia. The High Commissioner
for Human Rights is the principal human rights official of the United
Nations and heads the Office of the United Nations High Commissioner for
Human Rights, which spearheads the United Nations' human rights efforts ..

แถลงการณ์สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่เรียกร้องสิทธิที่ดินถูกสังหารในภาคใต้ของประเทศไทย กรุงเทพมหานคร (๑๓
กุมภาพันธุ์ ๒๕๕๘) สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยตรวจสอบอย่างเร่งด่วนกรณีการสังหารนักต่อสู้เพื่อสิทธิที่ดินในภาคใต้ของ
ประเทศและเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับสมาชิกชุมชน

ในวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ นายใช่ บุญทองเล็ก นักต่อสู้เพื่อสิทธิที่ดินและสมาชิกชุมชนคลองไทรพัฒนาใน
จังหวัดสุราษฎร์ธานีถูกยิงเสียชีวิตที่บ้านพักของเขา ตามข้อมูลที่ได้รับชายแปลกหน้าสองคนเดินทางมาที่
บ้านพักของนายใช่ด้วยรถมอเตอร์ไซต์ฮอนด้าไม่ติดป้ายทะเบียน โดยชายสองคนถามหานายใช่และหนึ่งใน
นั้นยิงเขาด้วยอาวุธปืนหกนัดเข้าที่หน้าอกและศีรษะ โดยนายใช่เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ

นายใช่เป็นสมาชิกชุมชนคลองไทรพัฒนาคนที่สี่ที่ถูกสังหารตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๕๓ โดยเขาได้มีบทบาทในการ
เรียกร้องโฉนดที่ดินสำหรับชุมชนในที่ดินที่บริษัทหนึ่งได้ดำเนินการปลูกสวนปาล์มน้ำมันอย่างต่อเนื่องแม้ว่า
สัมปทานที่บริษัทนี้ได้รับได้หมดอายุไปแล้วก็ตาม ในเดือนพฤศจิกายนศาลฎีกามีคำตัดสินให้บริษัทแห่งนี้ออก
จากพื้นที่หลังจากที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดำเนินการฟ้องร้องบริษัท ในอดีตนักต่อสู้เพื่อสิทธิ
มนุษยชนและสมาชิกชุมชนอีกสามคนถูกสังหาร โดยเชื่อว่ามีความเกี่ยวโยงกับความขัดแย้งกับบริษัท ใน
ปีพ.ศ. ๒๕๕๓ นายสมพร พัฒนภูมิถูกยิงเสียชีวิต อีกสองปีต่อมานางมนฑา ชูแก้วและนางปรานี บุญรักษ์ถูก
ยิงเสียชีวิตในชุมชน แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการสืบสวนสอบสวนคดี แต่กลับยังไม่มีบุคคลใดถูกนำตัว
เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจากกรณีการสังหารดังกล่าว

สิ่งที่น่าเป็นห่วงนอกจากนี้ คือ นายใช่เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ทำงานด้านสิทธิที่ดินคนที่สี่ที่ถูกสังหาร
ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๗ นายกฤษฏา จิระพันธ์ ทนายความที่ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรไร้ที่ดินถูกยิง
เสียชีวิตในจังหวัดพัทลุงในเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว นายพิธาน ทองพนัง แกนนำที่มีบทบาทรณรงค์ต่อต้าน
เหมืองในชุมชนถูกยิงเสียชีวิตในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช นายสมสุข เกาะกลางถูก
ยิงเสียชีวิตที่สวนปาล์มน้ำมันในวันที่ ๓ ธันวาคมในขณะที่เป็นแกนนำรณรงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐตรวจสอบ
ว่าสวนปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่ดำเนินการอย่างถูกกฎหมายหรือไม่ เหตุการณ์เหล่านี้เป็นตัวอธิบายถึง
ความเสี่ยงที่นักต่อสู้เพื่อสิทธิที่ดินพบเจอในขณะทำงาน

ในฐานะที่เป็นภาคีสมาชิกต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางพลเมืองและการเมือง รัฐบาลไทยมี
พันธกรณีที่จะคุ้มครองสิทธิการมีชีวิตและให้ความคุ้มครองที่เพียงพอกับบุคคลที่เผชิญความเสี่ยงและดำเนิน
การสอบสวนการละเมิดสิทธิเหล่านี้ รัฐบาลไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติควรจะ
ดำเนินทุกวิธีทางตามปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนเพื่อที่จะคุ้มครองบุคคลทุกคนจากความรุนแรง การถูกคุกคาม การถูกตอบโต้ และการถูกละเมิดอื่นๆ ในบทบาทที่เขาเหล่านี้เป็นนักต่อสู้
เพื่อสิทธิมนุษยชน

สำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้มีการสอบสวนการสังหารนายใช่และนัก
ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนคนอื่นๆ ในประเทศไทยโดนทันทีและอย่างเป็นธรรม สำนักข้าหลวงใหญ่ฯ ขอย้ำข้อ
เรียกร้องถึงรัฐบาลไทยอีกครั้งว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรนำมาตรการการคุ้มครองความปลอดภัยมา
บังคับใช้เพื่อคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิที่ดิน เนื่องจากพวกเขามีความเสี่ยงอย่างมากที่จะถูกทำร้ายและถูก
สังหาร